สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อรา Prochloraz, Propiconazole + Difenoconazole และเชื้อแอกติโนไมซีสต์ ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคเมล็ดด่างของข้าว
วิลาสินี แสงนาค วิษณุ โหมดเทศ สรัญยา ณ ลำปาง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อรา Prochloraz, Propiconazole + Difenoconazole และเชื้อแอกติโนไมซีสต์ ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคเมล็ดด่างของข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency Test of Prochloraz, Propiconazole + Difenoconazole Fungidides and Actinomycetes in Controlling Fungal Causing Dirty Panicles of Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิลาสินี แสงนาค วิษณุ โหมดเทศ สรัญยา ณ ลำปาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vilasinee Saengnak Witsanu Modted Sarunya Nalumpang
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: สารป้องกันกำจัดเชื้อรา prochloraz และ propiconazole + Difenoconazole ที่ความเข้มข้นครึ่งและตามอัตราแนะนำของผู้ผลิตมีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา Curvularia sp. และ Helminthosporium sp. สาเหตุโรคเมล็ดด่างของข้าวบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ patato dextrose agar (PDA) ได้ 100% แต่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์สูงสุด 49.32% ในขณะที่เชื้อแอกติโนไมซีสต์ไอโซเลท NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Curvlaria sp. บนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA อยู่ระหว่าง 74.67 – 82.22% และเชื้อรา Helminthosporium sp. ระหว่าง 48.00 – 74.22 % แต่เชื้อแอกติโนไมซีสต์ไอโซเลท NSP2 และ NSP6 ในรูปแบบของอาหารเลี้ยงเชื้อในส่วนที่ไม่กรองเอาเชื้อออก (culture medium, NF) และส่วนที่กรองเอาเชื้อออก (culture filtrate medium, F) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุโรคสูงสุด 92.39% สำหรับการตรวจสอบความยาว germ tube พบว่าเชื้อราที่ทดสอบทั้งสารป้องกันกำจัดเชื้อราทั้ง 2 ชนิด และอาหารเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสต์ทั้ง 2 ส่วน ให้ผลเช่นเดียวกันคือ germ tube ของเชื้อราในชุดควบคุมมียาวกว่าชุดทดสอบ และยังพบความผิดปกติที่ของสปอร์เชื้อราในชุดทดสอบ นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าหากสปอร์เชื้อรางอกมีลักษณะผิดปกติ ไม่สามารถงอกและพัฒนาไปเป็นเส้นใยต่อไปได้ ส่วนสปอรืที่มีลักษณะปกติยังสามารถงอกได้แต่งอกช้ากว่าชุดควบคุม และมี germ tube สั้นกว่าสปอร์เชื้อราในชุดควบคุม
บทคัดย่อ (EN): The efficacy of two systemic fungicides namely prochloraz and propiconazole + Difenoconazole with half- and recommended concentration, were completely inhibited (100%) the mycelia growth of Curvularia sp. and Helminthosporium sp. causing dirty panicles of rice on potato dextrose agar (PDA), but the highest percentage of inhibiting the conidial germination was found at 49.32%. While six effective actinomycetes namely NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 and NSP6, were inhibited the mycelia growth of Curvularia sp. ranging from 48.00-82.22%, and 48.00-74.22% against Helminthosporium sp. on PDA. Nevertheless, the highest percentage of inhibiting the conidial germination of the culture medium (F) of isolate NSP2 and NSP6 were found at 92.39%. For the effect of two systemics and the NF- and F-type culture mediums were found in same results, which germ tube length of control developed longer than treated treatments. Abnormally-appearance of germinated conidias was found in treated treatments. Moreover, if the conidia were found abnormal, the conidial germination and mycelium development could not take place. While the germination were found in normally conidia but delay comparable to control.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อรา Prochloraz, Propiconazole + Difenoconazole และเชื้อแอกติโนไมซีสต์ ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคเมล็ดด่างของข้าว
กรมวิชาการเกษตร
2556
เอกสารแนบ 1
ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Curvularia lunata สาเหตุโรคเมล็ดด่างข้าวด้วย การวิเคราะห์ดีเอ็นเอบริเวณ ITS rDNA และเครื่องหมาย ISSR ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารจากพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว ความไวต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole ของ Bipolaris oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว ในพื้นที่นาภาคกลาง ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก