สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบองุ่นพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบองุ่นพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Trial Tested the Types of Abroad Grapes in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการไทย-อาร์เมเนียโดยได้รับมอบพันธุ์องุ่น ตั้งแต่ปี 2550-2553 รวมทั้งสิ้น 15 พันธุ์ จากากรทดสอบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ พบว่ามีให้ผลผลิตในปี 2552 ได้แก่พันธุ์ KANGYN, ARENY, RKATSITELE, HAYRENIK และ CARDINAL และผลผลิตในปี 2553 ได้แก่พันธุ์ KANGYN, HAYASTAN (ARMENIA), HAGHTANAK (VICTORY), RKATSITELE, , HAYRENIK, VAROLAGUYN YEREVANI, CARDINAL, KAKHET และ BANANTS ในการปฏิบัติดูแลรักษาได้มีการวางแผนในการให้น้ำในระยะต่างๆ ดังนี้ ระยะก่อนการออกดอก (before floraison) ไม่ให้น้ำหรือน้ำน้อย ในระหว่างการออกดอกติดผล (floraison - varaison) ให้น้ำ 1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์ในรูปน้ำหยดและในช่วง ติดผลถึงผลเปลี่ยนสี (varaison – nouaison) ให้น้ำเต็มที่ ในช่วงผลเปลี่ยนสีถึงเก็บเกี่ยว งดให้น้ำ และในการทดลองความเตรียดของการขาดน้ำในองุ่นผลออกมาได้ถึงระดับเครียด – เครียดมาก (8 – 12 กิโลพาสคาล) ถือเป็นระดับที่น่าพึงพอใจในการผลิตองุ่นเพื่อการผลิตไวน์ แต่เนื่องจากระดับความชื้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจึงจำเป็นต้องป้องกันในเรื่องการเข้าทำลายของโรคแมลงโดยปรับแผนการดูแลที่เหมาะสมต่อไป ส่วนการทดสอบพันธุ์องุ่นที่ได้รับจากโรมาเนีย จำนวน 8 พันธุ์ ขณะนี้อยู่ในระหว่างระหว่างการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ในการศึกษารูปแบบการตัดแต่งกิ่งและรูปแบบค้างในการผลิตองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา และป๊อกดำที่ติดตาบนต้นตอ เริ่มดำเนินการ เดือนมกราคม 2552 พบว่า องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ค้างแบบรั้วมีการเจริญเติบโตของลำต้นสูงสุด ส่วนพันธุ์ป๊อกดำมีการเจริญเติบโตของลำต้นในการใช้ค้างแบบตัววายและแบบรั้วสูง ส่วนผลผลิตพันธุ์ไวท์มะละกา ในค้างแบบตัววายให้ผลผลิตสูงสุด พันธุ์ป๊อกดำ ในค้างแบบตัววาย(แขนเดียว) ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วนพันธุ์ทำไวน์ที่ติดตาแล้วตาแห้ง และไม่มีตาพันธุ์ใหม่ จึงไม่มีข้อมูลการให้ผลผลิต
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบองุ่นพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary) โครงการวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสด และพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless การวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสดสำหรับพื้นที่สูง อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย เกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการส่งออกของประเทศไทย แนวทางการพัฒนาโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาในประเทศไทย ความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันภัยพืชผลในประเทศไทย บทบาทของศาสนาพุทธในการพัฒนาชนบทของประเทศไทย ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) โครงการวิจัยและพัฒนาองุ่นสายพันธุ์ทานสดในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก