สืบค้นงานวิจัย
การขนส่งลองกองเพื่อการส่งออกในระดับการค้าไปประเทศจีนโดยทางเรือ
ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การขนส่งลองกองเพื่อการส่งออกในระดับการค้าไปประเทศจีนโดยทางเรือ
ชื่อเรื่อง (EN): Longkong Shipment for Commercial Export to China by Sea
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช
บทคัดย่อ:

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การขนส่งลองกองเพื่อการส่งออกในระดับการค้าไปประเทศจีนโดยทางเรือ” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ<-span>ให้ได้วิธีการขนส่งลองกองทางเรือไปประเทศจีน โดยที่ผลลองกองยังมีคุณภาพดี มีผลร่วงไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงปลายทาง<-span><-o-p><-span><-p>

ลองกองเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย แม้ว่าลองกองเป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต แต่ยังคงมีข้อจำกัดในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ  เนื่องจากการหลุดร่วง เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและการเน่าเสีย อายุการเก็บรักษาและการวางจำหน่ายสั้นเพียง 4-7 วัน ซึ่งการหลุดร่วงของผลจากช่อลองกองหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากหลายปัจจัยได้แก่ อุณหภูมิ การเข้าทำลายของจุลินทรีย์ การได้รับเอทิลีนจากภายนอก ตลอดจนอายุการเก็บเกี่ยวของลองกอง แต่ปัจจัยหลักคือ เอทิลีนที่ลองกองผลิตขึ้นเองหรือได้รับจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการหลุดร่วง และการเข้าทำลายด้วยเชื้อรา ส่งผลให้ลองกองหลุดร่วงมากขึ้น ส่วนการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือกเกิดจากการสูญเสียน้ำเป็นหลัก และมีเอทิลีนเป็นปัจจัยร่วมสำหรับการเน่าเสียเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด <-span>ดังนั้น หากสามารถควบคุมให้ปริมาณเชื้อราบนผลมีน้อยลงและควบคุมไม่ให้เชื้อราที่หลงเหลืออยู่บนผลสามารถเจริญเติบโตได้ ก็จะรักษาผลลองกองให้มีสภาพดี จากการทดสอบใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดต่างๆ ในการควบคุมเชื้อราบนผลลองกอง พบว่า สารกำจัดเชื้อราที่ใช้ได้ผลได้แก่ <-span>Prochloraz และ <-span>Cabendazim นอกจากนั้น สารละลาย <-span>CaCl2<-span> ช่วยทำให้ขั้วผลแข็งแรงขึ้นและลดการหลุดร่วง ส่วนสารละลาย <-span><-span>NAA ช่วยลดการผลิตเอทิลีนของผลลองกองและลดการหลุดร่วงได้ <-span><-span>การทดลองระดับกึ่งการค้ายังพบว่าการบรรจุลองกองลงตะกร้า หากช่อมีขนาดใหญ่จะบรรจุได้ยากและได้น้ำหนักต่อตะกร้าต่ำ จึงควรใช้ช่อที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 500 กรัม เพื่อความสะดวกในการบรรจุ และเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและกำจัดแมลงที่อาจหลบซ่อนอยู่ภายในช่อ  หากมีช่อขนาดใหญ่ควรตัดแบ่งช่อให้เล็กลง เพื่อตรวจสอบและกำจัดแมลงภายในช่อก่อนการบรรจุ สำหรับการบรรจุควรใช้กระดาษปรูฟกรุตะกร้าลองกอง จำนวน 3 ชั้น และการเพิ่มความชื้นโดยการใช้ผ้าเปียกปิดทับก่อนปิดกระดาษและปิดฝาตะกร้า ช่วยให้ลองกองดูสดขึ้น นอกจากนั้นระหว่างการขนส่งทางเรือจำเป็นต้องกำจัดเอทิลีนที่ลองกองสร้างขึ้น ซึ่งทำได้ด้วยการระบายอากาศ และพบว่าการระบายอากาศที่ระดับ 1 ปริมาตรห้องหรือตู้คอนเทนเนอร์ต่อชั่วโมง เพียงพอที่จะลดการสะสมเอทิลีนให้อยู่ในระดับที่จะก่อให้เกิดการหลุดร่วงเพียงเล็กน้อย สำหรับการใช้ <-span>KMnO4 ช่วยดูดซับเอทิลีน ได้ผลต่ำเนื่องจากสภาพความชื้นภายในตะกร้าลองกองสูง ซึ่งมีผลไปลดประสิทธิภาพการทำงานของ <-span>KMnO4 ลงมาก  หากต้องการให้สามารถเก็บรักษาหรือขนส่งได้นานกว่า 10 วัน จำเป็นต้องมีการพัฒนาการใช้สารดูดซับเอทิลีนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในสภาพที่มีความชื้นสูง <-span><-o-p><-span><-span><-p>            ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการคือ ได้วิธีการ<-span>จัดการลองกองเพื่อลดการหลุดร่วงและชะลอการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือก ซึ่งสามารถส่งออกไปจีนโดยทางเรือในระยะเวลา 10 วัน มีการหลุดร่วงไม่เกิน 10<-span>% และวางรอการจำหน่ายได้นาน 4 วัน หลุดร่วงไม่เกิน 30<-span>% <-span><-o-p><-span><-p>

บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การขนส่งลองกองเพื่อการส่งออกในระดับการค้าไปประเทศจีนโดยทางเรือ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
16 กุมภาพันธ์ 2556
ปัจจัยก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อการส่งออกลองกองไปประเทศจีนโดยทางเรือ การขนส่งลองกองเพื่อการส่งออกในระดับการค้าไปประเทศจีนโดยทางเรือ การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวและการรักษาคุณภาพของแก้วมังกระฉายรังสี แกมมาที่เก็บรักษาในสภาพจำลองการขนส่งทางเรือสำหรับตลาดสหรัฐอเมริกา การศึกษาต้นทุนและอุปสรรคการขนส่งผลไม้เพื่อการส่งออกผ่านเส้นทาง R3A สู่ตลาดประเทศจีน การจัดการด้านการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการขนส่งมะม่วงพันธุ์มหาชนกเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา: การจัดการเพื่อการส่งออกมะม่วงพันธุ์มหาชนกในจังหวัดกาฬสินธุ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปจากลองกอง โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลองกองและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ศึกษาการควบคุมศัตรูลองกองแบบผสมผสานในจังหวัดนราธิวาส ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลองกองกวนชนิดแผ่น ศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตลองกองในกลุ่มชุดดินที่ 53
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก