สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ
วัชรี แซ่ตั้ง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่อง (EN): Using Green Manure and Soil Improvement Material for Acid Soil Improvement for Planting Shallot in Srisaket Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัชรี แซ่ตั้ง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ ระยะเวลา 2 ปี วางแผนการทดลองแบบ RCBD 4 ซ้ำ ทั้งหมด 6 วิธีการทดลอง คือ 1) ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ (วิธีเกษตรกร) 2) ปุ๋ยพืชสดเพียงอย่างเดียว 3) ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปูนโดโลไมท์ 4) ปุ๋ยพืชสดร่วมกับหินฟอสเฟต 5) ปุ๋ยพืชสดร่วมกับขี้เถ้าแกลบ และ6) ปุ๋ยพืชสดร่วมกับยิปซัม จากผลการทดลอง พบว่าวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ (วิธีเกษตรกร) และวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับขี้เถ้าแกลบจะให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการอื่นๆ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,925 และ 1, 700 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเนื่องจากมูลไก่และปุ๋ยพืชสดจะมีธาตุไนโตรเจนค่อนข้างสูง และขี้เถ้าแกลบจะมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งธาตุอาหารพืชดังกล่าวเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น สำหรับคุณสมบัติดินหลังการทดลอง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ ดินมีความเป็นกรดลดลง เนื่องจากปริมาณอินทรียวัตถุที่ได้จากพืชปุ๋ยสด ขี้เถ้าแกลบ มูลไก่ รวมทั้ง สารปรับปรุงดินที่ได้จากปูนโดโลไมท์ หินฟอสเฟต และยิปซัม จะช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลง pH โดยปรับสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ทำให้ดินมี pH สูงขึ้น ส่งผลทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดิน เช่น ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม มีความเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่า ดินมีความร่วนซุยและมีความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้น เนื่องจากความหนาแน่นรวมของดินภายหลังการทดลองมีแนวโน้มที่ลดลง ในส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ (วิธีเกษตรกร) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด 19,700 บาทต่อไร่ รองลงมาคือ การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับหินฟอสเฟต 14,920 บาทต่อไร่ ซึ่งในสภาพที่ดินมีความเป็นกรดรุนแรง การปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพร้า) ร่วมกับมูลไก่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเนื่องจากจะให้ผลตอบแทนสูงสุด นอกจากนี้การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการผลิตพบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ (วิธีเกษตรกร) จะมีจุดคุ้มทุนต่ำสุด คิดเป็น 206.35 กก./ไร่ ซึ่งหมายถึงว่าถ้าหากเกษตรกรมีการจัดการดินโดยการใช้มูลไก่ร่วมกับปุ๋ยพืชสดในการเพิ่มผลผลิตหอมแดงจะต้องผลิตให้ได้อย่างน้อย 206.35 กก./ไร่ จึงจะไม่ขาดทุน จากการศึกษาครั้งนี้ควรมีการนำขี้เถ้าแกลบประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ (วิธีเกษตรกร) ในการปรับปรุงดินที่มีความเป็นกรดจัด ทั้งนี้เนื่องจากขี้เถ้าแกลบจะมีอินทรียวัตถุอยู่สูงซึ่งจะช่วยในการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีความเหมาะสมและยังมีส่วนช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินประกอบกับขี้เถ้าแกลบมีโพแทสเซียมสูงถึง 4.06% ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างแป้งและน้ำตาลในพืชประเภทหัว จึงมีผลทำให้หอมแดงมีการเจริญเติบโตที่ดี
บทคัดย่อ (EN): The use of green manure with the soil conditions to planting shallots was conducted at Srisaket Province. This two-years study plan was RCBD with 4 replication and 6 methods as following: 1) green manure crop with chicken manure (farmer method) 2) green manure crop alone 3) green manure crop with dolomite 4) green manure crop with rock phosphate 5) green manure crop with rice hull ash and 6) green manure crop with gypsum. The experiment results appeared that method 1) and method 5) were higher than other methods. The average yields were 1,925 and 1,700 kg per rai, respectively. These may be due to the chicken manure and green manure crop contain high nitrogen and potassium which were the essential elements for plant growth. The soil properties after experiments were changed in the positive way. Soil pH increased because organic matter content in green manure crop, rice hull ash, chicken manure, including dolomite and gypsum could increase soil pH buffering. Consequently, phosphorus and potassium were more available to shallots. Moreover, the water holding capacity increased and soil bulk density decreased which intended to be benefit to shallots. In the economic return issue, it was found that the first method got the highest return which was 19,700 bath per rai. The method 4) got the income return at 14,920 bath per rai. Moreover, the first method got the lowest breakeven point which was 206.35 kg per rai. This mean that if farmers used chicken manure with green manure crop, they could increase yield at least 206.35 kg per rai. It was recommend that the rice hull ash should be applied with green manure crop and chicken manure in order to improve soil acidity. According that rice hull ash contain 4.06% of potassium and high organic matter content, rice hull ash was suitable to improve soil pH and soil structure which had the important roll to produce starch and sugar in shallots.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
การย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชปุ๋ยสดภายใต้สภาพดินร่วนปนทราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสหอมแดง การปรับปรุงคุณภาพดินเค็มโดยใช้ปุ๋ยพืชสด : ศึกษากรณีพื้นที่อ่างเก็บน้ำหนองบ่อ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย ศึกษาการจัดการดินตะกอนชั้นล่างโดยใช้วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปลูกมะละกอ ผลการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.9 และซุปเปอร์ พด.9 เพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดงในสภาพดินกรดจัด การใช้จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดินกรด (Burkholderia sp.) ร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆ ในการปรับปรุงดินกรดเพื่อผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45 ผลของการใช้วัสดุปรับปรุงดินชนิดต่างๆร่วมกับโดโลไมท์ในการปรับปรุง นาข้าวดินกรด ในกลุ่มชุดดินที่ 22 จังหวัดชัยภูมิ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก