สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการเก็บรักษาและขนส่งหอยแครง
สุภาพร สิริมานุยุตต์, สมยศ ราชนิยม, วลัย คลี่ฉายา, รัชดา อิทธิพงษ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการเก็บรักษาและขนส่งหอยแครง
ชื่อเรื่อง (EN): Handling of bloody cockle
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาการเก็บรักษาหอยแครง รัชดา อิทธิพงษ์* นิรชา วงษ์จินดา สุภาพร สิริมานุยุตต์ วลัย คลี่ฉายา และสมยศ ราชนิยม กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ บทคัดย่อ การพัฒนาการเก็บรักษาหอยแครงมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรักษาคุณภาพหอยแครงหลังการจับและยืดอายุการเก็บ โดยบรรจุหอยแครงในกระสอบพลาสติกจำนวน 5 กิโลกรัม/ถุง แล้วเก็บรักษาไว้ใน 1. อุณหภูมิห้องซึ่งใช้เป็นชุดควบคุม (อุณหภูมิเฉลี่ย 28?2 ?C) 2.ในหีบฉนวนที่ใส่น้ำแข็งโดยวางกระสอบหอยแครงบนตะกร้าเพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง (อุณหภูมิเฉลี่ย 12?2 ?C) 3.ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่5?1 ?C 4.ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่10?1 ?C และ 5.ในตู้ควบคุมสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ 15?1 ?C และความชื้นสัมพัทธ์ 90?14 % สุ่มตัวอย่างหอยแครงมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางประสาทสัมผัส ได้แก่ ลักษณะปรากฏ ปริมาณดินโคลน กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และการยอมรับรวมโดยผู้ทดสอบที่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 10 คน ให้คะแนนแบบ Line-scale 1-10 คะแนน (ต่ำกว่า 5 คะแนนคือไม่ยอมรับ) คุณภาพทางเคมี ได้แก่ ปริมาณด่างระเหยทั้งหมด ปริมาณเค และความเป็นกรด-ด่าง (TVB-N, K-value, pH) และทางจุลชีววิทยา ได้แก่ ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด แบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteriaceae และ Vibrio sp. (TVC, Enterobacteriaceae, Vibrio sp.) พบว่า การเก็บหอยแครงแบบที่ 4 เก็บได้นาน 8 วัน โดยผู้ทดสอบให้คะแนนการยอมรับทุกลักษณะสูงที่สุด ปริมาณด่างระเหยทั้งหมด (TVB-N) และ% K-value มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลาการเก็บรักษาทั้ง 5 แบบ โดยการเก็บแบบที่ 2 3 และ 4 มีค่า TVB-N อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือต่ำกว่า 30 มิลลิกรัม/100 กรัม ตลอดการเก็บ 10 วัน pH มีค่าอยู่ในช่วง 6.38-6.66 ของทุกแบบการทดลองตลอดอายุการเก็บรักษา มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด (TVC) และแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteriaceae มีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดเวลาการเก็บทั้ง 5 แบบเช่นเดียวกัน จาก 105 cfu/g เป็น 108 cfu/g และ 103 cfu/g เป็น 106 cfu/g ตามลำดับ โดยในแบบที่ 3 TVC อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดคือ 5.0 x 106 cfu/g ตลอดการเก็บ 10 วัน คำสำคัญ: หอยแครง คุณภาพ วิธีการเก็บรักษา -------------------------- *ผู้รับผิดชอบ: เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทร: ๐-๒๙๔๐-๖๑๓๐-๔๕ ต่อ ๔๒๑๗ E-mail: ratchadai@yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Handling of Cockles (Anadara granosa) Ratchada Iddhibongsa* Niracha Wongchinda Supaporn Sirimanuyutt Walai Kleechaya Somyos Rachniyom Fishery Technological Development Division, Kaset-Klang, Chatuchak, Bangkok 10900, Thailand This study aims to develop handling method after harvesting to extend shelf-life of cockles (Anadara granosa). Samples packed into polyvinyl bag for 5 kilograms each were stored in 5 conditions as followings (1) at ambient temperature at 28?2 ?C (as a control), (2) in an insulated box by placing the cockle bags in a basket over ice at 12?2?C, (3) in microprocessor control incubator at 5?1?C, (4) in microprocessor control incubator at 10?1?C and (5) in Growth Chamber at 15?1?C and RH 90?14 %. Sensory (appearance, amount of mud, odor, texture, flavor and overall acceptance), chemical (Total Volatile Basic-Nitrogen (TVB-N), K-value and pH), and microbiological (Total Viable Count (TVC), Enterobacteriaceae and Vibrio sp.) analyses were conducted on the samples of all conditions during storage. Sensory evaluation was tested by 10 trained panels and used Line-scale (1-10). The results showed that the sample stored in microprocessor control incubator at 10?1?C provides the longest shelf-life for 8 days as well as the highest score of overall sensory evaluation. TVB-N and % K-value increased during storage of all conditions. However, after 10 days, TVB-N values of treatment 2, 3, and 4 were below 30 mg/100g. Also, there were no significant differences of pH value among treatments which were 6.38 - 6.66 (p>0.05). Moreover, TVC and Enterobacteriaceae increased from 105 cfu/g and 103 cfu/g to 108 cfu/g and 106 cfu/g, respectively, during storage of all conditions. Nevertheless, only the 3rd treatment provided the TVC value lower than 5.0 x 106 cfu/g (standard limits) after 10 days of storage. Key words: Cockles, Quality, Handling -------------------------- *Corresponding author: Kaset-klang Chatuchak, Bangkok 10900 Tel: 0 2940 6130-45 ext. 4217 E-mail: ratchadai@yahoo.com
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการเก็บรักษาและขนส่งหอยแครง
กรมประมง
30 กันยายน 2551
กรมประมง
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาหอยแครงสดและหอยแครงลวก ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง อายุการเก็บรักษาและระยะพักตัวของเมล็ดหญ้ารูซี่ที่เก็บรักษาในสภาพต่างๆ กัน การนำผงเปลือกหอยแมลงภู่มาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาเต้าหู้ อายุการเก็บรักษาและระยะพักตัวของเมล็ดหญ้าโร๊ดที่เก็บรักษาในสภาพต่างๆ กัน การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวและการรักษาคุณภาพของแก้วมังกระฉายรังสี แกมมาที่เก็บรักษาในสภาพจำลองการขนส่งทางเรือสำหรับตลาดสหรัฐอเมริกา การพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ (Haliotis asinina) เพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ อิทธิพลของระดับอุณหภูมิและระยะเวลาในการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ต่อการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในขณะเก็บรักษา และคุณภาพหลังการเก็บรักษากล้วยหอมทอง ผลของบรรยากาศดัดแปลงต่ออายุการเก็บรักษาขิงสด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก