สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก
นางเพ็ญศรี บุญเรือง - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางเพ็ญศรี บุญเรือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pensri Boonruang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปลาดุก เป็นสัตว์น้ำที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงและจัดเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง แต่พบว่าการปฏิบัติหลังการจับปลาดุกยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง มีการเสื่อมคุณภาพ เก็บรักษาได้ไม่นาน และการแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็ยังไม่หลากหลาย จึงได้จัดทำชุดโครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2544-2547 ขึ้น โดยภายใต้ชุดโครงการฯ มีโครงการย่อยทั้งหมด 3 เรื่อง สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. การพัฒนาวิธีการเก็บรักษาและขนส่งปลาดุก พบว่า กรณีที่ต้องการให้คุณภาพปลาดุกอยู่ที่ระดับปลาดิบซาซิมิ ซึ่งค่า K ไม่เกิน 21% การเก็บด้วยน้ำแข็งผสมเกลือ 0, 1% จะเก็บได้ไม่เกิน 10 วัน และถ้าเก็บด้วย 3, 5% เกลือจะเก็บได้ไม่เกิน 14 วัน ในกรณีที่ต้องการคุณภาพปลาดุกอยู่ที่ระดับความสดปานกลางและการยอมรับ โดยรวมปานกลาง (คะแนนประมาณ 4 คะแนนจากคะแนนดีที่สุด 7 คะแนน) การเก็บด้วย %เกลือทั้ง 4 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) เก็บได้ไม่เกิน 17 วัน โดยปลาดุกในน้ำแข็งผสมเกลือทั้ง 4 ระดับ มีอุณหภูมิ 0oC, -0.5 oC, -1.3 oC, -3.4 oC ตามลําดับ และ %เกลือที่ผสมในน้ำแข็งมีผลทำให้เนื้อปลาดุกเค็มมากขึ้นในทุกระดับ 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากปลาดุกอุยเทศ (Clarias macrocephalus x C. gariepinus) (ไส้กรอกอีสาน) พบว่า เมื่อเติมลงในส่วนผสมของการผลิตไส้กรอกอีสานจากเนื้อปลาดุกอุยเทศที่หมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ปรากฏว่าข้าวเจ้าหุงสุก 21% เกลือป่น 1.25% กระเทียม 10% น้ำตาลทราย 1% ได้รับการยอมรับมากที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงของ pH ปริมาณกรดแลคติก ปริมาณแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดระหว่างการหมัก pH จะลดลงตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 3 ในวันที่ 3 จะได้ผลดีที่สุด คือ ค่า pH จะอยู่ในช่วง 4.3-4.5 และปริมาณกรดแลคติก 0.6-1.3% สำหรับอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 oC จะเก็บไส้กรอกอีสานได้นาน 43 วัน 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อปลาบดจากปลาดุก พบว่า ขนาดตัวปลาและการล้างเนื้อปลามีผลต่อความเหนียวของเนื้อ โดยปลาดุกขนาดตัวน้อยกว่า 400 กรัม มีความเหนียวมากกว่า ทั้งแบบล้างเนื้อและไม่ล้าง ปลาดุกอุยเทศ ขนาดตัวน้อยกว่า 400 กรัม ที่ผ่านการล้างเนื้อปลาแบบ 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง พบว่า คุณภาพด้านความเหนียวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ แต่ซูริมิที่ผ่านการล้าง 1 ครั้ง มีผลผลิตสูงกว่า คือ 21% ส่วนซูริมิที่ล้างเนื้อ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตเพียง 19%
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 45-0700-45076
ชื่อแหล่งทุน: กรมประมง
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 45-0700-45076
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: กรุงเทพมหานคะ
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2545
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก
กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
2547
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ การพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเลี้ยงปลาดุกและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปอาหารจากปลาดุกรัสเซียและการจัดการผลิตภัณฑ์ปลาดุกรัสเซียของชุมชนกลุ่มผู้พิการบ้านวอกแก้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุก กรณีศึกษา อ.วารินชำราบ การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก