สืบค้นงานวิจัย
สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดเทียน 10 พันธุ์
กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดเทียน 10 พันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): The combining ability of 10 Tein corn (Zea may L. Sub species caratina) varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติ บุญเลิศนิรันดร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เชื้อพันธุกรรมมีความสำคัญและเป็นปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์พืช การจัดการเชื้อพันธุกรรม โดยจัดกลุ่มพันธุ์ตามความสามารถในการรวมตัว ช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์พืชมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวโพดเทียนตามสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ ดำเนินการโดยผสมพันธุ์ข้าวโพดเทียนพันธุ์ผสมเปิด 10 พันธุ์แบบพบกันหมด ได้ลูกผสมจำนวน 45 คู่ผสม นำมาปลูกทดสอบผลผลิตร่วมกับพันธุ์พ่อแม่ใน 2 ฤดูปลูก (ฤดูแล้งและฤดูฝน) ในแต่ละฤดูปลูก ปลูกทดสอบด้วยอัตราปลูกต่างกัน 2 อัตรา คือ 8,533 (1 ต้น/หลุม) และ 17,066 ต้น/ไร่ (2 ต้น/หลุม) ในแต่ละการทดลองวางแผนแบบสุ่มในบล๊อคสมบูรณ์ ทำ 2 ซ้ำ พบว่า ปัจจัยจากฤดูปลูก อัตราปลูก และจีโนไทป์มีอิทธิพลต่อผลผลิต และปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์กับฤดูปลูกมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่จีโนไทป์กับอัตราปลูกไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) เมื่อนำค่าเฉลี่ยผลผลิตจาก 4 การทดลองมาวิเคราะห์หาสมรรถนะการรวมตัวของพันธุ์ โดยวิธีของ Gardner and Eberhart (1966) พบว่า พันธุ์ TKKU1 และ TKKU3 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีฝักดก มีอิทธิพลของพันธุ์และสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปเป็นบวกในลักษณะจำนวนฝัก/ไร่ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต พันธุ์ TPTR มีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปเป็นบวกในลักษณะความยาวฝัก จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมเพื่อเพิ่มความยาวฝัก เฮทเทอโรซีสของลูกผสมหรือสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ (SCA) ในลักษณะจำนวนฝักมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยลูกผสมมีค่า SCA อยู่ระหว่าง -2,146 ถึง 2,082 ฝัก/ไร่ เมื่อจัดกลุ่มเฮทเทอโรซีสด้วยค่า SCA ตามลักษณะจำนวนฝัก สามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย TNO, TNW และ THT กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย TSW, TLO และ TMP และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย TKKU3, TSNP, TKKU1 และ TPTR
บทคัดย่อ (EN): Germplasm is an important role and major limiting factor to plant breeding success. Management of germplasm by grouping varieties according to their combining ability can increase the efficiency of plant breeding program. This project aimed to group thein corn varieties using their combining ability. Ten populations of pollinated thein corn varieties were grown for diallel crosses which resulted in obtainng 45 crosses. Yield trials were grown with their parents in two seasons (dry and rainy). In each season, yield trials were performed with two different plant densities including 8,533 (1 plant/hole) and 17,066 plants/rai (2 plants/hole). Each experiment was laid out in RCBD with two replications. The results revealed that yield was affected by genotype, season and plant density, interaction between genotype and season was significantly different (P<0.05) but genotype and plant density interaction was not significantly different in terms of ear number/rai. In regard to general combining ability (GCA), indicated that TKKU1 and TKKU3, prolific genotypes, which had positive varietal effect and positive GCA on ear number/rai, so it appropriated to be parent for increasing yield. TPTR variety showed positive GCA on ear length, therefore it was appropriate to be parent for increasing ear length. Heterosis and specific combining ability (SCA) for ear number were significantly different (P<0.05). SCA values were ranged from -2,146 to 2,082 ears/rai. Three distinct clusters were identified based on SCA. Cluster I comprised three varieties (TNO, TNW and THT) while cluster II had three varieties (TSW, TLO and TMP) and cluster III had four varieties (TKKU3, TSNP, TKKU1 andTPTR)
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดเทียน 10 พันธุ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2554
แผนพัฒนาการวิจัยข้าวโพดเทียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ผลของการใช้กากเมล็ดสบู่ดำต่อสมบัติบางประการของดิน และผลผลิตของข้าวโพดเทียน ต้นทุนการทําธุรกิจข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ผลของวิธีการจัดการวัชพืชแบบต่าง ๆ ต่อการให้ผลผลิตข้าวโพด ลักษณะอาการของโรคใบด่างจากเชื้อ Sugarcane mosaic virus (SCMV) ในข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของถั่วลิสง และข้าวโพดเมื่อปลูกพืชทั้งสองร่วมกัน สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเบียร์ด้วยข้าวโพดเพาะงอก การสร้างพันธุ์ข้าวโพดไร่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวสำหรับเกษตรกรในภาคเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก