สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมหมาย เลิศนา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Strengthening farmers' adaptation to climate change in rainfed lowland rice system in northeastern
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมหมาย เลิศนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sommai Lertna
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการมีส่วนร่วมและประเมินความสามารถในการพึ่งตนเอง และการปรับตัวของกลุ่มเกษตรกรในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ศึกษากระบวนการเรียนรู้ การสร้างกลุ่มเครือข่าย และการขยายผลการเรียนรู้ของเกษตรกร เอกสารฉบับนี้เสนอผลการดำเนินงานในปี 2556 ในพื้นที่เป้าหมายเช่นเดียวกับปี 2555 จำนวน 16 แห่ง จากผลการดำเนินงานปี 2555 พบว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมีผลให้ ทำให้เกิดความแปรปรวนของฝนในต้นฤดูปลูก ยากต่อการกำหนดแผนการปลูกของเกษตรกร ดังนั้นการดำเนินงานในฤดูปี 2556 จึงเน้นการไขปัญหาการกำหนดวันปลูก โดยการใช้รูปแบบจำลองในการประเมิน 2 ขั้นตอนคือ 1 การประเมินฤดูปลูก ประกอบด้วย วันเริ่มต้นและสิ้นสุดฤดูปลูก 2. การประเมิน วันปลูกที่เหมาะสม ภายในระยะวลาของฤดูปลูก โดยใช้ข้อมูลการพยากรณ์การตกของฝน ในปี 2556 กำหนดวันปลูก 3 คือ วันที่เหมาะสม และ 7 วันก่อนและหลัง วันที่เหมาะสมจากแบบจำลอง ใช้พันธุ์ข้าว 2 กลุ่ม คือ ไวต่อช่วงแสงและไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 6 พันธุ์ ปลูกในสภาพนา 3 ระดับคือ นาดอน นากึ่งลุ่มกึ่งดอน (ระดับปานกลาง) และนาลุ่ม และมีการสุ่มเก็บผลผลิตจากแปลงเกษตรกรข้างเคียง สถานะการณ์ของฝนในปี 2556 แสดงให้เห็นว่า ในต้นฤดูปลูกมีความแปรปรวน แต่ปลายฤดูปลูกมีความแปรปรวนน้อยกว่า การทิ้งช่วงของฝนระหว่างฤดูปลูก พบในบางพื้นที่ ผลผลิตข้าวในแปลงทดลองในฤดูนาปี 2556 ทั้ง 3 สภาพ คือ นาดอน นากึ่งลุ่มกึ่งดอน และนาดอน กลุ่มพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจาก กลุ่มพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง มีวันออกดอกและเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับรูปแบบการตกของฝนและความยืดหยุ่นต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่า การปลูกล่าจะทำให้ผลผลิตลดลง แต่สามารถออกดอกในช่วงที่ยังมีน้ำในนาเพียงพอ สำหรับข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง การปลูกล่า วันออกดอกและเก็บเกียวบางพื้นที่อาจจะขาดน้ำได้ ช่วงระยะเวลาปลูกที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เหมะสม ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดในสภาพนาดอน และนากึ่งลุ่มกึ่งดอน ช่วงระยะเวลาปลูกที่ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด ในสภาพนาลุ่ม เนื่องจากดินมีความชื้น บางแห่งมีน้ำขังในแปลงนาสามารถปักดำได้ แต่ในช่วงระยะเวลาปลูกที่ 3 ผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุดทั้ง 3 สภาพ เนื่องจากมีฝนตกและมีน้ำขังในแปลงนาหลังหว่านข้าวแห้งทำให้ข้าวไม่งอก บางแห่งน้ำท่วมหลังปักดำ ปัญหาในทางการเกษตรและสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบในการผลิตข้าว คือ สภาพฝนแล้งทิ้งช่วงต้นฤดู บางแห่งแล้งปลายฤดูในช่วงที่ข้าวกำลังออกดอก การปรับตัวของเกษตรกรที่พบ คือ นาดอนเปลี่ยนจากข้าวเป็นอ้อย หรือข้าวเป็นมันสำปะหลัง จากสถานะการณ์แล้งในปี 2555 เหตุผล อ้อยและมันสำปะหลัง ทนแล้งดีกว่าข้าวหรือต้องการน้ำน้อยกว่า อ้อยและมันสำปะหลังราคาดีกว่า การที่จะเลือกอ้อยหรือมันสำปะหลัง ของแต่ละพื้นที่ขึ้นกับสถานที่รับซื้อ ความคาดหมายของเกษตกรในการเปลี่ยนพืช ยังไม่ทราบแน่ว่าจะได้ผลอย่างไร เห็นของเพื่อนบ้านได้ผลดีจึงลอง แต่ทีพบในบางพื้นที่ อ้อยที่งอกแล้วเริ่มตายเนื่องจากแล้ง การเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเพื่อแก้ไขปัญหาพบว่ามีน้อย เนื่องจากวัตถุประสงค์การผลิตข้าวเปลี่ยนจากบริโภค เหลือแล้วขาย เป็นการผลิตเพื่อขายมากขึ้น ดังนั้นการเลือกพันธุ์จึงเน้นที่ราคาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการปรับตัวและแนวคิดของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างกัน ทางโครงการจึงจะจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างเกษตกรของ 16 พิ้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์และการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกรในเร็วๆนี้
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this project were to evaluate situation of climate change and its impact on rainfed lowland rice production in Northeastern region, farmers’ adaptation, their selfsubsistance and learning process in order to develop sustainable production system, farmer group network and dissemination process among the network. This present paper reported the progress results for year 2013 wet season which conducted at 16 sites. Results from wet season 2012 showed that there was severe variation of rainfalling in early season which caused unpredictable start of growing season. This leaded to delayed in planting, particularly transplanting which found to be from July to September. Thus, our work on wet season 2013 emphasised on predicting of optimum planting date and type of rice varities sutable for unpredictable climating conditions. Beginning and end of growing season and also optimum planting date for each study sited were estimated by similation model. Predicted rainfall for year 2013 was used as input data. Treatments included 3 planting date, optimum and 1 week before and after optimum date, 3 paddy positions, upper middle and lower. At each paddy position and planting date, 6 rice variaties which separated to be 3 photoperiod sensitivity and 3 photoperiod insensitivity varieties. Rice crop under farmer management around experimental site were harvested at maturity for evaluating of grain yield.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328707
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในระบบการผลิต ข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปรับตัวของเกษตรกรในการผลิตข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ผลกระทบด้านการผลิตข้าวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวของเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรรับรู้ในเขตโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มนำ้มัน กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี การปรับตัวของระบบการผลิตยางพาราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก