สืบค้นงานวิจัย
สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน
สมเจตน์ สอนครุฑ, ไพโรจน์ หน่ายมี, เอกพล รัตนพันธ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน
ชื่อเรื่อง (EN): Fishery Oceanography in Tuna Fishing Ground in the Andaman Sea
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจสมุทรศาสตร์บริเวณทะเลอันดามัน บริเวณละติจูดที่ 06?-30? เหนือ ถึง 09?-30? เหนือ ลองจิจูด 095?-30? ตะวันออก ถึง 097?-45? ตะวันออก จำนวน 3 เที่ยวเรือ โดยเที่ยวเรือที่ 1 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 เที่ยวเรือที่ 2 ระหว่าง สิงหาคม-ตุลาคม 2552 และเที่ยวเรือที่ 3 ระหว่างเมษายน-มิถุนายน 2553 โดยเรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ และเรือสำรวจประมงซีฟเดค 2 พบว่าเดือนกันยายน -ธันวาคม ชั้นเทอร์โมไคลน์เริ่มต้นที่ความลึก 20 เมตร ลงไป และมีความหนาเฉลี่ย 93-137 เมตร ส่วนเดือนพฤษภาคม เทอร์โมไคลน์เริ่มต้นที่ระดับความลึกตั้งแต่ 9 เมตร ลงไป มีความกว้างตั้งแต่ 139-177 เมตร และจากการสำรวจทั้ง 3 เที่ยวเรือนี้ พบว่าช่วงเดือนพฤษภาคมมีจุดเริ่มต้นของชั้นเทอร์โมไคลน์ตื้นที่สุด และช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน มีความแตกต่างของอุณหภูมิในชั้นเทอร์ไคลน์มากที่สุด ส่วนในช่วงเดือนเมษายน- มิถุนายน มีความแตกของปริมาณออกซิเจนในชั้นเทอร์โมไคลน์มากกว่าช่วงเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม การสำรวจแพลงก์ตอนพืชพบว่า กลุ่ม Bacillariophyceae มีความหลากหลายมากที่สุด โดยมีสกุล Chaetoceros เป็นสกุลที่มีความหลากหลายมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่ม Dinophyceae สกุล Ceratium และยังพบความหนาแน่นของไซยาโนแบคทีเรีย สกุล Oscillatoria และ ไดอะตอมสกุล Chaetoceros มีความหนาแน่นบริเวณแพล่อปลาประจำที่ ในภาพรวมพบว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีปริมาณความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสูงกว่าช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งอยู่ในช่วงของฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นลมแรง สภาพท้องทะเลปั่นป่วน ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน
บทคัดย่อ (EN): Oceanographic survey in the Andaman Sea. The latitudes 06?-30?north to 09?-30? Longitude 095?-30? east to 097?-45? east of the three legs. At the first leg during November to December 2008, the 2nd leg during August to October 2009 and the 3rd leg during April to June 2010 by FRV.Chulabhorn and M.V.SEAFDEC 2 found that from September to December the thermocline layer beginning at a depth of 20 meters and a thickness average from 93 to 137 meters. In May. Thermocline at depths beginning from 9 meters and a width ranging from 139 to 177 meters. All three of the survey . Found that during the month of May was the beginning of the thermocline shallow end. And during the April to June was the most difference of temperature in the thermocline zone. During the months of April to June was the amount of dissolved oxygen in the thermocline zone more the months from November to December, the survey found that phytoplankton Bacillariophyceae was the most diverse class and genus Chaetoceros had the most diversity. Minor class Dinophyceae and Ceratium genus also. It was also found the higher density of cyanobacteria (Oscillatoria) and diatoms (Chaetoceros) at anchored fish aggregating devices areas. In this survey, it was found that during the months of November-December. Volume density of plankton over the August to October. Which is in the southwest monsoon in the Andaman Sea to the strong wave. Turbulent ocean conditions. Not suitable for the growth of plankton.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน
กรมประมง
31 ธันวาคม 2553
กรมประมง
สภาวะแวดล้อมบางประการในแหล่งประมงบริเวณไหล่ทวีปทะเลอันดามัน ทัศนคติของชาวประมงต่อมาตรการควบคุมการประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรปลาผิวน้ำจากการทำประมงด้วยเครื่องมือเบ็ดราวปลาผิวน้ำ บริเวณแพล่อปลาประจำที่ในทะเลอันดามัน ปี 2551-2553 สภาวะแวดล้อมในแหล่งประมงเขตชายฝั่งทะเลอันดามัน กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างของประเทศไทย การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง การประมงเบ็ดราวปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดียโดยเรือประมงต่างชาติ ที่ขึ้นท่าจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก