สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
พนิดา ชาลี, อัญชลีย์ ยะโกะ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductie Biology of Bigeye scad, Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793) along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างจากเครื่องมืออวนล้อมจับและอวนลากที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมง ตั้งแต่บริเวณเกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงาจนถึงเกาะอาดัง ในจังหวัดสตูล พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้ำหนักตัวของปลาสีกุนตาโตขนาด 9.50-29.80 เซนติเมตร อยู่ในรูปสมการ W = 0.0077 TL 3.1816 มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยวางไข่มากในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม วางไข่สูงสุดในเดือนกันยายน ความยาวเฉลี่ยแรกเริ่มสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 18.83 และ 19.95 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกของไข่เฉลี่ยเท่ากับ 135,893 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.51 ? 0.16 มิลลิเมตร ความสัมพันธ์ระหว่างความดกของไข่กับความยาวตลอดตัวอยู่ในรูปสมการ F = 0.1154 TL4.4207 และมีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.10 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of bigeye scad, Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793) in the Andaman Sea coast of Thailand was studied from January to December 2007. The data was collected from purse seiners and trawlers, which landed at fishing port in Phang-nga, Phuket and Satun Provinces. The fishing grounds were in the areas off Ko Surin, Phang-nga Province to Ko Adung, Satun Province. The results showed the total length (TL) and body weight (W) relationship from the fish which have length ranged 9.50-29.80 cm was W = 0.0077 TL 3.1816. As well as spawning season was found all year, in August to December. While the peak showed in September. The average sizes at first maturity of male and female were 18.83 and 19.95 cm, respectively. The average fecundity was 135,893 eggs with the average egg diameter of 0.51 ? 0.16 mm. The relationship between fecundity (F) and TL was F = 0.1154 TL 4.4207. Sex ratio of male and female was 1:1.10 which was significantly different (P<0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
31 ธันวาคม 2551
กรมประมง
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenopthalmus Bloch, 1793)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenopthalmus Bloch, 1793)) ในอ่าวไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar crumenopthalmus (Bloch, 1793) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555 ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก