สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง
พัชนี ขนิษฐวงศ์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่อง (EN): The Study on Cattle Raising Technology Under The Agricultural Technology Transfer and Service Center Project in Rayong Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชนี ขนิษฐวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Phatchanee Khanittawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พัชราภรณ์ แก้วน้ำใส
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Patcharaporn Keawnamsai
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ การใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อ และปัญหา อุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร โดยศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง ปี 2552 จำนวน 95 ราย ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2552 - มกราคม 2553 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.09 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 77.9 มีอาชีพหลักในการทำสวน ทำไร่ มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 13.99 ไร่ มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 9.06 มีจำนวนโคเนื้อในฟาร์มเฉลี่ย 12.34 ตัว ในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้จากการขายโคเฉลี่ย 22,300 บาท เกษตรกรมีการติดต่อพบปะกับอาสาปศุสัตว์บ่อยครั้งที่สุด และส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารความรู้การเลี้ยงโคเนื้อจากสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ เกษตรกรทั้งหมดผ่านการฝึกอบรมด้านโคเนื้อและส่วนใหญ่ร้อยละ 85.3 เคยรับการฝึกอบรมในรอบปีที่ผ่านมา เกษตรกรร้อยละ 61.1 ไม่เคยไปทัศนศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงโคเนื้อ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ทางด้านการจัดการ ด้านพันธุ์และการผสมพันธุ์ ด้านอาหารและการให้อาหาร ด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อเพียงบางส่วนหรือไม่มีการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ต้องมีการลงทุน ส่วนเทคโนโลยีที่เกษตรกรนำไปใช้มากได้แก่ เทคโนโลยีด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค (การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์) ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาไม่มีเงินทุนจะขยายหรือปรับปรุงสภาพของโรงเรือน พ่อโคพันธุ์ดีหายากและราคาแพง แม่โคผสมไม่ติด เป็นสัดช้า ขาดแคลนหญ้าสดในฤดูแล้งและน้ำท่วมในฤดูฝน ไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้า อาหารสัตว์ราคาแพง ไม่มีความรู้ในการรักษาโรคโคเนื้อ ยารักษาสัตว์ราคาแพง ราคาโคเนื้อตกต่ำ และปัญหาการลักขโมยโคของเกษตรกร
บทคัดย่อ (EN): This study aims to find out some social and economic factors of cattle farmers focusing on public relation, knowledge about cattle raising and technology of cattle raising including the problems that the cattle farmers are encountering. These 95 cattle farmers are only under the agricultural technology transfer and service center project in Rayong province in 2009. This study is practiced during August 2009 to January 2010. Interviewing is the major method used. The statistical methods used are percentage, mean, minimum and maximum. The statistical program is also used in order to get the result statistically. The results of this study are : Most of the cattle farmers are men. Their average age is 47.07 years. 77.9 % of them educated only primary school. The major career are horticulture. The average area occupied is 13.99 rai per farmer. The average cattle in each farm is 12.34 cattle. The average income from selling the cattle is 22,300 baht per year per farm. The cattle farmers have mostly communicated with livestock volunteer farmers compared to the other groups for example government officials. Pamphlet and brochure about the cattle raising technology are the most popular medias that these farmers received. All of the farmers have been trained for the cattle raising course. Especially 85.5 % of them have been trained in the previous year. However 61.1% of them have not yet visited the other cattle farms. Most of the farmers have knowledge on cattle farm management including stock, breeding, feeding, sanitary and disease protection. Advance cattle raising technology is minimal used especially the technology which cost farmers high investment. The most popular technologies which have been used by farmers are cattle sanitary and disease protection. For the cases of problems which the cattle farmers are encountering, there are 1. Lack of money for enlarging business and repairing the farms 2.Good cattle stock is difficultly found. 3. Female cattle stock is hardly breed. 4. Fresh grass is shortage in the summer while as it is flooded in the rainy season. 5. Not enough area for the grass culture 6.Cattle feeding is quite expensive 7. Lack of knowledge on cattle curing 8. Drug for cattle is also expensive 9.The price of cattle sold is quite low and 10. The cattle stolen is still a problem.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักงานปศุสัตว์เขต 2
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://extension.dld.go.th/th1/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=24:2012-03-13-07-05-10&id=7:2012-03-13-02-57-02&Itemid=109
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง
กรมปศุสัตว์
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ภายใต้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ความต้องการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจังหวัดขอนแก่น ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก ตามโครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ตำบลต้นแบบ) ปี2550 การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546 ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยประเมินโครงการฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงแม่โคเนื้อเพื่อผลิตลูก ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี2549 การพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการพัฒนา เกษตรกร ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก