สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก
เพทาย กาญจนเกษร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Study on vegetable production technology for export
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพทาย กาญจนเกษร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การผลิตมะเขือเปราะ ผักชีไทย และมะระจีน เป็นพืชผักสวนครัวที่มีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและประเทศในแถบเอเชีย เกษตรกรมีความนิยมในการผลิตแพร่หลายทั่วประเทศแต่ยังไม่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องเหมาะสม เกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากส่งผลให้เกิดการตกค้างในผลผลิตส่งออก นอกจากนั้นแล้วยังพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร และการติดไปของแมลงศัตรูพืชในผลผลิตสดที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออกนั้นมีความแตกต่างกับการผลิตพืชผักทั่วไปที่ไม่ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพในการรับซื้อผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรต้องผลิตพืชผักให้มีความสมบูรณ์ของพืชปลูก ไม่มีสารเคมีตกค้าง ตลอดจนการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ และการติดไปของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญต่อการส่งออก ดังนั้นจึงทำการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก ประกอบด้วยกิจกรรมการทดลอง 3 กิจกรรมได้แก่ การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเปราะเพื่อการส่งออก การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยเพื่อการส่งออก และการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมะระจีนเพื่อการส่งออก ดำเนินการในแปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ระหว่างปี 2557-2558 เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง และจุลินทรีย์ปนเปื้อนในการผลิตมะเขือเปราะ ผักชีไทย และมะระจีนเพื่อการส่งออก จากการศึกษาพบว่า ในการผลิตมะเขือเปราะควรใช้ระยะปลูก 100 x 100 เซนติเมตรและระยะ 50 x 50 เซนติเมตร และให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช สำหรับการป้องกันกำจัดหนอนเจาะผลนั้นควรใช้ตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช สำหรับการผลิตผักชีไทยพบว่าการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่แตกต่างกันมีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน และการใช้ปุ๋ยเคมีตามผลวิเคราะห์ดินก่อนปลูกให้ผลผลิตสูงกว่าการปฏิบัติของเกษตรกร สำหรับการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบนั้นเกษตรกรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ส่วนการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมะระจีนเพื่อการส่งออกนั้น พบว่า การใช้ปุ๋ยในสัดส่วนเช่นเดี่ยวกับค่าวิเคราะห์ดินต้นมีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตที่ดี สำหรับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟนั้นเกษตรกรควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งให้ผลในการดำเนินงานดีกว่าวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ (ระยะที่ 1) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก