สืบค้นงานวิจัย
เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม
พูลศรี ทัตจำนงค์, รักชนก ทุยเวียง, ลาวัณย์ ปั้นประสม, พูลศรี ทัตจำนงค์, รักชนก ทุยเวียง, ลาวัณย์ ปั้นประสม - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม
ชื่อเรื่อง (EN): Production and Marketing of giant freshwater
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัย เรื่อง เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิตต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ศึกษาด้านการตลาด วิถีการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาดและโลจิสติกส์กุ้งก้ามกราม รูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม ตลอดจนแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ทำการศึกษาโดยการคัดเลือกตัวอย่างจากเกษตรกร โดยวิธีสุ่มแบบง่ายจากกรอบตัวอย่างของกรมประมง ในรอบปี 2551/2552 จำนวน 100 ราย โรงเพาะฟักและกลุ่มพ่อค้ากุ้งก้ามกรามเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากแหล่งเลี้ยงและตลาดที่สำคัญ 15 จังหวัด กลุ่มพ่อค้าได้ตัวอย่างจำนวน 30 ราย โรงเพาะฟักได้ตัวอย่าง จำนวน 2 ราย และรูปแบบการจัดการฟาร์มที่เหมาะสมคัดเลือกจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จำนวน 3 รูปแบบ จากการศึกษา พบว่า ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงลดลงจากปีที่ผ่านมาเฉลี่ยร้อยละ 8.33 โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัญหาราคาน้ำมัน และอาหารกุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพไม่ดีอัตราการรอดตายต่ำ ทำให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการเลี้ยง โดยต้นทุนของโรงเพาะฟัก เฉลี่ยต่อบ่อซีเมนต์ ขนาด 2x2x1 เมตรต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 15,520 .18 บาท/บ่อ/รุ่น กำไรสุทธิเฉลี่ย 12,479.82 บาท/บ่อ/รุ่น เกษตรกรผู้เลี้ยงมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 22,258.90 บาท/ไร่/รุ่น กำไรสุทธิ 14,447 บาท/ไร่/รุ่น ด้านการตลาด พบว่า พ่อค้าท้องถิ่นหรือแพกุ้งจะทำหน้าที่รวบรวมกุ้งจากเกษตรกร ส่งต่อให้พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก ผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่ร้านอาหารถึงร้อยละ 70 ส่วนเหลื่อมการตลาดที่แพกุ้งได้รับอยู่ที่ 34.30 บาท/กก. ต้นทุนการตลาด 3.57 บาท/กก. กำไร 30.73 บาท/กก. พ่อค้าขายส่งมีส่วนเหลื่อมการตลาด 19.80 บาท/กก. ต้นทุนการตลาด 8.64 บาท/กก. กำไร 11.16 บาท/กก. พ่อค้าขายปลีกมีส่วนเหลื่อมการตลาด 33.10 บาท/กก. ต้นทุนการตลาด 12.33 บาท/กก. กำไร 20.77 บาท/กก. ต้นทุนโลจิสติกส์รวม 17.25 บาท/กก.รูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่เหมาะสม คัดเลือกกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โดยผู้เลี้ยงกุ้งมีการรวมกลุ่มบริหารจัดการ เช่น จัดซื้อปัจจัยการผลิตจำหน่ายแก่สมาชิก และสมาชิกมีการซื้อขายผ่านสหกรณ์ทำให้ได้รับราคาสูงขึ้น การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ของฟาร์มนางนงนุช สุนทรีเกษม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นการนำกุ้งก้ามกรามที่ผ่านการอนุบาลมาแล้วเลี้ยงร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม เลี้ยงต่ออีก 3 เดือน สามารถจับยกบ่อพร้อมกันได้ การเลี้ยงแบบนี้สามารถแก้ปัญหากุ้งตายจากการจับคัดกุ้งขาย กุ้งก้ามกรามจะกินเศษอาหารที่ร่วงหล่นลงก้นบ่อ ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียอาหารและช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ และการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลาทับทิม ของฟาร์มนายจำลอง ทองอุทิศ อ. องครักษ์ จ.สุพรรณบุรี โดยเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลาทับทิมในบ่อเดียวกันช่วยเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยง จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพียงชนิดเดียวลงได้ ผลิตกุ้งคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เพื่อส่งออกปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม พบว่า ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากอาหารกุ้งและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพและปลอดโรค และสัดส่วนของกุ้งเพศเมียในฝูงมากกว่าเพศผู้กุ้งเพศเมียขนาดเล็กราคาถูกทำให้ผู้เลี้ยงเสียโอกาสทางธุรกิจ ส่วนรูปแบบการขายเกษตรกรขาดการคัดแยกขนาดกุ้งก่อนขาย ทำให้ราคาขายที่ได้รับลดลง อีกทั้งเกษตรกรยังขาดการรวมกลุ่มทำให้ขาดอำนาจในการต่อรอง และผู้เลี้ยงขาดการจัดการฟาร์มที่เหมาะสมทำให้เกษตรกรไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตและลดความเสี่ยงได้ข้อเสนอแนะจัดสรรโควตาการซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์แก่กลุ่มเกษตรกร ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนน้ำมัน เร่งวิจัยพัฒนาสายพันธุ์กุ้งอย่างต่อเนื่อง เร่งวิจัยการแปลงเพศกุ้งให้เป็นเพศผู้ รวมทั้งเกษตรกรควรมีการคัดแยกขนาดกุ้งก่อนขายส่งเสริมการรวมกลุ่มการเลี้ยงในรูปสหกรณ์และรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มที่เหมาะสมแก่เกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2552
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาสวยงาม การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแร่ธาตุบางชนิดในพลาสมาของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei) ในสภาวะช็อก เศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลากระพงขาวในกระชัง ศักยภาพการผลิตการตลาดกระบือนม คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก