สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาต้นทุนการผลิตไหมไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต
สมหญิง ชูประยูร, วิศิษฐ์ ไฝจันทร์, เยาวลักษณ์ ทองทวี, พิชัย เชื้องาม, วัชรพงษ์ แก้วหอม, เสถียร แจ่มแสง, ลำแพน สารจันทึก, พิมลรัตน์ เมธินธรังสรรค์, ศุภวรรณ เคี่ยนเมธี, อะคร้าว อนันต์, อาภาพร ขันตี, กนกวรรณ วรวงศ์สมคำ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาต้นทุนการผลิตไหมไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Cost of Thai Silk Production throughout the Supply Chain
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาต้นทุนการผลิตไหมไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนการผลิตไข่ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน พันธุ์ไทยลูกผสมของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และต้นทุนการผลิตรังไหม เส้นไหมในระดับเกษตรกร สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อให้ได้ต้นแบบองค์ความรู้การผลิตหม่อนไหมที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตไหมทั้งระบบตลอดห่วงโซ่การผลิต ดำเนินงานที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ กรมหม่อนไหม และกลุ่มเกษตรกร ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558 จากการศึกษาต้นทุนการผลิตไข่ไหมโดยเฉลี่ยต่อแผ่นของพันธุ์ไทยพื้นบ้าน จำนวน 5 พันธุ์ คือ นางสิ่ว x นางตุ่ย สำโรง นางสิ่ว พันธุ์ทับทิมวนา และนางตุ่ย เท่ากับ 158.91 185.52 220.33 234.51 และ 259.07 บาท ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ไทยลูกผสมจำนวน 3 พันธุ์ คือ ดอกบัว เหลืองไพโรจน์ และเหลืองสุรินทร์ โดยเฉลี่ยแผ่นละ 163.10 245.80 และ 340.58 บาท ตามลำดับ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์การผลิตรังไหมพันธุ์ลูกผสมภาคเกษตรกร เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 194.41 บาท ต้นทุนทางบัญชี เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 94.10 บาท ส่วนต้นทุนการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือแบ่งเป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับพันธุ์ไหม คือ เส้นไหมสาวมือพันธุ์ไทยพื้นบ้าน ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 2,984.69 บาท ต้นทุนทางบัญชี เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 871.75 บาท และเส้นไหมพันธุ์ไทยลูกผสมต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 2,296.18 บาท ต้นทุนทางบัญชี เฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 797.87 บาท สำหรับต้นทุนการผลิตผ้าไหมทอมือชนิดผ้าไหม 2 เส้น สีพื้น โดยใช้เส้นไหมสาวมือพันธุ์ไทยพื้นบ้าน โดยเฉลี่ยต่อหลา เท่ากับ 417.59 บาท ส่วนใหญ่ต้นทุนเป็นค่าเส้นไหมและค่าแรงงาน ซึ่งข้อมูลต้นทุนที่ได้มาจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวในข้างต้น จะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญและสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต คำสำคัญ : ต้นทุนการผลิต (Production cost) ห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) พันธุ์ลูกผสม พันธุ์ไทยพื้นบ้าน พันธุ์ไทยลูกผสม
บทคัดย่อ (EN): The objective of the study on the cost of Thai silk production throughout the supply chain was to obtain data of production cost of Thai native silkworm egg and Thai hybrid silkworm egg of the Queen Sirikit Sericulture Centers, silk cocoon and silk yarn at farm’s level. The data could be analyzed in order to get the knowledge model of effective silk production and to reduce the cost of silk production throughout the supply chain. The study was operated at the Queen Sirikit Sericulture Centers and farmer centers during October 2014 to September 2015. The result showed that the average egg production costs per sheet of 5 Thai native silkworm varieties; Nang Sue x Nang Tui, Samrong, Nang Sue, Tabtimwana and Nang Tui were 158.91, 185.52, 220.33, 234.51 and 259.07 baht, respectively, and of 3 Thai hybrid silkworm varieties; Dokbua, Leung Pairoj and Leung Surin were 163.10, 245.80 and 340.58 baht, respectively. At farm’s level, the average economic cost of hybrid silkworm cocoon production per kilogram was 194.41 baht while the average accounting cost was 94.10 baht per kilogram. The production cost of hand reeled Thai silk yarn divided into 2 types which depend on the variety. The first one was Thai native silk yarn production, the average economic cost was 2,984.69 baht per kilogram while the average accounting cost was 871.75 baht per kilogram. The second was Thai hybrid silk yarn, the average economic cost of production was 2,296.18 baht per kilogram while the average accounting cost was 797.87 baht per kilogram. For 2 ply-yarn Thai silk fabric made by tradition-handloom, the average production cost per yard was 417.59 baht, mainly were silk yarn and labor cost. The results from this study would be the source of data which was very important and useful for increasing the efficiency and could reduce the cost of Thai silk production throughout the supply chain. Keywords: Production cost, Supply Chain, Hybrid variety, Thai native variety, Thai hybrid variety
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาต้นทุนการผลิตไหมไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2558
กรมหม่อนไหม
ต้นทุนการผลิตน้ำยางข้น การศึกษาต้นทุนการผลิตไข่ไหมพันธุ์ไทยลูกผสมศึกษา เฉพาะกรณีศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตหม่อนผลสดในจังหวัดน่าน ศึกษาต้นทุนการผลิตและความเป็นไปได้ในการผลิตหม่อนผลปั่นผสมโยเกิร์ตระดับชุมชน การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตของไหมพันธุ์ไทย ศึกษาต้นทุนการผลิตอาหารเสริมจากดักแด้ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม โครงการวิจัยการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตไม้ผลบนพื้นที่สูง การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตผักเชียงดาและประเมินต้นทุนการผลิตเชียงดาในฟาร์มต้นแบบ การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร 2559A17002045 การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตผักเชียงดาและประเมินต้นทุนการผลิตเชียงดาในฟาร์มต้นแบบ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก