สืบค้นงานวิจัย
สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
สุดา ทองเดือน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดา ทองเดือน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความต้องการส่งเสริมการเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และความต้องการได้รับการบริการส่งเสริมสนับสนุน ของสมาชิกกลุ่มฯ ทำการศึกษาจากประชากรจำนวน 251 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวนตัวอย่าง 67 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ใช้ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯมีอายุเฉลี่ย 50.3 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา กิจกรรมหลักในครอบครัว ทำนา มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3.5 คน พื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 16.6 ไร่ รายได้ต่อครอบครัว เฉลี่ย 48,739.8 บาท เป็นรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ย 18,410.7 บาท รายได้จากนอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 27,294.9 บาท เป็นสมาชิกกลุ่ม นานเฉลี่ย 6.8 ปี มีหุ้นเฉลี่ย 13.3 หุ้น สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มฯ ส่วนใหญ่ คือ เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร เฉลี่ย 7.97 ครั้ง ระดับปัญหาที่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านพบในระดับมาก คือต้นทุนการผลิตสูง สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีความต้องการความรู้จากเคหกิจเกษตร ระดับมาก คือ ด้านอาหารและโภชนาการ ได้แก่ การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะและการนำผลผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร ด้านการถนอมอาหารและแปรรูปผลผลิตจากพืช ได้แก่ การถนอมอาหารประเภทตากแห้ง และ การแปรรูปผลผลิตโดยการกวน ด้านการถนอมอาหารและแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ ได้แก่ การถนอมอาหารประเภทตากแห้ง ด้านการจัดการบ้านเรือน ได้แก่ การจัดการบ้านเรือนให้ปลอดภัยและน่าอยู่ และ การนำวัสดุในท้องถิ่นมาดัดแปลงตกแต่งบ้าน มีความต้องการการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ ในระดับมาก ได้แก่ การจัดหาตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การให้คำแนะนำด้านการตลาด การประสานงานให้ได้ใบรับรองคุณภาพต่างๆ การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดทำบัญชีกลุ่ม การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการผลิด้านความรู้และเทคนิคการผลิต การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุน การให้คำปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์กลุ่ม การประเมินความก้าวหน้าของกลุ่ม ด้านงบประมาณอุดหนุนเพิ่มเติม ด้านเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต การประสานงานในการกู้ยืมเงินลงทุนแก่กลุ่ม วิธีการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องการมากคือ การอบรมและฝึกปฏิบัติ การไปทัศนศึกษาดูงานการจัดแสดงสินค้าใหญ่ๆที่กรุงเทพ การไปทัศนศึกษาดูงาน กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จภายในตัวจังหวัด การติดต่องานทางโทรศัพท์ การมาพบปะที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ และ การดูวิดีโอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดตราด การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก