สืบค้นงานวิจัย
กรรมวิธีทางอณูชีววิทยาเพื่อการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยง
สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: กรรมวิธีทางอณูชีววิทยาเพื่อการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยง
ชื่อเรื่อง (EN): Implementation of molecular biology method for induction of ovarian maturation and spawning in domesticated Penaeus monodon broodstock
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ของแม่พันธุ์กุ้งโดยวิธีการตัดตา เป็นการกำจัดแหล่งสร้างและแหล่งสะสมของฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนารังไข่ (gonad-inhibiting hormone; GIH) เทคนิคดังกล่าวเป็นวิธีสากลในการกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง ซึ่งเร่งจำนวนรอบการวางไข่ของแม่กุ้งมากจนกระทั่งปริมาณและคุณภาพของไข่ในรอบหลังลดลง เนื่องจากแม่กุ้งอ่อนแอ และอาจตายในที่สุด และวิธีดังกล่าวเป็นการทารุณสัตว์ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่นำไปสู่มาตรการการกีดกันทางการค้าในอนาคต ดังนั้นถ้าสามารถยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน GIH และยับยั้งการสร้างฮอร์โมน GIH ใหม่ แล้วส่งผลให้แม่กุ้งสามารถพัฒนารังไข่และวางไข่ได้โดยไม่ตัดตาได้ คาดว่าจะเป็นวิธีที่สามารถนำแม่พันธุ์กุ้งกลับมาผลิตลูกกุ้งได้อีกเมื่อแม่กุ้งมีความสมบูรณ์ เป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรกุ้งและต้นทุนการผลิตลูกกุ้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมาก ประกอบกับในปัจจุบันนี้มีการผลิตลูกกุ้งกุลาดำจากแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยงที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ภายในประเทศ คือ สายพันธุ์ สวทช และบูรพา ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โครงการศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักในการทดสอบสารโมโนโคนอลแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อฮอร์โมน GIH ในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน GIH และอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อฮอร์โมน GIH ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน GIH ใหม่ แล้วกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ของแม่กุ้งกุลาดำเลี้ยงทั้งสองสายพันธุ์โดยไม่ตัดตาเทียบกับกลุ่มควบคุม ถ้าแม่พันธุ์กุ้งที่ได้รับสารโมโนโคนอลแอนติบอดี้ และอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อฮอร์โมน GIH สามารถพัฒนารังไข่และวางไข่ได้ จะนำไปสู่การศึกษาและพัฒนากรรมวิธีการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ของแม่กุ้งกุลาดำเลี้ยงโดยไม่ตัดตา ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งของประเทศในอนาคต</p>
บทคัดย่อ (EN): The unilateral eyestalk ablation technique is generally used to induce ovarian maturation in shrimp. This technique partially destroys the synthesis and storage sites of gonad-inhibiting hormone (GIH) which controls ovarian maturation. The eyestalk ablation can stimulate ovarian maturation, and causes continuous spawning but the quantity and quality of eggs were decrease in the further round of spawning. In addition, the eyestalk-ablated shrimp will become weaken and eventually die. Moreover, the eyestalk ablation is a cruelty technique and is possible to be raised as a trade barrier issues in the future. If a new strategy for inhibition of GIH activity and induction of ovarian maturation in intact-eyestalk shrimp is successfully developed, it would enable effective means of broodstock utilization and reduce the cost of shrimp fry production. Nowadays, the domesticated Penaeaus monodon broodstocks (strain NSTDA and Burapa) are being used increasingly in a commercial scale for shrimp production. Therefore, the objective of this study is to implement the in vivo blocking of GIH activity by monoclonal antibody and double stranded RNA (dsRNA) specific to GIH to induce ovarian maturation and spawning in both strains of domesticated P. monodon. The successful induction of ovarian maturation and spawning by specific antibody and dsRNA to GIH will lead to the development of an alternative approach to induce ovarian maturation in eyestalk-intact shrimp broodstock in the future.</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
กรรมวิธีทางอณูชีววิทยาเพื่อการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2559
เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ผลของกระแสน้ำ,ระยะเวลา ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และวัยเจริญพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในบ่อดิน การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์ การศึกษาคุณสมบัติของไข่ปฏิสนธิและตัวอ่อนกุ้งกุลาดำที่มีโครโมโซม 3 ชุด (3n/ triploid eggs and embryos) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสร้างเครื่องมือแยกไข่กุ้ง 3n การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก