สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร
ภานุเดช สุโกมล - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่อง (EN): Some Biological Aspects of Walking Catfish, Clarias batrachus(Linneaus, 1758) in Pichit Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภานุเดช สุโกมล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้าน Clarias batrachus (Linnaeus, 1758) ในจังหวัดพิจิตร มีวัดถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุกรมวิธาน แหล่งที่อยู่อาศัย อาหารและนิสัยการกินอาหาร ความแตกต่างระหว่างเพศ ฤดูวางไข่ ความตกไข่ โดยรวบรวมตัวอย่างปลาดุกด้าน ด้วยเครื่องมือลอบ อวนลากและรับซื้อจากชาวประมง ได้ดำเนินการในรอบปีระหว่างเดือนตุลาคม 2544 ถึงกันยายน 2545 ผลจากการศึกษาตัวอย่างปลาที่รวบรวมได้จำนวน 376 ตัวอย่าง เป็นปลาเพศผู้ 187 ตัว และปลาเพศเมีย 189 ตัว มีน้ำหนักระหว่าง 32.0-168.0 กรัม มีน้ำหนักเฉลี่ย 65.3±19.6 กรัม ความยาวระหว่าง 16.2-21.8 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 21.3±2.2 เซนดิเมตร ลักษณะที่สำคัญ คือลำตัวมีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างกระดูกท้ายทอยแหลม มีความยาวมาตรฐานเท่ากับ 6.0-7.5 เท่าของความลึกลำตัว มีอัตราส่วนความยาวลำตัวต่อความยาวลำไส้เท่ากับ 1:0.7 ชนิดอาหารที่พบในกระเพาะอาหารของปลาดุกด้าน ประกอบด้วย ตัวอ่อนแมลง 39.79 เปอร์เซ็นต์ ลูกกุ้งลูกปู 35.58 เปอร์เซ็นต์ หนอนตัวกลม 14.76 เปอร์เซ็นต์ และซากเน่าเปื่อย 9.60 เปอร์เซ็นต์ จึงจัดปลาดุกด้านเป็นประเภทปลากินเนื้อ (camivore) เป็นอาหาร สมการความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและความยาวตัวปลาไม่แยกเพศ เพศผู้และเพศเมียคือ W = 0.0468 L^2.3568.(R^2 - 0.7538, n= 376, p<0.05), W= 0.0351 L^2.474(R^2 = 0.8076, n= 187, p<0.05) และ W = 0.0608 L^2.242 (R^2 = 0.7066, n = 189,p<0.05) ตามลำดับสัดส่วนเพศระหว่างปลาเพศผู้กับปลาเพศเมีย เท่ากับ 1:1.01 ฤดูวางไข่อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ไข่มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองปนน้ำตาล เป็นไข่ประเภทจมติดกับวัสดุ มีปริมาณความตกไข่เฉลี่ย 9,912±1,863 ฟอง แม่ปลามีน้ำหนักและความยาวเฉลี่ย 61.1±12.2 กรัม และ 23.9±1.3 เซนติเมตร ส่วนด้านสมการความสัมพันธ์ระหว่างความตกไข่ต่อน้ำหนักและความยาว คือ F=39.2250W^1.215(R^2=0.9204, n=30, p<0.05) และ F=0.2019L^3.2438(R^2=0.8189,n=30, p<0.05) โดยปริมาณ ความตกไข่มีความผันแปรต่อน้ำหนักของแม่ปลามากกว่าความยาว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=164
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน การแพร่กระจายและชีววิทยาบางประการของปลาสกุล Homaloptera ในจังหวัดจันทบุรี การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus(Herre, 1927) ในที่กักขัง 2558A17002017 การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน องค์ประกอบของชนิด และชีววิทยาบางประการของพรรณปลาในแม่น้ำจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา ชนิดอาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาดุกด้าน การศึกษาเบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการและการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา ชลชีววิทยาบางประการและทรัพยากรประมงในแม่น้ำสายบุรี ชลชีววิทยาบางประการและทรัพยากรประมงในแม่น้ำปัตตานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก