สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินศักยภาพของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดน่านเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
นิภา นาสินพร้อม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินศักยภาพของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดน่านเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Genetic Diversity and Assessment of Thai Native Chickens in Nan Province for Conservation and Sustainable Utilization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิภา นาสินพร้อม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างไก่พื้นเมืองกับวิถีชีวิต คนเมืองน่าน เพื่อศึกษาความหลากหลายทางกายวิภาคและลักษณะรูปพรรณสัณฐาน (Morphology) ของไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่าน 3) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของ ไก่พื้นเมืองจังหวัดน่าน โดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะจงถึงความเกี่ยวข้อง ระหว่างไก่พื้นเมืองกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ศึกษาน้ำหนักสัดส่วนร่างกาย และลักษณะปรากฎ ภายนอก ได้แก่ หงอน ใบหน้า ลำตัว และแข้ง ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมือง โดยใช้เทคนิคไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ไก่พื้นเมือง มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกรจังหวัดน่านทั้งที่ อยู่บนพื้นที่สูงและพื้นราบ โดยไก่พื้นเมืองถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ พิธีการแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นปีใหม่ การเรียกขวัญ การบนบาน การทำนายโชคชะตา แม้กระทั่งเวลาตาย ไก่พื้นเมือง ก็ถูกนำไปประกอบพิธีกรรมเพื่อนำตวงวิญญาณไปสู่สุขคติ ลักษณะปรากฏภายนอกของไก่พื้นเมือง มีความหลากหลายสูงในทุกลักษณะ ดังนี้ หงอนพบ 3 ชนิด คือ หงอนจักร หงอนกุหลาบ และหงอนถั่ว มีสีแดง ดำ และสีดำแดง ใบหน้าพบสีดำ สีดำแดง และสีแดง เช่นเดียวกับสีตุ้มหู และเหนียงคอ ปากพบสีเหลืองและสีดำ แข้งพบสีเขียว สีเหลือง และสีดำ ส่วนสีขนสร้อยคอพบสีแดง สีเหลือง และสีเหลืองแซมดำ สีขาวแชมดำ สีส้มแชมดำ และสีเทาแชมดำ จากการวิเคราะห์ ข้อมูลพันธุกรรมด้วยไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 8 โลไช พบว่า มีแถบแบนดีเอ็นเอเกิดขึ้น 5-8 อัลลีล ต่อโลกัส โดยมีขนาดและความถี่แตกต่างกันไป รวมเป็น 55 อัลลีล และเมื่อพิจารณาข้อมูลจากไมโครแซทเทลไลท์ทั้ง 8 โลไซ พบว่าไพรเมอร์ที่ ใช้ในการศึกษาส่วนมากจะมีบางอัลลีลไม่เกิด แถบดีเอ็นเอในบางกลุ่มประชากรของไก่พื้นเมือง และ มีไพรเมอร์บางส่วนที่เกิดทุกอัลลีลในประชากร ทั้ง 3 กลุ่มประชากร และพบว่าจำนวนอัลลีลเฉลี่ย ในแต่ละโลกัสในประชากรแต่ละกลุ่มมีค่าเท่ากับ 6.38 ในไก่พื้นเมือง อ.ทุ่งช้าง มีค่าเท่ากับ 6.13 ในไก่พื้นเมือง อ.เวียงสา และมีคำเท่ากับ 5.75 ในไก่พื้นเมือง อ.ภูเพียง แสดงให้เห็นว่าไพรเมอร์
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to determine (1) the relationship between human and native chicken (2) the phenotypic characteristics (3) the genetic diversity of Thai native chicken in Nan province. The questionnaires forms and specific interviews were used to investigate the relationship of human with chicken. Body size and shape and phenotypic characteristics including comb type, colour of face, shank clour, skin colour and plumage colour were evaluated from Thai native chickens. The genomic DNA from Thai native chickens were used to evaluated genetic diversity by using microsatellite technique. The results showed that the native chicken in Nan province were used in various rituals and ceremonies including wedding ceremony, new year ceremony, pray ceremony, prediction ceremony and funeral ceremony. Regarding the phenotypic characteristics, the results found that the Thai native chicken in Nan province had diversity in all characteristics. Three comb type including single, rose and pea were found. The colour of face and earlob of Thai native chicken was red and little red. The beak colour was yellow and black. The shank colour was green, yellow and black. In addition, the body plumage colour was gray, black, black combination with white or yellow. The genetic diversities by using 8 microsatellite markers with 55 alleles were typed for each individual chicken from 3 districts. The results shown that some microsatellite markers were specific to individual districts. In addition, the average of allele frequency for Thai native chicken in Amphoe Thung Chang, Wiang Sa and Phu Phiang were 6.34, 6.13 and 5.75, respectively. This data indicated that microsatellite markers were high polymorphism and can be use to genetic diversity in Thai native chicken. In conclusion, our results show that the Thai native chicken in Nan province plays important roles in various rituals and ceremonies of Thai farmers’ way of life,
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินศักยภาพของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดน่านเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2556
การศึกษาความหลากหลายของยีน HSP 70 ในไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์ต่างๆ ความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในโคพื้นเมืองของกรมปศุสัตว์ ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองในจังหวัดพิษณุโลก ความหลากหลายของเห็ดและการนำไปใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ป่าทุ่งบะ ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง ภาคเหนือของประเทศไทย การศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมในแมวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ การทดสอบสมรรถนะการเจริญเติบโตและความนุ่มเนื้อในไก่ลูกผสมที่ได้จากไก่พ่อพันธุ์พื้นเมืองไทยกับไก่แม่พันธุ์ทางการค้า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก