สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Development and Research on Appropriate Technologies of Oil Palm Production in the Lower South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทำการทดลองในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ระหว่าง ตุลาคม 2556-กันยายน 2560 โดยใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 อายุ 5 และ 7 ปี ปลูกในดินเหนียว ชุดดินแกลง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design ซึ่งการศึกษาระดับการใช้ซิลิกอน ประกอบด้วย 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ให้ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบ 2) ให้ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบ + ซิลิกอน อัตรา 500 มิลลิกรัมต่อซิลิกอนต่อต้นต่อปี 3) ให้ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบ + ซิลิกอน อัตรา 1,000 มิลลิกรัมต่อซิลิกอนต่อต้นต่อปี 4) ให้ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบ + ซิลิกอน อัตรา 1,500 มิลลิกรัมต่อซิลิกอนต่อต้นต่อปี ส่วนการศึกษาการใช้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ประกอบด้วย 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ดังนี้ 1) 100 เปอร์เซ็นต์ของหินฟอสเฟตตามผลการวิเคราะห์ใบ 2) 100 เปอร์เซ็นต์ของหินฟอสเฟตตามผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต 3) 75 เปอร์เซ็นต์ของหินฟอสเฟตตามผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต 4) 50 เปอร์เซ็นต์ของหินฟอสเฟตตามผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต 5) เปอร์เซ็นต์ของหินฟอสเฟตตามผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต และทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโบรอนตามผลการวิเคราะห์ใบ จากการทดลอง พบว่า การใช้ซิลิกอนร่วมกับการให้ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ใบ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ใบเพียงอย่างเดียว โดยพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบร่วมกับซิลิกอน อัตรา 1,500 มิลลิกรัมต่อซิลิกอนต่อต้นต่อปี มีแนวโน้มทำให้ปาล์มน้ำมันมีพื้นที่หน้าตัดแกนทางและพื้นที่ใบจริงสูงสุด คือ 26.27 ตารางเซนติเมตร และ 8.9 ตารางเมตรต่อทางใบ โดยมีปริมาณผลผลิตระหว่างปีที่ 2-4 อยู่ที่ 3,196, 3,671 และ 3,483 กิโลกรัมต่อไรตามลำดับ ส่วนในการทดลองการใช้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต พบว่า การใส่หินฟอสเฟต 75 เปอร์เซ็นต์ของ ผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตมีแนวโน้มทำให้ปาล์มน้ำมันมีพื้นที่ใบสูงสุด คือ 7.41 ตารางเมตรต่อทางใบ และมีผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยสูง 2,824 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 109.88 เปอร์เซ็นต์ของกรรมวิธีที่ใส่หินฟอสเฟต 100 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับกรรมวิธีใส่หินฟอสเฟต 100 เปอร์เซ็นต์ของผลการวิเคราะห์ใบ + การใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยสูงสุด 2,849 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 110.86 เปอร์เซ็นต์ ของกรรมวิธีใส่หินฟอสเฟต 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ กรรมวิธีใส่หินฟอสเฟต 75 เปอร์เซ็นต์ ของผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต และกรรมวิธีใส่หินฟอสเฟต 100 เปอร์เซ็นต์ของผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต มีค่าอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากัน คือ 2.04 แต่อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (MRR) ของการใส่หินฟอสเฟต 75 เปอร์เซ็นต์ของผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต มีค่าสูงสุด คือ 486.48 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การใส่หินฟอสเฟต 100 เปอร์เซ็นต์ของผลการวิเคราะห์ใบ + จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตมีอัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (MRR) 409.75 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ กรรมวิธีใส่หินฟอสเฟต 75 เปอร์เซ็นต์ของผลการวิเคราะห์ใบ + ใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตทำให้ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุด
บทคัดย่อ (EN): Development and Research on Appropriate Technologies of Oil Palm Production in the Lower South. The objective of this study was to increase the growth and yield of oil palm. This experimental was established in October 2013-September 2017 at Phattalung Agricultural Research and Development Centre. 5 and 7 years oil palm of Suratthani 2 variety was studied. Its was cultivated in Klang soil series. The design of this experiment was Randomized Completely Block (RCBD) consisted of 5 replications, 4 treatments, as follows: 1) treat by chemical fertilizer was applied based on oil palm leafs analysis. 2) treat by chemical fertilizer was applied based on oil palm leafs+ 500 mg of SiO2/tree/year. 3) treat by chemical fertilizer was applied based on oil palm leafs analysis + 1,000 mg of SiO2/tree/year. 4) treat by chemical fertilizer was applied based on oil palm leafs analysis + 1,500 mg of SiO2/tree/year. For study on the effects of utilization of Phosphate Solubilizing Microorganism, It design was a randomized complete block design (RCBD) with 4 replications and 5 treatments namely, 100 % of rock phosphate by the leaf recommendation fertilizer: 100 % RP), combination of 100 % RP and phosphate solubilizing microorganism: 100 % RP+PSM, combination of 100 % RP and phosphate solubilizing microorganism: 100 % RP+PSM, combination of 75 % RP and phosphate solubilizing microorganism:75 % RP+PSM, combination of 50 % RP phosphate solubilizing microorganism: 50 % RP+PSM and combination of 25 % RP and phosphate solubilizing microorganism: 25 % RP+PSM. The 5 treatments apply to add nitrogen, potassium, magnesium, and boron fertilizers by the leaf recommendation fertilizer. The resulted for the effect of silicon we was found that oil palm trees were treated by silicon with chemical fertilizer based on oil palm leafs could be more increase the growth and yields than only treated by chemical fertilizer applied. It was shown that oil palm trees were treated by 1,500 mg of SiO2+chemical fertilizer based on oil palm leafs analysis had the highest cross sectional area of oil palm fronds (8.94 m2) and the highest leaf area index (26.27 cm2) of oil palm. Yields of oil palm in the 2nd-4th year was 3,196 3,371 and 3,483 kg/rai, respectively. In addition The results revealed that 75%RP+PSM tended to the highest leaf area of 7.41 square meter. The highest average fresh fruit bunch of 100 % RP + PSM (2,849 kg./rai/year) was equivalent to 110.86 % of 100 % RP followed by 75 % RP + PSM (2,824 kg./rai/year) which was equivalent to 109.88 % of 100%RP. For economic benefit, the results indicated that the highest benefit cost ratio (BCR) of 75 % RP + PSM and 100 % RP + PSM were equal (2.04) and higher than 25 % + PSM, 100 % RP and 50 % + PSM (1.96, 1.93, 1.87 respectively). The highest Marginal Rate of Return (MRR) of 75 % RP + PSM was 486.48 % follow by 100 % RP + PSM with 409.75 %. In addition, 75 % RP + PSM application significantly increased the available phosphorus in the soil compared to other treatments. Therefore, Oil palm production grown on Klaeng Soil Series in Phatthalung province can be applied 75 % RP + PSM for high yield and good profit.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสายพันธุ์เตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ตอนบน การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกปาล์มน้มันใหม่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร แผนงานวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก