สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด
เรืองศักดิ์ กมขุนทด, กัลยาณี สุวิทวัส, ขวัญหทัย ทนงจิตร, ฉลองชัย แบบประเสริฐ, ชฎามาศ จิตต์เลขา - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด
ชื่อเรื่อง (EN): The development and selection the Avocado for consume fresh
บทคัดย่อ: เก็บรวบรวมพันธุ์อะโวคาโด จากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดตาก ได้จำนวน 19 พันธุ์ จากมูลนิธิโครงการหลวง สถานีเกษตรหลวงปางดะ จำนวน 5 พันธุ์ คือ พันธุ์แฮส (อิสราเอล) พันธุ์แฮส (นิวซีแลนด์) พันธุ์เฟอร์เต้ พันธุ์พริ้งเคอร์ตัน และพันธุ์บัคคาเนีย และมูลนิธิโครงการหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์แฮส พันธุ์บูช8 พันธุ์บัคคาเนีย พันธุ์ลูล่า พันธุ์กัมปง พันธุ์โซเครท พันธุ์ฮอลล์ และจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์มูเซอ พันธุ์อะนาฮิม พันธุ์A75 พันธุ์A293 พันธุ์ดูค6 พันธุ์ดูค7 พันธุ์แฮส พันธุ์กัมปง พันธุ์อีทราย และรวบรวมข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ คือ รูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ขอบใบ แผ่นใบ ทรงผล โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรูปเล่มในหนังสือฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอะโวคาโดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต และการทดสอบการเปรียบเทียบการขยายพันธุ์อะโวกาโด 4 พันธุ์คือ พันธุ์ Peterson, Booth7, Fuerte และ Hass โดยวิธีการต่อกิ่ง 4 แบบ คือ แบบฝานบวบ, แบบเสียบลิ่ม, แบบเสียบข้าง และแบบเสียบเปลือก บนต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x4 Factorial in CRD ทำการทดลอง ณ สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การต่อกิ่งแบบฝานบวบเป็นวิธีการขยายพันธุ์อะโวกาโดที่ดีที่สุด ให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่งอะโวกาโดสูงสุด 66.67 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม ให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 41.67 เปอร์เซ็นต์ การต่อกิ่งแบบเสียบข้างและแบบเสียบเปลือกให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 16.67 และ 25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ชนิดของพันธุ์มีความแตกต่างกันทางสถิติต่อผลสำเร็จในการต่อกิ่ง พันธุ์ Fuerte ให้ผลสำเร็จสูงสุด ในการต่อกิ่ง 47.22 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์ Hass ให้ผลสำเร็จ รองลงมา 41.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อศึกษาอิทธิพลร่วมกันระหว่างวิธีการต่อกิ่งกับชนิดของพันธุ์อะโวกาโด พบความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง วิธีการต่อกิ่งแบบฝานบวบเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการต่อกิ่งแบบอื่นในอะโวกาโดทั้ง 4 พันธุ์คือ พันธุ์ Peterson, Fuerte, Booth7 และ Hass โดยมีผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 88.89, 77.78, 55.57 และ 44.44 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เก็บรวบรวมพันธุ์อะโวคาโด จากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดตาก ได้จำนวน 19 พันธุ์ จากมูลนิธิโครงการหลวง สถานีเกษตรหลวงปางดะ จำนวน 5 พันธุ์ คือ พันธุ์แฮส (อิสราเอล) พันธุ์แฮส (นิวซีแลนด์) พันธุ์เฟอร์เต้ พันธุ์พริ้งเคอร์ตัน และพันธุ์บัคคาเนีย และมูลนิธิโครงการหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์แฮส พันธุ์บูช8 พันธุ์บัคคาเนีย พันธุ์ลูล่า พันธุ์กัมปง พันธุ์โซเครท พันธุ์ฮอลล์ และจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์มูเซอ พันธุ์อะนาฮิม พันธุ์A75 พันธุ์A293 พันธุ์ดูค6 พันธุ์ดูค7 พันธุ์แฮส พันธุ์กัมปง พันธุ์อีทราย และรวบรวมข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ คือ รูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ขอบใบ แผ่นใบ ทรงผล โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรูปเล่มในหนังสือฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอะโวคาโดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต และการทดสอบการเปรียบเทียบการขยายพันธุ์อะโวกาโด 4 พันธุ์คือ พันธุ์ Peterson, Booth7, Fuerte และ Hass โดยวิธีการต่อกิ่ง 4 แบบ คือ แบบฝานบวบ, แบบเสียบลิ่ม, แบบเสียบข้าง และแบบเสียบเปลือก บนต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x4 Factorial in CRD ทำการทดลอง ณ สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การต่อกิ่งแบบฝานบวบเป็นวิธีการขยายพันธุ์อะโวกาโดที่ดีที่สุด ให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่งอะโวกาโดสูงสุด 66.67 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม ให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 41.67 เปอร์เซ็นต์ การต่อกิ่งแบบเสียบข้างและแบบเสียบเปลือกให้ผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 16.67 และ 25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ชนิดของพันธุ์มีความแตกต่างกันทางสถิติต่อผลสำเร็จในการต่อกิ่ง พันธุ์ Fuerte ให้ผลสำเร็จสูงสุด ในการต่อกิ่ง 47.22 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์ Hass ให้ผลสำเร็จ รองลงมา 41.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อศึกษาอิทธิพลร่วมกันระหว่างวิธีการต่อกิ่งกับชนิดของพันธุ์อะโวกาโด พบความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง วิธีการต่อกิ่งแบบฝานบวบเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการต่อกิ่งแบบอื่นในอะโวกาโดทั้ง 4 พันธุ์คือ พันธุ์ Peterson, Fuerte, Booth7 และ Hass โดยมีผลสำเร็จในการต่อกิ่ง 88.89, 77.78, 55.57 และ 44.44 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Germplasm surveying collection of avocado cultivars from Chiang mai and Tak Province total 19 cultivars from Royal Project Foundation, Royal Agricultural Station Pangda 5 cultivars is Hass (Israel) , Hass (New zealand), Fuerte, Pinkerton and Buccanaer. Royal Project Foundation, Tungroeng Royal Project Development Center 7 cultivars is Hass, Booth8, Buccanaer, Lula, Kampong, Choquette and Hall. Tak Agricultural Research and Development Center 7 cultivars is Muser, Anaheim, A75, A293, Duke6, Duke7, Hass, Kampong ans E-sand. The study could be continued to be completely as the basic information for researching aspect of avocado such as leaf shape,leaf apex, leaf base, leaf margin, leaf blade. The information of them was collected in the plant database of avocado book to be used for adjusting avocado cultivars and breeding utilization. Comparative propagation between 4 cultivars of avocado : Peterson, Booth7, Fuerte and Hass by 4 grafting methods : spliced, cleft, side and bark grafting on seedling stock . The experiment was conducted with 4x4 Factorial in CRD at Pakchong research station. Spliced grafting was the best for avocado propagation and showed maximum percentage of grafting 66.67%, followed by cleft grafting 41.67 %. Side grafting and bark grafting were 16.67 and 25 %, respectively. There was significant difference between cultivar affecting to the success of grafting. Fuerte revealed the maximum percentage of success in grafting 47.22% and Hass 41.67 %. It was found highly significantly different between grafting methods and 4 avocado cultivars. Spliced grafting showed the best result when compared to the other methods. The percentages of grafting were 88.89, 77.78, 55.57 and 44.44 % for Peterson, Fuerte, Booth 7 and Hass, respectively. Germplasm surveying collection of avocado cultivars from Chiang mai and Tak Province total 19 cultivars from Royal Project Foundation, Royal Agricultural Station Pangda 5 cultivars is Hass (Israel) , Hass (New zealand), Fuerte, Pinkerton and Buccanaer. Royal Project Foundation, Tungroeng Royal Project Development Center 7 cultivars is Hass, Booth8, Buccanaer, Lula, Kampong, Choquette and Hall. Tak Agricultural Research and Development Center 7 cultivars is Muser, Anaheim, A75, A293, Duke6, Duke7, Hass, Kampong ans E-sand. The study could be continued to be completely as the basic information for researching aspect of avocado such as leaf shape,leaf apex, leaf base, leaf margin, leaf blade. The information of them was collected in the plant database of avocado book to be used for adjusting avocado cultivars and breeding utilization. Comparative propagation between 4 cultivars of avocado : Peterson, Booth7, Fuerte and Hass by 4 grafting methods : spliced, cleft, side and bark grafting on seedling stock . The experiment was conducted with 4x4 Factorial in CRD at Pakchong research station. Spliced grafting was the best for avocado propagation and showed maximum percentage of grafting 66.67%, followed by cleft grafting 41.67 %. Side grafting and bark grafting were 16.67 and 25 %, respectively. There was significant difference between cultivar affecting to the success of grafting. Fuerte revealed the maximum percentage of success in grafting 47.22% and Hass 41.67 %. It was found highly significantly different between grafting methods and 4 avocado cultivars. Spliced grafting showed the best result when compared to the other methods. The percentages of grafting were 88.89, 77.78, 55.57 and 44.44 % for Peterson, Fuerte, Booth 7 and Hass, respectively.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2555
การสำรวจ รวบรวม และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของใบอะโวคาโด การสกัดน้ำมันอะโวคาโดและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลอะโวคาโด ประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดด้วยวิธีดับเบิ้ลแฮพลอยด์ ฝักต่อหลุมประยุกต์และบันทึกประวัติเพื่อพัฒนาสายพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม 2559A17002016 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป 2558A17002048 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การคัดเลือก ทดสอบ และส่งมอบพันธุ์กล้วยจากโครงการปรับปรุงพันธุ์นานาชาติสู่เกษตรกรไทย การพัฒนาพันธุ์ข้าวฟ่างหวานเพื่อพลังงาน (การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวานโดยการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม) การพัฒนาสายพันธุ์แท้ที่มีศักยภาพสำหรับเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรม ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม นวอัตลักษณ์กับ วว. : มะขาม น้ำพุร้อนเค็ม อะโวคาโด การหาเครื่องหมายพันธุกรรม (DNA marker) ของลักษณะที่ควบคุมปริมาณ antioxidants ในเม่าต่างสายพันธุ์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการปรับปรุงพันธุ์
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก