สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
ฉัตต์นภา ข่มอาวุธ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง (EN): Outcome Development and Technology Transfer of Coffee Product Development be Farmer Participatory
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฉัตต์นภา ข่มอาวุธ
คำสำคัญ (EN): Coffea Arabica L.
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟที่ได้มาตรฐาน GMP เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ดำเนินการ 3 กิจกรรม 9 การทดลองในปี พ.ศ. 2554-2558 ผลการดำเนินการดังนี้ ได้วิธีการแปรรูปที่ทำให้ได้กาแฟอะราบิกาที่มีคุณภาพดี คือ ผลสดสุกแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป – ลอยน้ำ - ลอกเปลือก - หมัก 48 ชั่วโมงในสภาพน้ำไหล หรือ หมัก 36 ชั่วโมงแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก – ขัดเมือก – ล้าง – ตากบนชั้นแคร่ที่สูง 1.5 เมตร เป็นเวลา 7-14 วัน ได้วิธีการเก็บรักษากาแฟอะราบิกาที่เหมาะสมคือ เก็บรักษาแบบกาแฟกะลา โดยให้มีความชื้นไม่เกินสัดส่วนโดยน้ำหนัก 8 เปอร์เซ็นต์ หรือเก็บรักษาแบบเมล็ดกาแฟ โดยให้มีความชื้นไม่เกินสัดส่วนโดยน้ำหนัก 12-13 เปอร์เซ็นต์ บรรจุในถุงสูญญากาศ ที่หนา 78 ไมครอน ชนิด Multilayer PE ที่มี Oxygen Transmission Rate เท่ากับ 4.28 cc/m2/day และ Water Vapor เท่ากับ 2.14 g/cm2/day บนชั้นตะแกรงสูง 0.5 เมตร ในห้องที่มีอุณหภูมิช่วงเช้า 25?2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 72-78 เปอร์เซ็นต์ ช่วงบ่าย 32?2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 35-42 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 21 เดือน แต่ควรเก็บในถุงบรรจุอีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้รับแสงโดยตรง ได้วิธีการแปรรูปที่ทำให้ได้กาแฟโรบัสตาที่มีคุณภาพดีคือ ผลสดสุกแก่ 70 เปอร์เซ็นต์ – ลอยน้ำ – ลอกเปลือก - ตากแห้ง 7 วัน และวิธีการ คือ ผลสดสุกแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ – ลอยน้ำ - ลอกเปลือก - หมัก 12-16 ชั่วโมง – ขัดเมือก – ล้าง – ตากแห้ง 7 วัน เก็บรักษาเป็นเวลา 12 เดือนในถุงกระสอบป่าน ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก ข้อมูลการปฏิบัติดูแลรักษาตลอดจนถึงวิธีการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ลักษณะทางกายภาพ และคุณภาพการชิมในกาแฟโรบัสตาที่ปลูกใน จ.ชุมพร และได้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก ข้อมูลการปฏิบัติดูแลรักษาตลอดจนถึงวิธีการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ลักษณะทางกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี คุณภาพทางประสาทสัมผัส รูปแบบการคั่ว และสูตรกาแฟร้อนและเย็นแบบเอสเพรสโซ สำหรับเป็นข้อมูลเบื้องต้นและเป็นต้นแบบในกาแฟอะราบิกาที่ปลูกใน 7 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน จ.น่าน จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.แพร่ ซึ่งพบว่า กาแฟอะราบิกาที่ปลูกใน 7 จังหวัดส่วนใหญ่เมล็ดกาแฟมีขนาด 6.3 - 7.1 มิลลิเมตร จำนวน 42.8 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในเกรด 2 ตามมาตรฐานเมล็ดกาแฟอะราบิกาตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้า มีลักษณะร่องสารกาแฟส่วนใหญ่แบบโค้งตื้น และรูปทรงค่อนข้างกลม มีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ คาเฟอีน (Caffeine) เฉลี่ย 14,740 มิลลิกรัมต่อลิตร กรดควินิค (Quinic acid) เฉลี่ย 5,832 มิลลิกรัมต่อลิตร กรดคลอโรจินิก (Chlorogenic acid) เฉลี่ย 147 มิลลิกรัมต่อลิตร ไตรโกเนลไลน์ (Trigonelline) เฉลี่ย 7,221 มิลลิกรัมต่อลิตร พบกลิ่นของถั่วลันเตา (Garden Peas) เฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์ กลิ่นแบคเคอเรนท์ (Blackcurrant) เฉลี่ย 23 เปอร์เซ็นต์ กลิ่นเนย (Butter) เฉลี่ย 28 เปอร์เซ็นต์ กลิ่นคาราเมล (Caramel) เฉลี่ย 29 เปอร์เซ็นต์ กลิ่นถั่วลิสงคั่ว (Roasted peanuts) เฉลี่ย 29 เปอร์เซ็นต์ กลิ่นกาแฟคั่ว (Roasted coffee) เฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์ ได้คะแนนคุณภาพทางประสาทสัมผัส (Sensorial Analysis) เฉลี่ย 3.3 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 ได้รูปแบบการคั่วที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอะราบิกาแต่ละแหล่งปลูก ที่คั่วอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียสคือ การคั่วเป็นเวลา 8 นาที รองลงมาคือ 11 นาที และ 13 นาทีตามลำดับ ได้สูตรกาแฟร้อนและเย็นแบบเอสเพรสโซที่เป็นเมล็ดกาแฟอะราบิกาที่ผ่านการแปรรูปแบบเปียก (ผลสดสุกแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป – ลอยน้ำ – ลอกเปลือก – หมัก 2 คืนในสภาพน้ำไหล – ขัด – ล้าง – ตาก – เก็บนาน 6 เดือน – สี – คัดแยกเกรด คั่วด้วยที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 11 นาที สำหรับคั่วอ่อน 13 นาทีสำหรับคั่วกลาง และ 15 นาที สำหรับคั่วเข้มคือ จ.เชียงใหม่ ได้สูตรร้อนประกอบด้วยกาแฟจากบ้านอินทนนท์ 10 เปอร์เซ็นต์ คั่วกลาง 70 เปอร์เซ็นต์ และบ้านป่าเมี่ยง คั่วเข้ม 20 เปอร์เซ็นต์ และสูตรเย็นประกอบด้วยกาแฟจากบ้านป่าเมี่ยง คั่วกลาง 15 เปอร์เซ็นต์ คั่วเข้ม 85 เปอร์เซ็นต์ จ.เชียงราย ได้สูตรร้อนประกอบด้วย กาแฟจากบ้านวาวี คั่วอ่อน 15 เปอร์เซ็นต์ บ้านดอยล้าน คั่วกลาง 70 เปอร์เซ็นต์ และคั่วเข้ม 15 เปอร์เซ็นต์ และสูตรเย็นประกอบด้วยกาแฟจากบ้านวาวี คั่วกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ คั่วเข้ม 70 เปอร์เซ็นต์ จ.ลำปาง ได้สูตรร้อนประกอบด้วยกาแฟจากบ้านแม่แจ๋ม คั่วอ่อน 10 เปอร์เซ็นต์ คั่วกลาง 70 เปอร์เซ็นต์ และบ้านวังเหนือ คั่วเข้ม 20 เปอร์เซ็นต์ และสูตรเย็นประกอบด้วยกาแฟจากบ้านแม่แจ๋ม คั่วกลาง 15 เปอร์เซ็นต์ และบ้านวังเหนือ คั่วเข้ม 85 เปอร์เซ็นต์ และ จ.แม่ฮ่องสอน ได้สูตรร้อนประกอบด้วยกาแฟจากบ้านห้วยฮ่อม คั่วอ่อน 10 เปอร์เซ็นต์ บ้านขุนยวม คั่วกลาง 20 เปอร์เซ็นต์ และคั่วเข้ม 20 เปอร์เซ็นต์ และสูตรเย็นประกอบด้วยกาแฟจากบ้านขุนยวม และพบว่าวิธีการแปรรูปมีอิทธิพลต่อรูปแบบการคั่วในแต่ละสถานที่ที่มีความแตกต่างของสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสถานที่มีการปลูกพันธุ์ที่แตกต่าง เกิดจากการเพาะเมล็ด โดยข้อมูลดังกล่าวดำเนินการเก็บตัวอย่างไม่ครบทุกสถานที่ เนื่องจากงบประมาณและเวลาจำกัด และสารกาแฟอะราบิกาแต่ละแหล่งมีลักษณะเด่น หรือลักษณะดีและด้อยแตกต่างกันไป ควรนำผลการทดลองมาศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงและแก้ไขจุดบกพร่องในขบวนการผลิตและแปรรูปเพื่อให้ได้กาแฟที่มีคุณภาพและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกาแฟไทย สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอาเซียนเมื่อเปิดการค้าเสรีอาเซียน AEC (Asian Economic Community)
บทคัดย่อ (EN): Outcome development and technology transfer of coffee product development be farmer participatory project were conduct by Chiang Mai Royal Agriculture Research Center during 2011-2015. The objectives are to farmers to develop GMP standard coffee products and acceptable by consumers. The results were as follow. Suitable processing for green coffee of Arabica var. catimor were used mature red coffee fruits (ripen more than 80%) – floated for rejects the green unripe coffee cherries – depulped by machine - submitted 48 hours under water flow or 36 hours under water and cover with plastic bag for fermentation – remove the mucilaginous residues - washed parchment coffee beans - dried on separate plots which height 1.5 meters under sun for 7-14 day to the desired water content of 11–12%. Method for storage Arabica coffee for 21 months was stored as parchment coffee which has the water content 8% or stored as green coffee bean which has the water content between 12 and 13% and bag in an hermetic zip lock bags which thick 78 micron, multilayer PE, oxygen transmission rate 4.28 cc/m2/day, water vapor 2.14 g/cm2/day under condition 25?20 C and 72-78% relative humidity in the morning and 35?420 C and 35-42% relative humidity in the afternoon. Suitable processing for green coffee of Robusta were used mature red coffee fruits (ripen 70%) – floated for rejects the green unripe coffee cherries – depulped by machine - dried on separate plots under sun for 7 day or used mature red coffee fruits (ripen 80%) – floated for rejects the green unripe coffee cherries – depulped by machine – submitted 12-16 hours under water for fermentation – remove the mucilaginous residues - washed parchment coffee beans - dried on separate plots under sun for 7 day to the desired water content of 12–13%. Get information about planting area, cultural practice, pre and post harves, coffee bean characteristics, suitable roasting duration the formula of coffee beans into a beverage as community product in Arabica in the North of Thailand.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การพัฒนาพันธุ์พริกโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 (ปีที่ 2) การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม การพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม การพัฒนาผลิตภาพมะขามหวานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ การมีส่วนร่วมของแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ณ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชผัก โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบเกษตรยั่งยืนในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่งคำ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาปศุสัตว์แบบมีส่วนร่วมสำหรับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการคัดเลือกพันธุ์ข้าว ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลผลิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก