สืบค้นงานวิจัย
การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกในปลานิล (Flavobacterium columnarae) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโรค
ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล, ชนกันต์ จิตมนัส - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกในปลานิล (Flavobacterium columnarae) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโรค
ชื่อเรื่อง (EN): The selection of bacterial pathogen causing gill disease (Flavobacterium columnarae) in Tilapia (Oreochromis niloticus) for vaccine development
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแยกเชื้อแบคทีเรีย Flavobacterium columnare และเพิ่มจานวนให้มีปริมาณพอที่จะพัฒนาเป็นวัคซีน โดยทาการแยกเชื้อแบคทีเรีย F. columnare จากปลานิลที่เป็นโรคจากแหล่งเลี้ยงต่าง ๆ แล้วศึกษาผลของ pH (6.0, 6.2, 6.4, 6.6, 6.8 และ 7.0) และอุณหภูมิ (4 ๐C, 25 ๐C และ 37 ๐C) ต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย F. columnare ในอาหาร Shieh medium (SB) เปรียบเทียบ Modified Ordal’s Broth (MOB) อีก 3 สูตร คือ MOB1, MOB2 และ MOB3 พบว่า ปริมาณการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย F. columnare ดีที่สุดในอาหารเหลว MOB1 รองลงมาคือ MOB2, MOB3 และ SB ตามลาดับ ที่ระดับ pH 6.0 มีความเหมาะสมมากที่สุด และอุณหภูมิที่เหมาะสมมากที่สุด คือ 25 ๐C รองลงมาคือ 37 ๐C และ 4 ๐C ตามลาดับ จากนั้นจึงเลือกอาหารและสภาวะการเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุด มาคัดแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น ด้วยยาปฏิชีวนะ Tobramycin โดยเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย F. columnare ในอาหารเหลว MOB1 pH 6.0 ที่อุณหภูมิ 25 ๐C ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ Tobramycin ความเข้มข้นต่างกัน 4 ระดับ คือ 0 mg/ml, 0.4 mg/ml, 0.04 mg/ml และ 0.004 mg/ml พบว่าความเข้มข้นของ Tobramycin 0.4 mg/ml มีความเหมาะสมมากที่สุดในการคัดแยกเชื้อบริสุทธิ์ F. columnare รองลงมาคือ ความเข้มข้น 0.04 mg/ml, 0.004 mg/ml และ 0 mg/ml ตามลาดับ อย่างไรก็ตามหากใส่ยาปฏิชีวนะในอาหารเพาะเชื้อความเข้มข้นสูงเกินไป อาจจะทาให้เชื้อ F. columnare นั้นตายจนหมด แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่น้อยเกินไปก็จะทาให้เชื้อแบคทีเรียไม่บริสุทธิ์หลังจากได้มีการเพิ่มจานวนของเชื้อแบคทีเรีย F. columnare ในห้องปฏิบัติการเพียงพอสาหรับผลิตวัคซีนเชื้อตายโดยการฆ่าเชื้อด้วยฟอร์มาลิน 1% จึงได้ฉีดวัคซีนเข้าช่องท้องปลานิล 3 ระดับความเข้มข้น คือ 1.79 X 108, 2.36 X 109 และ 3.57 X 109 CFU/ml เปรียบเทียบกับปลาที่ไม่ได้รับวัคซีน (non-vaccine) หลังจากปลาได้รับวัคซีนนาน 14 วัน จะทดสอบความคุ้มโรคได้ฉีดเชื้อแบคทีเรีย F. columnare ที่มีความรุนแรงตัวละ 1 ? 107 CFU/ml เข้าช่องท้อง พบว่า อัตราการตายสะสมของปลาที่ได้รับวัคซีน 2.36 X 109 และ 3.57 X 109 CFU/ml ลดลง อย่างไรก็ตามปลานิลที่ได้รับวัคซีน 1.79 X 108 CFU/ml ยังมีอัตราการตายที่สูงกว่าปลาที่ไม่ได้รับวัคซีน แสดงว่า วัคซีนเชื้อตายที่ได้จัดเตรียมครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะช่วยป้องกันโรค แต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของปริมาณของวัคซีนที่เหมาะสมที่จะฉีดให้ปลาแต่ละตัว รวมทั้งเพิ่มระยะเวลาในการทดสอบความสามารถในการคุ้มโรคหรือต้านทานโรคที่ยาวขึ้น คาสาคัญ: ปลานิล Flavobacterium columnare โรคตัวด่าง อาหารเพาะเชื้อแบคทีเรีย วัคซีน
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to identify and isolate Flavobacterium columnare from diseased tilapia as well as increase it for vaccine development. The effects of pH (6.0, 6.2, 6.4, 6.6, 6.8, and 7.0) and temperature (4 ๐C, 25 ๐C, and 37 ๐C) on the growth of bacteria Flavobacterium columnare cultured in Shieh medium (SB) and three Modified Ordal’s Broth (MOB) including MOB1, MOB2, and MOB3 were investigated. It was found that the growth of bacteria Flavobacterium colunare in MOB1 was higher than MOB2, MOB3, and SB, respectively. The optimum conditions of this bacteria growth were pH 6.0 and temperature 25 ๐C. Then, the suitable media and culture condition was selected for further purification study by using Tobramycin antibiotic. F. columnare bacteria were cultured in MOB1, pH 6.0 at 25 ๐C with four Tobramycin concentrations, 0 mg/ml, 0.4 mg/ml, 0.04 mg/ml and 0.004 mg/ml. Result showed the purity of this bacteria in 0.4 mg/ml tobramycin supplemented was higher than ones supplemented with 0.04 mg/ml, 0.004 mg/ml, and 0 mg/ml, respectively. However, too high antibiotic might kill F. columnare, while not enough antibiotic is not possibly able to purify these bacteria. After the increase F. columnare amount in the laboratory to obtain sufficient quantities for vaccine trials, a killed vaccine was produced by 1% formalin. Then, tilapia were intraperitoneally injected with 1.79 X 108, 2.36 X 109, and 3.57 X 109 CFU/ml compared with a non-vaccine group. At 14 days post vaccination, fish were challenged with 1 ? 107 CFU/ml virulent F. columnare. Results demonstrated accumulative mortalities was reduced in tilapia injected with 2.36 X 109 and 3.57 X 109 CFU/ml. However, fish received 1.79 X 108 CFU/ml still could not well protect them from a lethal challenge. In conclusion, this vaccine trended to induce some protection against F. columnare but the further study about optimum dosage and reasonable time for prevention. Keywords: tilapia, Flavobacterium columnare, columnaris disease, bacteria culture media, vaccine
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกในปลานิล (Flavobacterium columnarae) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโรค
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การศึกษาประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันผสมในวัคซีนป้องกันโรค สเตร็ปโตค็อคโคซิสในปลานิล การรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วยฟาจ การศึกษายีนควบคุมความรุนแรงของแบคทีเรียก่อโรคชนิด Streptococcus agalactiae ที่แยกจากฟาร์มเลี้ยงปลานิล การพัฒนาวัคซีนจำเพาะต่อโรค Streptococcosis ในปลานิลด้วยเทคนิค Reverse vaccinology การย่อยได้แบบ in vitro ของซังข้าวโพดด้วยเอนไซม์จากทางเดินอาหารของปลานิลและเอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา Trichoderma viride การพัฒนาชุดตรวจแลมป์นาโนโกลด์สำเร็จรูปเพื่อการตรวจหาเชื้อ Tilapia Lake Virus ที่ก่อโรคในปลานิลและปลานิลแดง ประสิทธิภาพของเครื่องหมาย Visible Implant Elastomer ในปลานิลและปลานิลแดงคัดพันธุ์และปลานิลแดงคัดพันธุ์ การระบาดของโรคสเตปโตคอคโคซิสในปลานิล การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน การศีกษาประสิทธิภาพวัคซีนชนิดกินเคลือบสารเพื่อป้องกันโรคสเตรปโตคอคโคซีสในปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก