สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
สุนีย์รัตน์ ศรีเปารยะ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Identification of physic nut (Jatropha curcas L.)using random amplified polymorphic DNA technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนีย์รัตน์ ศรีเปารยะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suneerat Sripaoraya
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธเนษฐ โชติกมาศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Thanest Chotigamas
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการรวบรวมพันธุ์สบู่ดำจากทุกภาคของประเทศ มาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม จากพันธุ์ที่รวบรวมได้ทั้งหมด 203 accessions นำ 13 accessions ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงจากที่ปลูกในแปลง รวบรวมพันธุ์ มาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยเทคนิคอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์ชนิด 10 เบส จำนวน 22 ไพรเมอร์ พบว่ามี 17 ไพรเมอร์ ที่ให้ความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอในทั้ง 13 accessions ได้ 143 แถบดีเอ็นเอที่มีขนาดตั้งแต่ 300- 2500 bp จำนวนแถบดีเอ็นเอที่ได้อยู่ในช่วง 5-11 แถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์และมีค่าเฉลี่ย 8.41 แถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์ จัดกลุ่มความเหมือนและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้ Dice’s similarity coefficient และ UPGMA ได้กลุ่มความ เหมือนกันทางพันธุกรรม 3 กลุ่ม กลุ่มแรกมี 9 พันธุ์ คือ PTL PNL PRAE ST BRR D1 KUBD 80 และ CLK กลุ่มที่สองมี 4 พันธุ์ คือ SV8 SV3 SV2 และ SR กลุ่มที่สามเป็นสบู่แดงซึ่งเป็นตัวเปรียบเทียบและไม่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับ สบู่ดำ ได้ค่าดัชนีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมระหว่าง 0.08-0.50 พันธุ์สบู่ดำที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุดคือ พันธุ์ PTL กับ SR โดยให้ค่า similarity index เท่ากับ 0.08 ในขณะที่พันธุ์ PTL และ พันธุ์ PNL มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรม มากที่สุด มีค่า similarity index เท่ากับ 0.50เทคนิคอาร์เอพีดีนี้สามารถใช้ศึกษาความแตกต่างและความใกล้ชิดทาง พันธุกรรมของสบู่ดำได้ ข้อมูลความแตกต่างและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ได้นี้ใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ สบู่ดำในโครงการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This investigation was carried out to collect the physic nutfrom all parts of Thailand. The study aimed to assess the genetic relationship of 13 potential Jatropha accessions 203 collected germplasms of physic nut were collected in over part of the country and were grown in breeding collected field. For estimation of genetic relationships among 13 different high yield potential germplasms of Jatropha, random amplified polymorphic DNA(RAPD) technique based on polymerase chain reaction (PCR) was used for described purpose. Out of 22, 10-random base primers used, 17 primers produced good amplification products and showed polymorphic among physic nut accessions. A total of 143 amplification products were scored and the size of the bands ranged from 300-2500 bp.The number of bands per primer ranged from 5 to 11, with an average of 8.41. The Dice’s similarity coefficient and UPGMA (Unweighted pair group method using arithmetic average) were used for clustering. 13 accessions could be separated into 3 groups with similarity index ranging from 0.08-0.50. PTL PNL PRAE STBRR D1 KUBD 80 and CLKwere in the first group. The second group consisted SV8 SV3 SV2 and SR. Jatropha gossypifolis L. was no genetic relationship with any physic nut accessions. PTL and SR had0.08 similarity index giving the most genetic difference whereas PTL and PNL had the most genetic similarity giving 0.50 similarity index. The scientific data presented in this study suggests that RAPD could be used as a valuable tool for estimation of genetic identification and genetic relationship among germplasms of Jatropha curcas L. These data can be used as basic information for selection to parental plants for physic nut hybridization and breeding program.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=I_012.pdf&id=1606&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกกล้วยไม้ไทยสกุลหวายโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การตรวจสอบพันธุ์และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวโดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี การตรวจสอบพันธุ์ และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว โดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำในชุมชน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของประชากรปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก