สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิด คอนจูเกตในน้ำนม และจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม
ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิด คอนจูเกตในน้ำนม และจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): Influence of fat sources in total mixed ration (TMR) on milk chemical composition, Conjugated linoleic acid in milk and rumen microorganisms in dairy cows.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอิทธิพลของแหล่งไขมัน ในอาหารผสมครบส่วน ต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิดคอนจุเกตในน้ำนมและจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม ที่ได้ทำ ณ สาขาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ได้ทำการศึกษาแหล่งของชนิดไขมัน (ไขสัตว์ น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลือง) 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหาร ต่อกระบวนการทำงานของจุลินทรีย์และกระบวนการเกิดแก๊สในกระเพาะหมัก ในโคนมเจาะกระเพาะเพศเมีย จำนวน 6 ตัว โดยใช้แผนการทดลอง 3 x 3 Latin square design. ส่วนการทดลองที่ 2 ได้ทำการศึกษาแหล่งของไขมัน (ไขสัตว์ น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลือง) 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารข้น ต่อองค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม โดยใช้โคนมจำนวน 24 ตัว ที่มีน้ำนมเฉลี่ย 10 กิโลกรัม ต่อวัน โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ Randomized Completely Block Design (RCBD) การทดลองที่ 1 พบว่า ไขสัตว์ น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลือง มีผลต่อปริมาณการกินได้ของโคนมเจาะกระเพาะเพศเมีย โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันถั่วเหลืองมีอัตราการกินได้สูงสุด ตามด้วยกลุ่มที่ได้รับ น้ำมันทานตะวันและไขสัตว์ โดยมีค่าเท่ากับ 11.944 , 10.08, 9.25 กิโลกรัมแห้งต่อวัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวในหน่วยของกรัมต่อกิโลกรัมเมแทบอลิซึม โตกลุ่มที่ได้รับน้ำมันถั่วเหลืองและไขสัตว์ มีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันทานตะวัน มีค่าเท่ากับ 110 และ 102 กรัมต่อกิโลกรัมเมแทบอลิซึม (P<0.1) ส่วนกรดไขมันที่ระเหยได้ง่ายกรดโพพิโอนิก พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันทานตะวันและน้ำมันถั่วเหลืองมีแนวโน้มเพิ่มกรดโพพิโอนิก (P<0.1) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 12.3 – 13.0 ตามลำดับ แต่ไม่มีผลต่อกรดอะซิติกและกรดบิวทีริก แต่พบว่าน้ำมันทั้งสองกลุ่มนี้ยังมีผลกับค่าแอมโมเนียไนโตรเจนในของเหลวจากกรพาะรูเมน และ ค่า ความเป็นกรด – ด่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าไขมันทั้งสามชนิดมีผลต่อจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนโดยวีธีการเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่ามีผลต่อจุลินทรีย์กลุ่มที่ย่อยแป้ง โดยกลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันทานตะวันมีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สูงสุด อยู่ที่ 4.57 x 106 โคโลนีต่อมิลลิลิตร แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มอื่น (P<0.05) และยังพบว่าโคกลุ่มนี้มีอัตราการผลิตแก๊สต่ำสุด การทดลองที่ 2 พบว่า แหล่งของไขสัตว์ น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลืองมีผลต่อปริมาณการกินได้ของโคนมที่กำลังให้น้ำนม โดยเพิ่มปริมาณการกินได้ของโคนมกลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันถั่วเหลืองสูงที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกลุ่มที่ได้รับไขสัตว์ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ได้รับการเสริมน้ำมันทานตะวันมีผลต่อปริมาณไขมันในน้ำนม และของแข็งที่ไม่รวมไขมันในน้ำนม ส่งผลให้โคกลุ่มนี้มีปริมาณไขมันในน้ำนมสูงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกลุ่มที่ได้รับน้ำมันถั่วเหลือง แต่แหล่งของไขมันจากอาหารทั้ง 3 ชนิด ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม โปรตีนในน้ำนม ของแข็งทั้งหมด และปริมาณกรดไขมันคอนจูเกต ลิโนเลอิก ในน้ำนมของโคนม
บทคัดย่อ (EN): This study was carries out to investigate the influence of fat sources in total mix ration on milk chemical composition Conjugated linoleic acid in milk and rumen microorganisms in dairy cows at Department of animal science, Faculty of Natural Resources, Rajamangala University of Technology Isan Sakon Nakhon Campus. In this experiment they have two experiments. First experiments was study of fat sources (tallow, sunflower oil and soybean oil) 4 % in ration on rumen microorganisms and gas production form rumen in 6 fistulated dairy cows. The experimental treatments were subjected to 3 x 3 Latin square designs. Second experiment were study of fat sources (tallow, sunflower oil and soybean oil) 4 % in ration on milk composition and fatty acid in milk of dairy cows. Used 24 milking dairy cows. They were 10 Kg of milk yield per days. This experiment treatment were subjected Completely randomized design (CRD) First experiments, the results showed that fat sources have effects on feed intake of fistulated dairy cows. Soybean oil have higher feed intake, sunflower oil and soybean oil respectively (11.94, 10.08 and 9.25 Kg DM/day) (P0.05).
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิด คอนจูเกตในน้ำนม และจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2552
พันธุกรรมกับอาหารโคนม อิทธิพลของวิธีการสกัดไขมันกระบกในอาหารต่อปริมาณน้ำนม องค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิต และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียน ผลของเมล็ดพืชน้ำมันต่อปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณของกรดไขมันที่ระเหยได้ ปริมาณแก๊ซมีเธน ชนิดของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักและชนิดของกรดไขมันในโคเนื้อ ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับถั่วท่าพระสไตโลหมักที่ระดับอาหารข้นต่างกันต่อคุณภาพและผลผลิตน้ำนมในโคนม การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช ผลของระดับไขมันและแหล่งไขมันในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ ผลของ Lactobacillus fermentum ต่อคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของอาหารผสมครบส่วนหมักที่ระยะการหมักต่างกัน ผลของอาหารผสมครบส่วนและอาหารผสมครับส่วนหมักต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและค่าการย่อยได้ของโภชนะในโคนมเพศผู้ ผลของแหล่งไขมันที่เสริมในอาหารสำเร็จรูปต่อคุณภาพแม่พันธุ์ปูทะเลไข่นอกกระดอง, Scylla paramamosian (Estampador, 1949)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก