สืบค้นงานวิจัย
ผลของชนิดและอายุของพืชอาหารสัตว์ต่อประสิทธิภาพการหมักของพืชอาหารสัตว์หมัก
ศศินิษฐา ถนอมวงศ์วัฒนะ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชื่อเรื่อง: ผลของชนิดและอายุของพืชอาหารสัตว์ต่อประสิทธิภาพการหมักของพืชอาหารสัตว์หมัก
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Species and Ages of Forage Crop on Efficiency of Silage Fermentation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศศินิษฐา ถนอมวงศ์วัฒนะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของชนิดและอายุของพืชอาหารสัตว์ต่อคุณภาพของไซเลจ โดยแบ่งการทคลองออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาผลของชนิดและอายุการเก็บเกี่ยวของพืชอาหารสัตว์ต่อค่บ่งชี้ด้านศักยภาพการ หมักไซเลจ โคยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ที่จัดทรีตเมนท์แบบแฟคทอเรียล (Factorial) มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ชนิดของพืชอาหารสัตว์ มี 3 ชนิด คือ หญ้าเนเปียร์ หญ้ากินนี และหญ้าขน ปัจจัยที่ 2 อายุการเก็บเกี่ยวของพืชอาหารสัตว์ มี 3 ระยะ คือ อายุ 65, 80 และ 95 วัน ผลการทคลองพบว่า ชนิดของพืช อาหารสัตว์มีผลทำให้ปริมาณวัตถุแห้ง สัดส่วนของใบต่อลำต้น ปริมาณน้ำตาลรีคิวซ์และค่าพี่เอชแตกต่าง กัน (P0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า พืชอาหารสัตว์ที่อายุการเก็บเกี่ยว 95 วัน มีปริมาณ เอนเทอโรแบกที่เรียสูงกว่าที่อายุอื่นๆ สำหรับอิทธิพลร่วมระหว่างชนิดของพืชอาหารสัตว์และอายุการเก็บ เกี่ยวพบว่า มีผลต่อปริมาณวัตถุแห้ง ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และค่าบัพเฟอร์ริ่งคาพาซิตี้ชัดเจน (P<0.05) แต่ ไม่มีผลต่อปริมาณแบคที่เรียกรดแลคติก ค่าพีเอช ปริมาณเอนเทอโรแบคทีเรียและสัดส่วนใบต่อลำต้น ตอนที่ 2 เป็นการพิจารณาเลือกพืชอาหารสัตว์ ที่มีศักยภาพทางการหมักสูงและต่ำในการทคลองที่ 1 มาศึกษาถึงผล ต่อค่าบ่งชี้ทางการหมักไซเลจ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ที่จัดทรีตเมนท์แบบแฟคทอเรียล มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดของพืชอาหารสัตว์ มี 3 ชนิดคือ หญ้าเนเปียร์ หญ้ากินนีและหญ้าขน ปัจจัยที่ 2 เป็นค่าบ่งชี้ ทางค้านศักยภาพทางกรหมัก แบ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพทางการหมักสูงและมีศักยภาพทางการหมักต่ำ และ ปัจจัยที่ 3 เป็นวิธีการหมัก คือ หมักแบบปกติและหมักด้วยกากน้ำตาลร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ ผลการทดลอง พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับชนิดของพืชอาหารสัตว์มีผลต่อปริมาณวัตถุแห้ง ค่าพีเอช ค่าบัพเฟอร์รั่งคาพาซิตี้และ ปริมาณแบคที่เรียกรดแลติกอย่างชัดเจน (P<0.05) โดยไซเลจจากหญ้ากินนีมีปริมาณวัตถุแห้งและค่าพืเอช สูงที่สุด ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลรีคิวซ์ของหญ้ากินนีสูงกว่าหญ้าขนอย่างชัดเจน (P<0.05) แต่ในหญ้ากินนีมี ค่าบัพเฟอร์ริ่งคาพาซิตี้ และปริมาณแบคที่เรียกรดแลติกต่ำกว่าหญ้าเนเปียร์และหญ้าขน(P<0.05) นอกจากนี้ ชนิดของพืชอาหารสัตว์ไม่มีผลต่อปริมาณเอนเทอโรแบคทีเรีย ด้านศักยภาพทางการหมักพบว่ามีผลต่อ ปริมาณ วัตถุแห้ง ค่าบัพเฟอร์ริ่งคาพาซิตี้ และปริมาณแบคที่เรียกรดแลคติกอย่างชัดเจน (P<0.05)โดยพืช อาหารสัตว์ที่มีศักยภาพทางการหมักสูงมีปริมาณวัตถุแห้งและ ปริมาณแบคที่เรียกรดแลคติกสูงกว่าพืชที่มี ศักยภาพทางการหมักต่ำ ในขณะที่พืชที่มีศักยภาพทางการหมักต่ำมีค่าบัพเฟอร์รึ่งคาพาซิตี้สูงกว่าพืชที่มี ศักยภาพทางการหมักสูง นอกจากนี้ยังพบว่าศักยภาพทางการหมักไม่มีผลต่อค่าพี่เอชปริมาณเอนเทอโร แบคที่เรีย และปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ส่วนวิธีการหมักที่แตกต่างกันปรากฎว่ามีผลต่อค่าพี่เอช ค่าบัพเฟอร์รึ่ง คาพาซิตี้ ปริมาณแบคที่เรียกรดแลติก ปริมาณเอนเทอโรแบคที่เรีย และปริมาณน้ำตาสรีดิวซ์อย่างชัดเจน (P<0.05) โดยกลุ่มที่หมักด้วยกากน้ำตาลร่วมกับหัวเชื้อมีค่าพืเอช ปริมาณแบค ทีเรียกรดแลติก และปริมาณ เอนเทอโรแบคที่เรียต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าบัพเฟอร์รึ่งคาพาซิตี้ และปริมาณน้ำตาล รีดิวซ์ต่ำกว่ากจุ่มที่หมักด้วขกากน้ำตาลร่วมกับหัวเชื้อ อีกทั้งวิธีการหมักขังพบว่าไม่มีผลต่อปริมาณวัตถุแห้ง สำหรับในการทดลองครั้งนี้ตรวจไม่พบเชื้อคลอสตริเดียมที่ความเข้มข้น 10* cfu ต่อกรัมของพืชหมัก
บทคัดย่อ (EN): The study examined types and ages of forages on efficiency of silage. Two experiments were designed. Experiment 1 investigated effects of types and harvesting ages of forages on fermentation potential indicators. The complete randomized design with factorial was applied. Two factors were selected: (1) three types of forages including Napier grass, Guinea grass, and Brachiaria mutica, and (2) three phases of harvesting including 65, 80, and 95 days old. The result showed that types of forages had significant influences on the amount of dry matter, ratios of leaves to stem, the amount of reduced sugar, and pH (P0.05). In addition, 95-year-old forages had a larger number of enterobacteria than any other ages. For the synergic eflects, types of forages and harvesting ages markedly influenced the amount of dry matter, reduced sugar, and buffering capacity (P<0.05), but not on the number of lactic acid bacteria, enterobacteria, pH, and ratios of leaves to stem. Experiment 2 focused on effects on silage fermentation indicators. Forages with high and low fermentation potential in experiment 1 were selected. The experiment was the randomized complete block design with 3 factorials, i.c. (1) three types of forages including Napier grass, Guinnea, and Brachiaria mutica, (2) fermentation potential indicators which were divided into high and low potential forages, and (3) two fermentation methods including conventional method, and combination of molasses and inoculation. Types of forages considerably affected the amount of dry matter, pH, buffering capacity, and the number of lactic acid bacteria (P<0.05). Silage made from Guinea grass showed the highest amount of dry matter and pH, while the amount of reduced sugar in Guinea grass was significantly higher than in Brachiaria mutica (P<0.05). Buffering capacity and the number of lactic acid bacteria in Guinea grass was lower than in Napier grass and Brachiaria mutica (P<0.05). Moreover, types of forages had no ciffect on the number of enterobacteria. In view of fermentation potential, this factor played a significant role on the amount of dry matter, buffering capacity, and the number of lactic acid bacteria (P<0.05). Forages with lower fermentation potential showed buffering capacity higher than those with higher fermentation potential. In addition, fermentation potential had no influence on pH, the number of enterobacteria, and the amount of reduced sugar. However, the fermentation methods were important factors affecting pH, buffering capacity, the number of lactic acid bacteria, the number of lactic acid bacteria and enterobacteria, and the amount of reduced sugar (P<0.05). Forages fermented with the combination of molasses and inoculation showed lower pH, and the smaller number of lactic acid bacteria and enterobacteria than the control. However, the control had lower buffering capacity, and a smaller amount of reduced sugar than those fermented with the combination of molasses and inoculation. Morcover, the fermentation methods had no effect on the amount of dry matter. In this study, no clostridium was detected at the concentration of 102 cfu /gram silage.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของชนิดและอายุของพืชอาหารสัตว์ต่อประสิทธิภาพการหมักของพืชอาหารสัตว์หมัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
30 กันยายน 2551
ผลของหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์หมักเสริมด้วยแบคทีเรียกรดแลคติคที่มีในน้ำพืชหมัก ต่อปริมาณการกินได้ และผลผลิตน้ำนม ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์โดยการหมักของเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม โครงการจัดการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน ผลของการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระและชนิดของพืชอาหารสัตว์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซากและคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำ ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธ์ในประเทศไทย สัตว์กับสิทธิ: ทฤษฎีการเมืองว่าด้วยการปลดปล่อยสัตว์ ออกแบบและประเมินผลเครื่องผสมอาหารสัตว์แนวตั้ง ผลของระยะและชนิดพืชอาหารต่ออายุตัวเต็มวัยของแมลงทับขาแดง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก