สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี
อาณัติ วัฒนสิทธิ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี
ชื่อเรื่อง (EN): A Comparisom on the Efficency of Three Selection Methods in Mungbean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาณัติ วัฒนสิทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anat Watanasit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และจรัสพร ถาวรสุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Peerasak Srinives and Charaspon Thavarasook
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี คือ วิธีทดสอลในชั่วต้น (early generation testing) วิธีบันทึกประวัติ (pedigree) และวิธีเก็บหนึ่งเมล็ดต่อต้น (single seed descent) โดยเริ่มต้นจากคู่ผสมของถั่วเขียวชั่วที่ 3 จำนวน 79 คู่ผสม แล้วคัดคู่ที่ต้านทานต่อการหักล้ม โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคราแป้งไว้ 30 คู่ผสม นำมาปลูกและคัดเลือกตามข้อกำหนดของแต่ละวิธีการคัดเหลือในชั่วที่ 4 และ 5 แล้วนำสายพันธุ์ชั่วที่ 6 ที่คัดเลือกไว้วิธีละ 102 สายพันธุ์ รวมทั้งหมดเป็น 306 สายพันธุ์ ไปปลูกเปรียบเทียบกัน ในแต่ละวิธีการคัดเลือก คัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และขนาดใหญ่มา 20 สายพันธุ์ รวม 60 สายพันธุ์ แล้วนำไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ตรวจสอบในชั่วที่ 7 และ 8 ผลการทดลองปรากฎว่า ในลักษณะผลผลิต และคะแนนความต้านทานการหักล้ม การใช้วิธีเก็บหนึ่งเมล็ดต่อต้น ทำให้ได้สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ดีกว่าการใช้วิธีทดสอบในชั่วต้น และวิธีบันทึกประวัติ การใช้วิธีทดสอบในชั่วต้นได้ผลดีเมื่อใช้คัดเลือกสายพันธุ์ให้มีขนาดเมล็ดใหญ่ อนึ่ง วิธีเก็บหนึ่งเมล็ดต่อต้นใช้พื้นที่ เวลา และแรงงานในการปลูกและคัดเลือกน้อยกว่าวิธีบันทึกประวัติและวิธีทดสอบในชั่วต้น ดังนั้น ในการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันนี้ วิธีเก็บหนึ่งเมล็ดต่อต้นจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
บทคัดย่อ (EN): A study was undertaken to compare the efficiency of three breeding methods generally employed in self-pollinated crops. The methods were Early Generation Tsting (EGT), Pedigree (PDG) and Single Seed Descent (SSD). Thirty F3 mungbean crosses were selected from 79 F2 crosses based on lodging resistance and resistance to Cercospora leaf spot and powdery mildew diseases. Selection in the F4 and F5 generation was according to the basic procedures for each method, resulting in 102 selected F6 lines from each method. The 306 selected lines were yield-tested and 20 lines from each method chosen based on higher yield and large seed size. Yield-test were performed again in the F7 and F8 generations. The results revealed that in relation to yield and lodging resistance, more superior lines were derived from the SSD than the EGT and PDG methods. The EGT method, on the other hand, gave a better response to selection for seed size. The SSD method also requires less area, time and labour when compared with the EGT and PDG method. It is concluded that the best selection method for mungbean under environments similar to Thailand is the SSD method.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2531
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี
กรมวิชาการเกษตร
2531
เอกสารแนบ 1
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam การคัดเลือกถั่วเขียวแบบต้นต่อแถว 2 สายพันธุ์ การผลิตขยายเมล็ดถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำจากลักษณะภายนอกแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอล โครงการการผลิตขยายเมล็ดถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น 2014 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก) การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว (Vigna radiata L.) เพื่อเพิ่มผลผลิต ระยะที่ 2 การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB12 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก) การประดิษฐ์กระดานนับ 100 เมล็ดสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวและสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองและถั่วเขียว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก