สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Wind Tunnel Type Orchid Moisture Removal Machine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Puttinun Jarruwat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลมทดแทนการใช้พัดลมธรรมดา ช่วยลดระยะเวลามนการลดความชื้นกล้วยไม้ที่ตัดดอกจากสวนเพื่อทำการบรรจุส่งกล้วยไม้ที่ตัดดอกจากสวนเพื่อทำการบรรจุส่งออกสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในฤดูฝนซึ่งดอกกล้วยไม้มีความชื้นสูง เครื่องต้นแบบประกอบไปด้วยห้องลดความชื้นมีขนาดกล้าง 1.2 ม. ยาว 7.5 ม. ชุดพัดลมเป็นชนิดไหลตัดแกกนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 ซม. ยาว 1.2 ม. ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า และชุดลำเลียงกล้วยไม้เข้าห้องลดความชื้นประกอบด้วยชุดเฟืองโซ่และเกียร์ทดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 0.5 แรงม้า ชุดลำเลียงสามารถเคลื่อนที่ได้ 2 ทิศทาง คือเคลื่อนที่ตามลมและเคลื่อนที่สวนลมที่พัดจากชุดพัดลมบริเวณหัวเครื่อง ภายในห้องลดความชื้นสามารถควบคุมอุณหภูมิลมได้โดยใช้หัววัดอุณหภูมิและควบคุมผ่านตู้ควบคุมซึ่งติดตั้งบริเวณด้านข้างของเครื่อง ในการทดลองทำการทอสดบเปรียบเทียบระยะเวลาในการลดความชื้นกล้วยไม้ด้วยการใช้เครื่องต้นแบบ และการใช้พัดลมที่โรงคัดบรรจุของผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้ทั้งในช่วงฤดูยและช่วงนอกฤดูฝน และตรวจสอบคุณภาพของกล้วยไม้หลังการลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้นอกฤดูฝนและในฤดูฝนใช้ระยะเวลา 30 และ 90 นาที ในขณะที่เครื่องต้นแบบใช้ระยะเวลาน้อยกว่าที่ 7.5 นาที ในช่วงนอกฤดูฝน และ 15 นาทีในช่วงฤดูฝน โดยคุณภาพของดอกกล้วยไม้ที่ผ่านการลดความชื้นมีสภาพความสดไม่แตกต่างกันและมีอายุการปักแจกันได้นาน 12-14 วัน
บทคัดย่อ (EN): A wind tunnel type orchid moisture removal machine was fabricated to replace an using fan blowing direct at the newly cut orchids for moisture removal prior to packing for export, especially during rainy season when orchids contain high moisture. The prototype machine composed of a moisture removal chamber with dimensions of 1.2x7.5 m (width x length), a cross flow fan with diameter of 40 cm. and the length of 1.2 meter driven by a 2 hp electrical motor, and conveyor to transport orchids into the chamber driven by a o.5 horspower, and electrical motor with speed reducer gear box. The conveyor is capable of moving in 2 directions. namely the same wind direction or against. Temperature inside the chamber could be controlled by using temperature sensor and a control unit mounted at the side of the machine. The time for moisture removal by the prototype machine and the ordinary direct showing at orchid were compared quality of orchid after moisture removal was determined. Results showed that the fan had been used moisture removal time 30 minutes in rainy of season and 90 minutes in rainy season while the prototype machine could reduce moisture removal time at 7.5 minutes in rainy off season and 15 minutes in rain season. Quality o orchids after moisture removal from he prototype machine did not affect and had vase life 12-14 days.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม
กรมวิชาการเกษตร
2555
เอกสารแนบ 1
โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ การลดความชื้นข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในฤดูนาปีด้วยเครื่องลดความชื้นแบบใช้ลมร้อน การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ โครงการพัฒนาแผนแบบเครื่องลดความชื้นและบดย่อยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน ผลของการใช้เครื่องอบลดความชื้นต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ ศักยภาพของเม็ดดูดความชื้นซีโอไลท์ในการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก