สืบค้นงานวิจัย
การทำมาตรฐานและพัฒนาตำรับสารสกัดยาปราบชมพูทวีป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ นวลแก้ว - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การทำมาตรฐานและพัฒนาตำรับสารสกัดยาปราบชมพูทวีป
ชื่อเรื่อง (EN): Specification and standardization of Yaprabchombhutaweeb and their components
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ นวลแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การทำมาตรฐานและพัฒนาตำรับสารสกัดยาปราบชมพูทวีป” แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ผศ.ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์ รอยพิมพ์โครมาโตกราฟฟีของสมุนไพรเดี่ยว เพื่อจัดทำมาตรฐานข้อกำหนด รวมทั้งพัฒนาวิธีควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของตำรับยาปราบชมพูทวีปทางด้านคุณภาพและปริมาณโดยใช้วิธีโครมาโท กราฟีของเหลวสมรรถนะสูง และพัฒนาวิธีการสกัดสารสำคัญจากตำรับยาปราบชมพูทวีปให้ได้ปริมาณสูง จากการศึกษาวิจัย พบว่า ข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพรเดี่ยวของตำรับยาปราบชมพูทวีปที่ยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานทั้ง 6 ชนิดคือ กัญชาเทศ บุกรอ ลำพันหางหมู เทียนแกลบ หัศคุณเทศ และเหงือกปลาหมอ ได้วิธีควบคุมคุณภาพตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรเดี่ยวในตำรับด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC) และได้วิธีการสกัดยาปราบชมพูทวีปที่สามารถสกัดได้ปริมาณสูงสุดคือ การสกัดด้วยวิธีการหมักด้วยร้อยละ 70 ของเอทานอล โดยใช้อัตราส่วนผงยาต่อตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม ต่อ 10 ลิตร เป็นเวลา 3 วัน หมัก 2 รอบ สามารถสกัดได้ปริมาณ ร้อยละ 30-35 ได้ตำรับยาปราบชมพูทวีปแคปซูลรูปแบบดั้งเดิมน้ำหนักแคปซูลละ 400 มิลลิกรัม และตำรับยาปราบชมพูทวีปแคปซูลรูปแบบสารสกัดน้ำหนักแคปซูลละ 350 มิลลิกรัม เทียบเท่าน้ำหนักยาปราบชมพูทวีปแบบดั้งเดิม 600 มิลลิกรัม สามารถลดปริมาณการรับประทานลงไปครึ่งหนึ่งของยาปราบชมพูทวีปแบบไม่สกัด ตำรับยาที่ได้มีลักษณะทางกายภาพที่ดี ลักษณะของสารผสมมีลักษณะร่วน แห้งดี ไม่จับตัวกันเป็นก้อนเหนียว ความชื้นต่ำ ความแปรปรวนของน้ำหนักแคปซูล การแตกตัวของเม็ดยา ความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญ รวมถึงการละลายและปลดปล่อยตัวยาสำคัญ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้มาตรฐานของสมุนไพรเดี่ยวที่เป็นส่วนประกอบของตำรับยาปราบชมพูทวีปครบทุกตัว สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกวัตถุดิบสมุนไพรในตำรับได้ครบถ้วน ทำให้การเตรียมตำรับมีมาตรฐานสูงขึ้น สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ รวมทั้งสามารถพัฒนาตำรับยาแคปซูลสารสกัดยาปราบชมพูทวีป สามารถลดปริมาณการรับประทานลงไปได้ครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับแบบไม่สกัด    
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-02-25
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-02-24
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำมาตรฐานและพัฒนาตำรับสารสกัดยาปราบชมพูทวีป
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
24 กุมภาพันธ์ 2560
การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การทำมาตรฐานและพัฒนาตำรับสารสกัดยาปราบชมพูทวีป สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง การพัฒนาสูตรตำรับโลชั่นสูตรกลางวันที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหน้าขาว โดยใช้สารสกัดจาก สมุนไพรหม่อน โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก ผลของสารสกัดไพลมาตรฐานต่อการต้านการอักเสบและยับยั้งการหดตัวของหลอดลมหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตะมีน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก