สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
สังวาลย์ แก้วสันเที๊ยะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สังวาลย์ แก้วสันเที๊ยะ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาด ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ผลิตละหุ่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 181 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือประมวลผลคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกละหุ่งที่ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 37 ไร่ ต่อครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของตนเอง มีอาชีพหลักคือการทำนา มีแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 3 คน ต่อครัวเรือน มีประสบการณ์ในการปลูกละหุ่งเฉลี่ย 2 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และเคยผ่านการอบรมเรื่องการปลูกละหุ่ง พื้นที่ปลูกละหุ่งเฉลี่ย 9 ไร่ต่อครอบครัวส่วนใหญ่จะปลูกละหุ่งในเดือนกรกฎาคม และปลูกพันธุ์ TCO 101 โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากทางราชการร่วมกับบริษัทสยามน้ำมันละหุ่ง ดินที่ใช้ปลูกเป็นดินเหนียว ลักษณะการปลูกร้อยละ 69 จะปลูกเป็นพืชแซมกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์น้อยกว่า 1 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะปลูกระหว่างต้น 237 เซนติเมตร ระหว่างแถว 262 เซนติเมตร การดูแลรักษาส่วนใหญ่มีการเด็ดยอดละหุ่ง และใส่ปุ๋ยคอกปรับปรุงบำรุงดิน การให้น้ำใช้น้ำฝนอย่างเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก ในเดือนธันวาคม อายุการเก็บเกี่ยวนับจากวันปลูก เฉลี่ย 171 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2-3 รุ่น ผลผลิตต่อไร่ (ทั้งเปลือก) เฉลี่ย 175 กิโลกรัม อัตราการกระเทาะเมล็ด ละหุ่งทั้งเปลือก 3 กิโลกรัมกระเทาะเมล็ดได้ 1 กิโลกรัม เกษตรกรร้อยละ 40 ขายละหุ่งทั้งเปลือกและ กระเทาะเมล็ดบางส่วน และส่วนใหญ่ขายที่ตลาดในอำเภอ ต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 529 บาท ราคาขายละหุ่ง (ทั้งเปลือก) เฉลี่ย 6 บาทต่อกิโลกรัม โรคระบาดที่พบได้แก่ โรคต้นเหี่ยว โรคต้นกล้าเน่า และโรคราสีเทา แมลงศัตรูพืชที่พบได้แก่ หนอนคืบละหุ่ง เพลี้ยจักจั่น ไรแดงและมวนเขียว ปัญหาและอุปสรรคที่พบมาก ได้แก่ ประสบภัยธรรมชาติ (ฝนทิ้งช่วง) ขาดความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชและผลผลิตต่ำ ความต้องการของเกษตรกรต้องการให้ปัจจัยการผลิตมีราคาถูก ต้องการความรู้ในการปลูก การดูแลรักษาและการประกันราคาที่แน่นอน ข้อเสนอแนะ ควรจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตที่ได้มาตรฐานและราคาเป็นธรรม มีการประกันราคาผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มการผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วิธีการเกษตรอินทรีย์ - ชีวภาพ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์และรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตผักปลอดสารพิษระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตคะน้าของเกษตรกรในตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก