สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังในตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
นายอ๊อต คำสอน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังในตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายอ๊อต คำสอน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ที่ผลิตมันสำปะหลังปี 2546/2547 จำนวน 828 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและต่ำสุด ผลการศึกษาพบ ว่าเกษตรกรร้อยละ 58.52 เป็นชาย อายุเฉลี่ย 44.87 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่สมรสแล้ว สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.43คน แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.68 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 29.80 ไร่ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง ประกอบอาชีพทำไร่ เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 28.34 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังในช่วงต้นฝน พื้นที่เป็นดินร่วน ส่วนใหญ่ไม่ใช้วัสดุปรับปรุงดิน ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,408.87 บาทต่อไร่ ใช้พันธุ์ห้วยบง 60 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 5 เตรียมดินปลูก 2 ครั้ง ปลูกแบบไม่ยกร่อง และปลูกแบบปักตรง ปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 10 - 12 เดือน โดยใช้เครื่องมือถอนด้วยงาช้างงัด ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3.49 ตัน จำหน่ายผลผลิตให้กับโรงแป้งมันสำปะหลัง ใช้เงินทุนของตนเอง พบการระบาดโรครากเน่าหรือหัวเน่า และปลวกป้องกันและกำจัดโรคโดยใช้สารเคมี ปัญหาในการปลูกมันสำปะหลังในระดับมาก ได้แก่ ต้นพันธุ์มันสำปะหลังเสียหายเก็บไว้เกิน 1 เดือน ต้นพันธุ์มันสำปะหลังราคาแพงช่วงปะสบภัยแล้ง โรคแมลงระบาด ปุ๋ยมีราคาแพง ผลผลิตต่ำและขาดเงินทุนหมุนเวียน ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ ค่าขนส่งราคาสูง โรงงานแป้งมันรับซื้อในพื้นที่มีน้อย พ่อค้ากดราคา โรงงานรับซื้อแต่ละวันปริมาณน้อย การวัดค่าเปอร์เซ็นต์แป้งมันทางโรงงานตรวจวัดผู้เดียวและรถบรรทุกมันสำปะหลังติดคิวนานทำให้น้ำหนักลดเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ปัญหาด้านความรู้ ได้แก่ ขาดความรู้ด้านการวางแผน ปัญหาในด้านอื่น ๆ คือ ขาดองค์กรกลุ่มที่เข้มแข็ง ความต้องการของเกษตรกร พบว่ามีความต้องการมากได้แก่ การติดตามแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องแหล่งเงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำและปัจจัยการผลิตราคาถูก ส่วนข้อเสนอแนะควรสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับการปลูกมันสำปะหลังและการตลาดของมันสำปะหลัง สนับสนุนปัจจัยการผลิต แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ แหล่งพันธุ์มันสำปะหลัง แหล่งรับซื้อผลผลิต สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อรับความรู้ รวบรวมผลผลิตจำหน่ายต่อรองราคาผลผลิตและซื้อปัจจัยการผลิตในราคาถูกตลอดจนร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงมันสำปะหลังให้ได้คุณภาพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังในตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
อาหารจากมันสำปะหลัง สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์แนวทางการจัดระบบการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2537-2541 การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก