สืบค้นงานวิจัย
การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม
อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, สนธยา กูลกัลยา - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม
ชื่อเรื่อง (EN): Experiment Polycultural of Strombus canarium and Peneaus vanamai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม Litopeneaus ( Penaeus) vannamei ควบคู่กับหอยสังข์กระโดด (Strombus canarium) ดำเนินการโดยทดลองเลี้ยงสัตว์ทั้งสองชนิดร่วมกันเป็นจำนวนสองครั้ง ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งเอกชนในพื้นที่ ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อดินขนาด กว้าง 25 เมตร ยาว 50 เมตร และปล่อยน้ำลึก 1.30 เมตร โดยรูปแบบการเลี้ยงยึดรูปแบบการเลี้ยงกุ้งตามวิธีปรกติของการเลี้ยงกุ้งขาว วานาไม การทดลองเลี้ยงครั้งที่หนึ่ง ใช้ลูกหอยขนาดเล็ก ขนาดความยาวเปลือกเฉลี่ย 13.40 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 0.23 กรัม เลี้ยงร่วมกับกุ้งขาววานาไม โดยปล่อยเลี้ยงกุ้งขาววานาไมที่ระดับความหนาแน่น 31 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และปล่อยลูกหอยสังข์กระโดดลงเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 1.44 ตัวต่อตารางเมตร ดำเนินการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 86 วัน ผลปรากฏว่า กุ้งขาววานาไมที่จับได้มีผลผลิต 262 กิโลกรัม มีอัตรารอด ร้อยละ 63.98 และมีการเจริญเติบโตปรกติ ส่วนหอยสังข์กระโดดพบว่า มีอัตรารอดต่ำ (ร้อยละ 1.56) มีผลผลิตเพียง 32 กรัม และผลผลิตยังเป็นลูกหอยขนาดเล็ก ขนาดความยาวเปลือกเฉลี่ย 21.39 มิลลิเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 1.14 กรัม ส่วนค่าร้อยละของปริมาณสารอินทรีย์ในดินพื้นบ่อหลังการเลี้ยงพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น 0.08 %O.M สำหรับการทดลองที่สองใช้หอยขนาดโตเต็มวัย ความยาวเปลือกเฉลี่ย 54.74 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 26.38 กรัม เลี้ยงร่วมกับกุ้งขาววานาไม โดยปล่อยเลี้ยงกุ้งที่ระดับความหนาแน่น 46.15 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และปล่อยลูกหอยลงเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 0.55 ตัวต่อตารางเมตร ดำเนินการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 107 วัน ผลปรากฏว่า กุ้งขาววานาไมที่จับได้มีผลผลิต 353 กิโลกรัม มีอัตรารอด ร้อยละ 32.41 มีการเจริญเติบโตตามปรกติ ส่วนหอยสังข์กระโดดพบว่า มีอัตรารอดร้อยละ 15.52 มีผลผลิต 3.13 กิโลกรัม มีขนาดความยาวเปลือกเฉลี่ย 53.97 มิลลิเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 29.50 กรัม ส่วนปริมาณสารอินทรีย์ในดินพื้นบ่อหลังการเลี้ยงพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น 0.08 %O.M เช่นเดียวกับการทดลองครั้งที่ 1 จากผลการศึกษาทั้งสองครั้งสรุปว่าการเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งขาววานาไมไม่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยหอยสังข์กระโดดลงไปเลี้ยงร่วมกัน ขณะที่อัตรารอดของหอยสังข์กระโดดมีค่าต่ำทั้งในลูกหอยขนาดเล็ก และหอยขนาดตัวเต็มวัย ผลผลิตของกุ้งขาววานาไมที่เลี้ยงร่วมกับหอยสังข์กระโดด ผลผลิตกุ้งขาววานาไมมีค่าใกล้เคียงกับผลผลิตที่ได้รับจากระบบการเลี้ยงแบบปรกติ แต่ผลผลิตที่ได้จากหอยสังข์กระโดดยังมีปริมาณน้อย การปล่อยหอยสังข์กระโดดลงในบ่อเลี้ยงมีประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ในดินพื้นก้นบ่อในบ่อกุ้งขาววานาไม ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ของการเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับหอยสังข์กระโดดเนื่องจากการศึกษาพบว่าหอยสังข์กระโดดสามารถดำรงชีวิตในบ่อเลี้ยงกุ้งได้ และยังช่วยกำจัดสารอินทรีย์ตกค้างในบ่อกุ้งได้ด้วย การที่หอยที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้มีอัตรารอดต่ำซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง
บทคัดย่อ (EN): This study reports on the possibility of rearing shrimp, Litopeneaus (Penaeus) vannamei, together with the gastropod Strombus canarium in two experiments in Tambon Chang-kam, Chanthaburi Province. A 25 x 50 x 1.3 meter pond used to examine the polyculture based on the normal method for rearing L. (Peneaus) vannamei. The first experiment used young S. canarium 13.40 millimeter shell length and 0.23 grams body weight reared together with L. (Peneaus) vannamei larvae. Density of L. (Peneaus) vannamei larvae was 31 inds/m3 and 1.44 inds/m2 for S. canarium. The animals were reared together for 86 days. The result showed L. (Peneaus) vannamei total production and survival rate were 262 kilogram and 63.98 % respectively with normal growth. Meanwhile S. canarium production and survival rate were 32 grams and 1.56% respectively. Average size of S. canarium production was 21.39 millimeter shell length and was 1.14 grams body weight. Percentage of organic matter of bottom soil on pond floor increased from 0.24 to 0.32, 0.08 %O.M. differential. In the second experiment adult S. canarium 54.74 millimeter shell length and 26.38 grams body weight reared together with L. (Peneaus) vannamei larvae. Density of L. (Peneaus) vannamei larvae was 46.15 inds/m3 and 0.55 inds/m2 in S. canarium density. The animals were reared together for 107 days. The results showed L. (Peneaus) vannamei production and survival rate were 353 kilogram and 32.41 %, respectively with normal growth. Meanwhile S. canarium production and survival rate were 3.13 kilograms and 15.52% respectively. Average size of S. canarium production was 53.97 millimeter shell length and was 29.50 grams body weight. Percentage of organic matter of bottom soil on pond floor increased from 0.26 to 0.34, 0.08 % O.M. differential. Summarizing from two experiments, growth, survival rate and production of L. (Peneaus) vannamei were not affected by S. canarium meanwhile growth, survival rate and production of S. canarium were rather low. Those may be caused by water quality control during rearing process. From S. canarium which been alive in two experiments and their activity to decrease organic matter in bottom soil, there was a moderate probability to rearing L. (Peneaus) vannamei together with S. canarium. We show that adult S. canarium are more appropriate for pond stocking in the existing scenario. An increase in the stocking density of gastropods may contribute to the decrease of organic matter content in experimental shrimp ponds. Keyword : Strombus canarium , Litopeneaus ( Penaeus) vannamei, polyculture, biofilter
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 กันยายน 2552
การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการทางโภชนาการสำหรับการอนุบาลและการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับรองมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ในจังหวัดตรัง ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังผลกระทบจากโรค EMS การคัดแยกไดอะตอมขนาดใหญ่จากบ่อพักน้ำของฟาร์มเลี้ยงกุ้งและการเพาะเลี้ยงในระบบการเลี้ยงแบบแบทช์และแบบต่อเนื่อง ผลของระบบการเลี้ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ Vibrio vulnificus และ Vibrio parahaemolyticus ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลของระบบการเลี้ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ Vibrio vulnificus และ Vibrio parahaemolyticus ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) จังหวัดพังงา ผลของระบบการเลี้ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ Vibrio vulnificus และ Vibrio parahaemolyticus ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei จังหวัดชุมพร ผลของการเลี้ยงขุนพ่อพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)ด้วยอาหารต่างกันต่อความสมบูรณ์ของเซลล์สเปิร์ม การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก