สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุดชล วุ้นประเสริฐ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดชล วุ้นประเสริฐ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: "จากปัญหาของการปลูกยางพาราในเขตจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ พบว่า มีการตายของ ต้นยางจำนวนมาก โดยเฉพาะการตายของยางที่มีอายุ 3-5 ปี จึงได้ทำการสำรวจและวินิจฉัยหาสาเหตุ การตายดังกล่าว ผลการสำรวจพบว่ามีสาเหตุหลัก 2 ประการคือ สาเหตุแรกเกิดจากปัญหาสภาพหน้า ดินตื้น โดยพบในพื้นที่ปลูกยางพาราอำเกอเทพสถิต และอำเภอภูเขียวซึ่งมีการตายของยางพาราเป็น พื้นที่ติดต่อกัน จากการสำรวจชั้นดินพบว่าบริเวณที่มีต้นยางตายในเขตอำเภอเทพสถิตมีชั้นหินแข็งอยู่ ในระดับลึกประมาณ 70-80 ซม. ส่วนในพื้นที่ปลูกยางที่มีการตายของยางของ อ.ภูเขียวพบว่า มีชั้น ดินดานอยู่ในระดับลึก 60 ซม. ซึ่งทำให้ยางตายและส่วนที่เหลือมีการเจริญเติบโตผิดปรกติ สาเหตุที่ 2 เกิดจากสภาพความเค็มของดินซึ่งพบปัญหานี้ในเขตอำเภอขามทะเลสอ และอำเภอจัตุรัส พบมีการ ตายของยางกระจายทั่วพื้นที่ จากการสำรวจดินพบว่าชั้นดินบนมีความเค็มเล็กน้อยแต่มีความเค็ม สูงขึ้นที่ชั้นดินล่างโดยยางพาราที่ปลูกในปีที่ 1-3 ยังไม่มีการตายอาจเป็นเพราะรากขังอยู่ตื้นและระดับ ความเค็มที่ผิวดินไม่สูงมากแต่มีการตาขมากในปีที่ 3-5 เป็นเพราะรากลงไปลึกจนถึงระดับที่มีความ เค็มสูง สำหรับการทดลองติดตามผลของการให้น้ำและการปลูกพืชแซมในช่วง 2 ปีแรกของการ ปลูกยางพารา ต่อการเจริญเติบโตของยางพาราจนถึงอายุ s ปี โดยมีการวางแผนการทคลองแบบ split plot design ปัจจัยหลักคือ การให้น้ำประกอบด้วย ) การให้น้ำหยด 2) การให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ และ 3) ไม่ให้น้ำ และปัจจัยรองคือ ชนิดของพืชแซม ประกอบด้วย 1) ไม่ปลูกพืชแซม 2) มัน สำปะหลัง 3) กล้วย และ +) พืชคลุมดิน (ซีรูเรียม) การปลูกพืชแซมทำเฉพาะใน 2 ปีแรกเท่านั้น ส่วน ในปีที่ 3 ไม่มีการปลูกพืชแซมแต่ยังคงมีการทคลองการให้น้ำต่อเนื่อง ผลการทดลองพบว่า ยางพารา อายุ 3-5 ปี การให้น้ำทำให้ต้นยางมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าการไม่ให้น้ำแต่ระหว่างระบบการให้ น้ำหยดและแบบมินิสปริงเกลอร์ไม่ทำให้การเจริญเติบ โตของยางพาราแตกต่างกัน ในขณะที่อิทธิพล ของการปลูกพืชเซมยางในปีที่ 1 และ 2 ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางในปัจจุบัน (ปีที่ 3-5) มากนัก สำหรับการทคลองการศึกษาการปลูกมูคูนาเป็นพืชคลุมดินในสวนยางพาราได้ทำการทดลอง 2 การทดลอง ในการทดลองแรก เป็นการทดสอบการกระตุ้นเมล็ดมูคูนาให้มีความงอกสูงขึ้นโดยการ นำเมล็ดไปกระตุ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ )แช่น้ำเปล่า 2)แช่น้ำร้อน 3)แช่กรดซัลฟูริก และ 4) ตัดปลาย เมล็ด หลังจากนั้นนำเมล็ดไปทดสอบการงอก ผลการทดลองพบว่าการนำเมล็ดมูดูนาแช่ในกรดซัลฟู ริกมีความงอกสูงสุด นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เมล็ดงอกใกล้เคียงกันและมีความสม่ำเสมอมากกว่า วิธีการอื่น ในการทดลองที่ 2 เป็นการทดสอบการเจริญเติบโตของมูดูนาในสวนยางโดยทำการปลูก ทดสอบ มูคูนา เทียบกับ เพอราเรีย และซีรูเลียม พบว่าพืชทั้ง 3 ชนิด มีการเจริญเติบโตก่อนข้างช้ใน ช่วงแรกแต่หลังจาก 1 เดือนแล้วมูคูนา และ เพอราเรียเจริญเติบโตได้เร็วกว่าซีรูเลียมและหลังจาก 3 เดือนมูคูนามีการเจริญเติบโตและสามารถคลุมวัชพืชได้มากกว่า เพอราเรียและซีรูเลียม โดยสามารถ คลุมพื้นที่ ได้เกินกว่า 80 % ภายในระขะเวลา 4 เดือนอีกทั้งสามารถสร้างมวลชีวภาพได้มากกว่า เพอราเรียและซีรูเลียมที่อายุ 6 เดือน"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การยางแห่งประเทศไทย
2552
โครงการพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 3) โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เศรษฐกิจการตลาดยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก