สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร
อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Potential Development for Rubber Processing and Marketing of Smallholders Organization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความสามารถทางการของสถาบันเกษตรกร ที่ผลิตยางแผ่นรมควัน รวบรวมยางแผ่นดิบ และรวบรวมน้ำยางสด จากการศึกษาพบว่าต้นทุนในการผลิตยางแผ่นรมควันในภาคใต้อยู่ที่ 74.73 บาทต่อกิโลกรัม ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 69.32 บาทต่อกิโลกรัม และภาคตะวันออกอยู่ที่ 73.67 บาท โดยสถาบันเกษตรกรในภาคใต้มีต้นทุนสูงสุด สูงกว่าสถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถาบันเกษตรกรภาคตะวันออก กิโลกรัมละ 4.31 5.54 บาท ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำยางสดในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีราคาต่ำกว่าในภาคใต้ และจากการศึกษาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจพบว่าปริมาณน้ำยางที่เหมาะสมอยู่ที่ 833,015 กิโลกรัมต่อโรงต่อปี และนอกจากนี้ยังพบว่าการใช้สารเคมีในการผลิตยางแผ่นรมควันของสถาบันเกษตรกรอยู่ที่ 8.86 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมมากกว่าความจำเป็น ควรใช้เพียง 4 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันลดลง 0.22 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนในการรวบรวมยางแผ่นดิบพบว่า ภาคใต้มีต้นทุนอยู่ที่ 0.68 บาทกิโลกรัม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.67 บาทต่อกิโลกรัม ภาคตะวันตก 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ภาคตะวันออกอยู่ที่ 0.43 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีภาคใต้ต้นทุนสูงสุดเนื่องจากสถาบันเกษตรกรในภาคใต้เป็นสถาบันเกษตรกรที่มีขนาดเล็กรวบรวมยางแผ่นดิบได้น้อย และต้นทุนในการรวบรวมน้ำยางสดภาคใต้อยู่ที่ 3.68 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนภาคตะวันออกอยู่ที่ 2.81 บาทต่อกิโลกรัม โดยภาคใต้มีต้นทุนสูงสุดเนื่องจากสถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกมีเพียงแห่งเดียวและไม่มีต้นทุนการขนส่งเนื่องจากบริษัทมารับน้ำยางเองด้านการตลาดสถาบันเกษตรกรที่ผลิตยางแผ่นรมควันในภาคใต้มีช่องทางในการขาย 3 ช่องทาง คือ ผ่านตลาดกลางยางพารา ชุมนุมสหกรณ์ และบริษัทเอกชน โดยจะขายยางผ่านตลาดกลางยางพารามากที่สุด สถาบันเกษตรกรยางแผ่นรมควันในภาคตะวันออกจะใช้วิธีการประมูลและใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดกลางยางพาราสงขลา สถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้วิธีการต่อรองราคา สำหรับยางแผ่นดิบและน้ำยางสด จะเป็นการรวบรวมผลผลิตเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคา โดยสถาบันเกษตรกรที่รวบรวมยางแผ่นดิบในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะรวบรวมยางและใช้วิธีการประมูลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนสถาบันเกษตรกรที่รวบรวมน้ำยางสด จะขายน้ำยางให้กับบริษัทเอกชนและบ่อน้ำยาง โดยรับราคาจากผู้ซื้อและต่อรองราคาได้เล็กน้อย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน ความพึงพอใจของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการค้ายาง ที่มีต่อการให้บริการตลาดกลางยางพารา สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา การตลาดและศักยภาพการผลิตหนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทย การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การประเมินศักยภาพการเพิ่มอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการหมักร่วมและอัตราการทดแทนเชื้อเพลิงไม้ฟืนของสหกรณ์ผลิตยางแผ่นรมควัน (ระยะที่ 2) ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสำรวจศักยภาพการผลิตน้ำยางข้นของประเทศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก