สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันตก
ณรงค์ศักดิ์ โพธิ์ไพฑูรย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันตก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรงค์ศักดิ์ โพธิ์ไพฑูรย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ (2) ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการทำงานวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรใน 60 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ ในเขตที่ 2 จำนวน 120 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows โดยใช้สถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ เป็นเพศชาย ร้อยละ 71 เพศหญิง ร้อยละ 29 มีอายุเฉลี่ย 45 ปี มีอายุราชการเฉลี่ย 20 ปี ส่วนมากเป็นข้าราชการระดับ 5 ร้อยละ 85 โดยอยู่ในระดับปัจจุบันนานเฉลี่ย 9 ปี ได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 18,683.25 บาท สถานภาพสมรส ร้อยละ 88.33 ส่วนมากมีบุตร 2 คน จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 98 เรียนสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 56 ส่วนมากไม่มีประสบการณ์การทำวิจัย ร้อยละ 82 ได้รับความรู้ในการวิจัยจากการฝึกอบรม จากสถานศึกษา และ ศึกษาด้วยตนเอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในเขตที่ 2 มีความต้องการความรู้ทางการวิจัย ในระดับมาก ทั้ง 10 ด้านคือ ด้านการกำหนดปัญหาการวิจัย ด้านประเภทของการวิจัย ด้านการออกแบบการวิจัย ด้านเทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ด้านการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ ด้านเทคนิคการรวบรวมข้อมูล ด้านสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการแปลความหมายข้อมูล และด้านการเขียนรายงานวิจัย การเผยแพร่และการนำผลการวิจัยไปใช้ เรื่องที่มีความต้องการระดับมากที่สุด มี 4 เรื่อง คือ วิธีการทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ แหล่งค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรคในการทำงานวิจัยที่สำคัญ ได้แก่เรื่อง ขาดความรู้เรื่องการวิจัย ไม่มีเวลาทำงานวิจัย ไม่มีทุนสนับสนุนการทำงานวิจัย แหล่งข้อมูลมีน้อย ไม่มีที่ปรึกษาการทำวิจัย มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาก การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูล และ ขาดความก้าวหน้า ขวัญและกำลังใจ สำหรับข้อเสนอแนะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรให้มีการอบรมความรู้เรื่องการวิจัย ควรเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ ให้มีเงินทุนสนับสนุน ให้มีที่ปรึกษาการทำวิจัย ควรทำวิจัยเพื่อพัฒนาในพื้นที่และหน่วยงาน ควรมีการวิจัยเป็นคณะ ควรปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ปรับระดับให้สูงขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันตก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ความต้องการฝึกอบรมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก ความรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอต่อวิสาหกิจชุมชน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตที่ 2 (ภาคตะวันตก) ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2545

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก