สืบค้นงานวิจัย
ประชาคมปลาในปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี
หัสพงศ์ สมชนะกิจ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ประชาคมปลาในปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance of Fishes Associated with Artificial Reefs by Different Depths in Pattani Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: หัสพงศ์ สมชนะกิจ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Hassapong Somchanakij
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นพรัตน์ เรืองปฏิกรณ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Nopparattana Ruangpatikorn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาประชาคมปลาบริเวณปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันของจังหวัด ปัตตานี โดยใช้วิธีสำมะโนประชากรปลาด้วยสายตา ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน ปี 2557 เก็บข้อมูล ในแหล่งปะการังเทียมที่ใช้วัสดุแท่งคอนกรีตขนาด 1.5x1.5x1.5 เมตร ช่วงอายุหลังการจัดวาง 7-9 ปี ที่ระดับ ความลึกน้ำ 3 ระดับ คือ ความลึกน้ำน้อยกว่า 10 เมตร 10-15 เมตร และมากกว่า 15 เมตร โดยแต่ละระดับ ความลึกน้ำ ประกอบด้วย 4 สถานี ผลการศึกษาพบชนิดปลาในแนวสำรวจรวมทุกระดับความลึกน้ำ จำนวน 38 วงศ์ 98 ชนิด ความชุกชุมของจำนวนชนิดเฉลี่ยและจำนวนตัวปลาเฉลี่ยที่ระดับความลึกน้ำมากกว่า 15 เมตร มีค่าสูงกว่าที่ระดับความลึกน้ำน้อยกว่า 10 เมตร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยมีกลุ่มปลาเด่น คือ ปลาสลิดหินและปลากะพง ซึ่งเป็นวงศ์ที่มีความเด่นทั้งจำนวนชนิดและจำนวนตัว ขณะที่ปลากะรังมีความเด่น เฉพาะในด้านจำนวนชนิด ดัชนีความหลากหลายทางชนิดของแชนนอน-วีเนอร์ และดัชนีความสม่ำเสมอของพีลู มีค่าระหว่าง 1.548-2.736 และ 0.497-0.760 ตามลำดับ ส่วนการจัดกลุ่มประชาคมปลาด้วยค่าความคล้ายคลึงแบบ เบรย์-เคอร์ติส พบว่าโครงสร้างของประชาคมปลามีความคล้ายคลึงในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.36) และเมื่อ พิจารณาที่ระดับความคล้ายคลึง ร้อยละ 60 สามารถแบ่งกลุ่มตามสถานีได้ 4 กลุ่ม โดยพบว่าโครงสร้าง ประชาคมปลาบริเวณความลึกน้ำน้อยกว่า 10 เมตร มีความแตกต่างกับบริเวณความลึกน้ำ 10-15 เมตร และ มากกว่า 15 เมตร
บทคัดย่อ (EN): An underwater visual fish census technique was used to compare fish communities around artificial reefs at different water depths of Pattani Province during April-September 2014. Data collection was conducted at 1.5x1.5x1.5 m concrete modules of 7-9 years old artificial reefs classified into 3 water depth ranges consisted of water depths less than 10 meters, 10-15 meters and more than 15 meters. Each depth range had 4 survey sites. A total of 38 families comprised 98 species of fishes were recorded in the census areas. The average number of species and total number of individuals at water depths more than 15 meters were significantly higher than those at water depths less than 10 meters (p<0.05). The Pomacentridae and Lutjanidae were the most dominant in terms of speciose families and number of individuals, while Serranidae was dominant only in terms of number of species. The Shannon-Wiener diversity index and Pielou’s evenness index were 1.548-2.736 and 0.497-0.760, respectively. The cluster analysis based on Bray-Curtis similarity index between sites showed medium similarity level (44.36%) of the fish community structure, and it could be separated into 4 main groups of sites at 60% similarity level, which also showed a clear separation between water depths less than 10 meters and the others, i.e., water depths 10-15 meters and more than 15 meters.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประชาคมปลาในปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี
กรมประมง
30 กันยายน 2557
กรมประมง
ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส การศึกษาเปรียบเทียบพรรณปลาบริเวณปะการังเทียม ที่จัดสร้างด้วยวัสดุต่างกัน ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ชนิดและปริมาณของสัตว์เกาะติดขนาดใหญ่บนพื้นผิวปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การวางลอบหมึกที่ระดับความลึกต่างกันบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิดสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม จังหวัดเพชรบุรี คุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช สัตว์เกาะติดขนาดใหญ่บนพื้นผิวปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก