สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)
ร.ต.ส่งสุข รตนภรณ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ร.ต.ส่งสุข รตนภรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการ ฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฏร์ธานี (พืชสวน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกร สภาพการผลิต การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของ เกษตรกร การวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาเฉพาะเกษตรกรผู้เพาะเห็ดจากจังหวัดในเขตรับผิดชอบของศูนย์ ฯ ที่เข้ารับการฝึกอบรมกับศูนย์ ฯ ในปีงบประมาณ 2545- 2547 จำนวน 136 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ ค่าไค-สแควร์ (Chi-square test) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่ทำการศึกษามีอายุเฉลี่ย 43.18 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่ามากที่สุด(ร้อยละ 89.0) มีอาชีพหลักทำสวน อาชีพรองเพาะเห็ด มีรายได้จากอาชีพหลักเฉลี่ย 115,076.04 บาทต่อปี และมีรายได้จากอาชีพรองเฉลี่ย 50,791.92 บาทต่อ มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 20.20 ไร่ ได้รับรู้ข่าวสารจากเจ้าหน้าที่มากที่สุด (ร้อยละ 61.0) ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต (ร้อยละ 30.1) เกษตรกรครึ่งหนึ่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มผู้ผลิตเห็ด ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายผลผลิต คือ เฉลี่ยประมาณ 42 ครั้งต่อปี และมีส่วนร่วมในการจัดซื้อเห็ดเฉลี่ยคือ 6.67 ครั้งต่อปี ร้อยละ 94.9 เคยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างแรงงาน (ร้อยละ 79.4) มีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดเฉลี่ย 3.29 ปี เกษตรกรนิยมเพาะเห็ดนางฟ้ามากที่สุด รองลงมา คือ เห็ดฟาง ส่วนใหญ่เคยเพาะเห็ดมาเฉลี่ย 3.29 รุ่น โดยเกษตรกร มักเพาะเห็ดในเดือนมกราคมถึงมีนาคม (ร้อยละ 57.7) โดยซื้อเชื้อเห็ดจากร้านค้าหรือฟาร์มในพื้นที่มากที่สุด ราคาเชื้อเห็ดเฉลี่ย 4.74 บาทต่อถุง และเกษตรกรมีจำนวนโรงเรือนเฉลี่ย 2.14 โรง จำนวนผลผลิตที่เก็บได้เฉลี่ย คือ 577.51 กิโลกรัมต่อครั้ง มีต้นทุนในการสร้างโรงเรือนเฉลี่ย 9,685.51 บาท มีต้นทุนในการสร้างโรงเรือนเฉลี่ย 9,685.51 บาท มีระยะเวลาในการเก็บผลผลิตเฉลี่ย 95.30 วันต่อรุ่น มีผลผลิตที่เก็บได้ในโรงเรือนเฉลี่ย คือ 1,049.77 กิโลกรัมต่อรุ่น โดยราคาจำหน่ายเห็ดเฉลี่ย คือ 41.18 บาทต่อกิโลกรัม มีรายรับทั้งหมดเฉลี่ย คือ 26,068.99 บาท สำหรับแหล่งจำหน่ายพบว่า ร้อยละ 55.0 มีแหล่งหรือตลาดจำหน่ายผลผลิต โดยการไปส่งเอง เช่น ตลาดในท้องถิ่น ตลาดสี่มุมเมือง มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 45.0 มีพ่อค้ามารับซื้อ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเชื้อวุ้น การผลิตเชื้อข้าวฟ่าง การผลิตถุงเชื้อเห็ด การผลิตดอกเห็ด และการผลิตเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์ม คือ มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 1.21, 1.18, 1.38, 1.38 และ 1.37 ตามลำดับ สำหรับปัญหาในการเพาะเห็ดพบว่า เกษตรกรมีปัญหาเชื้อที่ใช้เพาะเห็ดไม่ดี มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 2.7 รองลงมาคือ มีศัตรูเห็ด วัสดุเพาะมีราคาแพง ขาดแหล่งเงินทุน การดูแลรักษา ผลผลิตมีราคาต่ำเนื่องจากคุณภาพไม่ดี และมีปัญหาการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนน้อยที่สุด เกษตรกรมีข้อเสนอแนะในการผลิตเห็ดว่า รัฐควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรมากขึ้น มีการจัดตั้งศูนย์การอบรมเรื่องเห็ด มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำประจำศูนย์ มีการติดตามประเมินผลหลังอบรมมากที่สุด(ร้อยละ 36.7) รองลงมา คือ รัฐควรให้การสนับสนุนแหล่งเงินกู้ หรือวัสดุ-อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด (ร้อยละ 33.3) รัฐควรมีการทดลองค้นคว้า และส่งเสริมเห็ดพันธุ์ใหม่ๆ การผลิตหัวเชื้อ การกำจัดหนอนในแปลงเห็ด (ร้อยละ 16.7) และรัฐควรจัดให้มีศูนย์จำหน่ายผลผลิต และมีการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ามีเพียง(ร้อยละ 13.3) ผลการวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดด้วยสถิติไค-สแควร์ พบว่า ระดับการศึกษา แหล่งรับรู้ข่าวสาร ความถี่ในการรับรู้ข่าวสาร อาชีพหลัก อาชีพรอง รายได้หลัก รายได้รอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มผู้ผลิตเห็ด และการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตบางด้าน ในขณะที่อายุ พื้นที่ถือครอง และการได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิต เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเชื้อวุ้น การผลิตเชื้อข้าวฟ่าง การผลิตถุงเชื้อเห็ด การผลิตดอกเห็ด และการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลาย
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548-07-25
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)
กรมส่งเสริมการเกษตร
25 กรกฎาคม 2548
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างสวนผลไม้และการขยายพันธุ์พืชในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเห็ด ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา) การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผงปรุงรสจากผักพื้นบ้านและเห็ดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกรตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก