สืบค้นงานวิจัย
การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ศิริลักษณ์ ตันเจริญ - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at Sirikit Dam plant genetic conservation area, Uttaradit Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริลักษณ์ ตันเจริญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิตั้ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นโครงการวิจัย เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของระบบนิเวศบนบกและระบบ นิเวศทางน้ำใน พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมถึงการศึกษา ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลภูมิ สารสารเทศของความหลากหลายทางชีวภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของระบบนิเวศบนบกและ ระบบนิเวศทางน้ำใน พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิตั้ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีการศึกษาใน ด้านต่างๆ ดังนี้ การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศบนบกในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช เขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์บกในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อันได้แก่ เห็ด กล้วยไม้ พืชฟื้นบ้าน สัตว์บก แมลง และการหมุนเวียนของธาตุ อาหารในดิน การศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชพื้นบ้านในหมู่บ้านรอบเขื่อน สิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีพื้นที่ศึกษาทั้งสิ้นสี่ตำบล คือ ตำบลทำปลา ตำบลจริม ตำบลผา เลือด และตำบลร่วมจิต จากกรสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชและการนำไปใช้ประโยชน์จาก ประชากรตัวอย่างจำนวน 60 ครัวเรือน รวมถึงปราชญ์ฟื้นบ้านและผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบพืช ที่ใช้ประโยชน์จากทั้งสี่ตำบลรวม 89 ชนิด จำนวน 71 วงศ์ ซึ่งแบ่งการใช้ประโยชน์ออกเป็น 6 ประเภทโดยพืชบางชนิดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 1 ประเภท คือ อาหารฟื้นบ้าน 30 ชนิดยาฟื้นบ้าน 56 ชนิดเครื่องสำอางพื้นบ้าน 2 ชนิดพิธีกรรมพื้นบ้าน 4 ชนิดการเกษตรพื้นบ้าน5 ชนิด และเครื่องมือเครื่องใช้ 3 ชนิดซึ่งพืชในวงศ์ EUPHORBIACEAE มีการใช้ประโยชน์มากที่สุด จากข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชากรในพื้นที่หมู่บ้านรอบสิริกิ ติ์มีความรู้เรื่องการใช้ ประโยชน์จากพืชสมุนไพร โดยส่วนใหญ่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยนำมาประกอบอาหาร และ รักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น โรคหวัด อาการแพ้มีผื่นคัน เกิดบาดแผล ความหลากหลายของกลัวยไม้ พบกล้วยไม้ทั้งหมด 12 สกุล 23 ชนิดจาก 3 วงศ์ย่อย จำแนกเป็นกล้วยไม้ดิน 5 สกุล 12 ชนิดและกลัวยไม้อิงอาศัย 7 สกุล 11 ชนิด โดยสกุลที่พบจำนวน มากที่สุดคือสกุล Hobenaria พบ 5 ชนิด รองลงมาได้แก่ สกุล Geodorum, Eulophia, Liparis, Aeride, Cleisostoma, Dendrobium และ Vanda พบสกุลละ 2 ชนิด โดยที่เข็มขาว ว่านจูงนางและบัว สันโดษ เป็นกล้วยไม้ที่พบในปริมาณมากและพบกระจายเกือบทุกเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ความหลายหลากของเห็ด พบเห็ดทั้งหมด 45 ชนิด ประกอบด้วยเห็ดกินได้จำนวน 8 ชนิด และเห็ดที่กันไม่ได้จำนวน 37 ชนิด สำหรับเห็ดที่สำรวจพบทั้งหมดสามารถแบ่งตามบทบาทและ หน้าที่ในระบบนิเวศออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เห็ดผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร 38 ชนิด เห็ดเอดโตไมคอร์ ไรซา 4 ชนิด เห็ดที่มีความสัมพันธ์กับปลวกหรือเห็ดโคน 1 ชนิด เห็ดที่เป็นสาเหตุของโรคพืช 2 ชนิด เห็ดที่พบเด่น ได้แก่ Bjerkandera adusta และ Schizophylum commune จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสมบูรณ์และมีความหลากหลายของเห็ดมาก การศึกษาเพื่อสำรวจคุณสมบัติของดินและธาตุอาหารหลักของพืชในพื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชของเขื่อนสิริกิติ์ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นที่ 1-3 และ 4 โดยเก็บตัวอย่างเส้นทาง ละ 3 จุดๆ ละ 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำเก็บหน้าดินและที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร พบว่าความหนาแน่น ของอนุภาคดิน ปฏิกิริยาของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณของธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ อยู่ในช่วงอยู่ในช่วง 2.44-6.87gkg, 6.24-7.13, 2.64-7.0%, 0.17-0.45gkg, 4.46-10.60mgkg และ 91.32-182.02mgkg ตามลำดับ และตินมีระดับความอุดม สมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง การสำรวจอนุกรมวิธานชนิดพันธุ์และเก็บตัวอย่างผีเสื้อและแมลงผสมเกสรบริเวณ ถิ่นอาศัยในเขตอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เขื่อนสิริกิติ์ รวม 123 ตัวอย่าง ประกอบด้วยผีเสื้อ 98 ตัวอย่าง รวม 59 ชนิด จำแนกได้ 5 วงศ์ ได้แก่วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (นิมฟาลิตี้) 44.9% ผีเสื้อหนอน กะหล่ำ (เพียริดี้) 25.5% ฝีเสื้อหางติ่ง (พาฟิลิโอนิดี้ 15.3% ผีเสื้อสีน้ำเงิน (ลายซีนิดี้ 13.3% และ ฝีเสื้อบินเร็ว (เฮสเพอริดี้ 1% ตัวอย่างแมลงผสมเกสร จำนวน 25 ตัวอย่างพบแมลงรวม 7 ชนิด ได้แก่แมลงกลุ่มผึ้ง (เอฟิดี้ รวม 50.6% ประกอบด้วยผึ้งมิ้ม เอพิส ฟลอเรีย (23.1%) และผึ้งโพรง เอพิส เซอรานา (27.5%) แมลงกลุ่มชันโรง (มลิโพนินี้ ประกอบด้วย ไทรโกนา เลวิเซพส ไทรโก นา โคลินา ไทรโกนา ฟิมเบรียทา และ ไทรโกนา แพกดิไน รวมกันเท่ากับ 44.8% แมลงกลุ่ม แมลงภู่ (ไซโลโคฟิดี้ ได้แก่แมลงภู่ ไซโลโคพา วาไรพันทา (4.6%) จำนวนชนิดของแมลงทั้งหมด สำรวจพบสูงสุดระหว่างเดือนกันยายน รวม 39 ชนิด รองลงมาพบ ระหว่างเดือนเมษายน (30 ชนิด) เดือน มกราคม (28 ชนิด) และ ระหว่างเดือน มิถุนายนพบน้อยที่สุด (25 ชนิด) ผลการ สำรวจชี้ให้เห็นว่าผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้า และแมลงผสมเกสรจำพวก ผึ้ง และ ชันโรง เป็น แมลงชนิดเด่นในถิ่นอาศัยดังกล่าว การศึกษาความหลากหลายของนก โดยใช้กล้องสองตา (10x35) และวิธีการสำรวจ แบบวิธี point-count ตามเส้นทางสำรวจ 6 เส้นทาง และโดยรอบที่ทำการเขื่อน จากการศึกษา พบนกทั้งหมด 46 ชนิด จำแนกตามหลักอนุกรมวิธานได้ 12 อันดับ 28 วงศ์ โดยนกที่พบมาก ที่สุดคือ Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน) วงศ์ที่พบมากที่สุด 2 วงศ์ คือ Cisticolidae (วงศ์ นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า) และ Pycnonotidge (วงศ์นกปรอด) นกที่พบชุกชุมมาก 5 อันดับแรกคือ นกแซงแซวหางปลา ( Dicrurus mocrocercus) นกเอี้ยงสาลิก1 (Acridotheres tristis) อีกา (Corvus splendens) นกปรอดสวน ( Pycnonotus blanfordi) และนกปรอดหัวโขน (Pycnonotus jocosus) ซึ่งเป็นนกที่พบชุกชุมมากตามเขตเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนนกที่มี ลักษณะเด่นและสีสวยงามคือ นกบั้งรอกใหญ่ ( Phaenicophaeus tristis) นกเขียวก้านตองปีกสี ฟ้า (Chloropsis cochinchinensis) และนกกะเต็นหัวดำ (Halcyon pileata)นอกจากนี้ยังพบนก อพยพอีกหลายชนิด เช่น นกยางควาย (Bubulcus bis) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์นี้มีความหลากหลาย ของนกที่ดี แต่ก็ควรมีการอนุรักษ์บริเวณนี้ไว้ และควรฟื้นฟูปาธรรมชาติ และปลูกบำให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพพื้นที่อาศัยให้กับนก ศึกษาทรัพยากรชีวภาพและกายภาพในระบบนิเวศแหล่งน้ำของบริเวณฟื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชด้านท้ายเชื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการเก็บตัวอย่าง 4 ครั้ง ระหว่างเดือน มกราคมถึงเดือนกันยายน 2554 ผลการศึกษา พบปลารวมทั้งสิ้น 33 ชนิด 30 สกุล จาก 15 วงศ์ วงศ์ที่พบจำนวนชนิดมากที่สุดคือวงศ์ปลาตะเพียน ( Cyprinidge) พบ 16 ชนิด องค์ประกอบของชนิดปลาที่พบประกอบด้วย Carp ร้อยละ 48.5 Catfish ร้อยละ 15.2 Murrel ร้อยละ 6.1 และ Miscellaneous ร้อยละ 30.2 พบแมลงน้ำทั้งหมด 6 อันดับ 13 วงศ์ 14 สกุล โดยส่วนใหญ่พบแมลงน้ำอันดับ Hemiptera (มวน) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมาได้แก่ Diptera (หนอนแมลงสองปีก) Coleoptera (ด้วง) และ Odonata (ตัวอ่อนแมลงปอ) คิดเป็นร้อย ละ 19 18 และ 17 ตามลำดับ โดยพบแมลงน้ำในวงศ์ Aeshnidae (ตัวอ่อนแมลงปอยักษ์) Hydrophilidae (แมลงเหนี่ยง) และ Chironomidae (ริ้นน้ำจืด/หนอนแดง) เป็นวงศ์เด่น พบความ หลากหลายของสาหร่ายทั้งหมด 5 ติวิชัน (Division) ได้แก่ Division Cyanophyta , Division Chlorophyta, Division Euglenophyta, Division Pyrrhophyta และ Division Bacillariophyta พบ ความหลากหลายของสาหร่ายทั้งหมด 5 ดิวิชั่น 37 สกุล 73 ชนิด พบพืชน้ำทั้งสิ้น 22 ชนิด พืช เด่นในบริเวณเส้นทางน้ำท้ายเขื่อนได้แก่ กูดกิน (Diplozium esculentum (Retz)Sw.) และผัก เป็ดน้ำ (Alttermanthera sessilis (L.) DC.) และพืชเด่นบริเวณสระน้ำบริเวณทางออกเส้นทาง สำรวจที่ได้แก่ ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Foisk) และแพงพวยน้ำ (Jussinea repens L.) ดัชนี คุณภาพน้ำในแต่ละครั้งที่เก็บตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยจะมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน มีค่าเท่ากับ 68.25 รองลงมา ได้แก่ ช่วงเดือน กันยายน มีคำเท่ากับ 66.75 และมีค่าดัชนีคุณภาพน้ำน้อยที่สุดในช่วงเดือนเมษายน มีค่า เทำกับ 56.25 ตามลำดับ โดยคุณภาพน้ำจัดอยู่ในระดับปานกลางและมีความเหมาะสมต่อการ ดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การสำรวจในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัด อุตรดิตถ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลการสำรวจด้านพืชและสัตว์ทั้งทางบกและทางน้ำ รวมทั้งภูมิ ปัญญาในท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและก่อให้เกิดความหวงแหนใน ทรัพยากรธรรมชาติมิให้เกิดการสูญหาย โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาช่วยใน การรวบรวม จัดเก็บและจัดการชุดช้อมูลเชิงพื้นที่โดยทำการนำเข้าข้อมูลใน 9 หัวเรื่องได้แก่ เห็ด 138 แห่ง, กล้วยไม้ 178 แห่ง, หลุมสำรวจ 18 แห่ง, พืชสมุนไพร 8 แห่ง, ปลา 3 แห่ง, สาหร่าย 4 แห่ง, ผีเสื้อและแมลง 3 แห่ง, แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 354 แห่ง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 6 เส้นทาง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมภาพข้อมูลดาวเทียมหลายช่วงเวลา และข้อมูลเชิงฟื้นที่ที่ได้มีการ สำรวจและจัดทำขึ้นในรูปแบบเชิงพื้นที่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานรวม 43 ชั้น ข้อมูลในการวางแผนเพื่อพัฒนาพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ในอนาคต เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการสืบคันและการใช้งานเชื่อมโยงด้านต่งๆ ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2554
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การทดลองปลูกขยายพันธุ์พืชบางชนิด ที่สำรวจพบในพื้นที่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา อ.เมือง จ.พะเยา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2 โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการสร้างจิตสำนึก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก