สืบค้นงานวิจัย
การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี
ดนัย นาคประเสริฐ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Multiplication Techniques of Pineapple cv.Phetchaburi Plantlet Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดนัย นาคประเสริฐ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Danai Nakprasert
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การลดระยะเวลาในการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรด เพิ่มจำนวนหน่อพันธุ์ที่ผลิตได้ต่อพื้นที่และลดต้นทุนการผลิตต่อหน่อ ดำเนินการทดลองณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีระหว่าง ปี พ.ศ.2554-2556 ประกอบด้วย 2 การทดลองคือ การผลิตหน่อภายใต้โรงเรือนพรางแสง 50% มี 3 กรรมวิธี ได้แก่วิธีการปักชำจากจุก ปักชำโดยการผ่าหน่อ และการปักชำจากต้น วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ การผลิตในแปลงปลูกกลางแจ้ง 2 กรรมวิธี ได้แก่การแคะยอด และการตัดช่อดอกอ่อน ผลการทดลองพบว่าหลังจากการปักชำ 3 เดือน การปักชำใบจากจุกงอกเป็นต้นใหม่ได้มากกว่าวิธีการปักชำโดยการผ่าหน่อ และวิธีการปักชำต้นที่ตัดเป็นแว่นๆ แต่ให้ความสูงของต้นใหม่น้อยกว่าอีก 2วิธี ระยะเวลาจากการปักชำจนได้หน่อที่มีขนาดปลูกลงแปลงได้ทั้ง 3 วิธีใช้เวลาระหว่าง 8-11เดือน ต้นทุนการผลิตของการปักชำหน่อและปักชำต้นใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 313,141 และ247,621 บาท/ไร่ ส่วนต้นทุนต่อหน่อที่ผลิตได้รอบแรกมีราคา 4.52 และ 1.53 บาท/หน่อ รอบต่อมาใช้เงินลงทุนลดลงเหลือ 187,012 และ121,492 บาท/ไร่ ต้นทุนต่อหน่อที่ผลิตได้มีราคาลดลงเหลือ 2.70 และ 0.75 บาท ตามลำดับส่วนวิธีการทำลายตายอดจากต้นที่ปลูกลงแปลงได้ 5 เดือน พบว่าวิธีการแคะยอดตรงจุดเจริญให้จำนวนหน่อใหม่มากกว่า หน่อมีความสูง และน้ำหนักดีกว่าวิธีการตัดช่อดอกอ่อนทิ้ง ระยะเวลาจากปลูกจนเก็บเกี่ยวหน่อ 3 ครั้ง ของทั้ง 2 กรรมวิธีใช้เวลา 14 เดือน ต้นทุนการผลิตเป็นเงิน136,000 และ 96,000 บาท/ไร่ ต้นทุน/หน่อ0.85 และ 1.09 บาท ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Multiplication techniques aiming to reduce time for plantlet production and increase the number of plantlets from mother material of pineapple cv. Phetchaburi has been developed. The experiment has been conducted at Phetchaburi Agricultural Research and Development Center during 2011-2013 in 50% shading nursery and infield plots. In nursery experiment, 3 methods of cutting; crown leaf budding, sucker splitting and stem splitting were employed with 5 replications in RCB designed. For field experiment, there were 2 treatments i.e. apex destruction and young flower removal. The result of nursery experiment showed that after 3 months there were more plantlets produced from crown leave than from sucker cutting or stem cutting. However, the height of the plantlets was lower in crown leave than the other two methods. Duration in the nursery before transferring to the field was 8-11 months for all three methods. First time production cost for sucker and stem cutting was 313,141 and 247,621 baht/rai whereas production cost per plantlet was 4.52 and 1.53 baht respectively. The cost in following production reduced to 187,012 and 121,492 baht/rai and cost per plantlet was 2.70 and 0.75 baht respectively. In the field, two destruction methods were applied to pineapple plants at 5 months after planting. The result showed that destruction at meristermatic apex produced more plantlets while the height and weight werealso greater than the removal of the flowers. Planting time to harvesting ofplantlets of both methods was 14 months. Production cost and cost per plantlet ofmethod 1 and 2 were 136,000 and 96,000 bath/rai and 0.85 and 1.09 baht respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี
กรมวิชาการเกษตร
2557
เอกสารแนบ 1
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อการขยายพันธุ์ การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด การคัดแยกสายพันธุ์ยีสต์ที่มีความสามารถในการผลิตเอทานอลจากเปลือกสับปะรด การพัฒนาพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป ผลของปุ๋ยไนโตรเจนรูปแบบต่างๆ ต่อผลผลิตและคุณภาพของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย (Ananas comosus (L.) Merr.) โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก