สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟสดโรบัสต้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
พิมล วุฒิสินธ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟสดโรบัสต้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Robusta Washed Processing Technology for Farmer Group
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิมล วุฒิสินธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิมล วุฒิสินธ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การผลิตสารกาแฟโดยกรรมวิธีเปียก เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นการผลิตที่ทำให้ได้สารกาแฟที่มีคุณภาพดีกว่ากรรมวิธีแบบแห้ง เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้จากมูลค่าเพิ่มของสารกาแฟโรบัสต้า จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยทดสอบเทคโนโลยีและพัฒนาเครื่องจักรกลการแปรรูปสดกาแฟโรบัสต้า ซึ่งประกอบด้วย เครื่องลอกเปลือกสดพร้อมขัดเมือก เครื่องอบแห้ง และ เครื่องสีกาแฟ การศึกษาทดสอบเทคโนโลยีการแปรรูปสดแบบต่างๆ พบว่า มีปริมาณทางกายภาพไม่แตกต่างกัน แต่กาแฟที่ได้จากกรรมวิธีสีเปียก ขัดเมือก ล้างน้ำหรือไม่ล้างน้ำก่อน ผึ่งลมกลางคืนแล้วตากจนแห้ง มีคุณภาพการชิมรสชาติดีกว่ากรรมวิธีอื่น การทดสอบเครื่องลอกเปลือกสดพร้อมขัดเมือกที่พัฒนาขึ้นพบว่า ที่รอบหมุนแกนล้างเมือก 580 รอบ/นาที ได้อัตราการทำงาน 423.68 กิโลกรัม/ชั่วโมง ใช้ปริมาณน้ำ 0.024 ม3/ชั่วโมง กะลาแตกก่อนและหลังการล้าง 2.56 และ 7.24 % สิ้นเปลืองพลังงาน 0.083 กิโลวัตต์/กิโลกรัม เครื่องอบแห้งที่พัฒนามีความสามารถในการอบกาแฟกะลาโรบัสต้าได้ครั้งละ 1,000 กิโลกรัม ใช้เวลาอบแห้งแต่ละครั้ง 20-22 ชั่วโมง ที่ความชื้นเมล็ดกาแฟเริ่มต้น 65 % ลดลงเหลือ 13% มาตรฐานเปียก ปริมาณการใช้แก๊สหุงต้ม 69 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 2.88 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีค่าประสิทธิภาพความร้อน 82% เครื่องสีกาแฟกะลาโรบัสต้าที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนขัดสี 2 ขั้นตอนคือ กะเทาะเปลือกหรือกะลาออกก่อนด้วยชุดกะเทาะเปลือกแบบลูกยาง และขัดสีเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นในด้วยชุดขัดสีแบบแกนโลหะ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ผลการทดสอบพบว่า ระดับการสีหรือขนาดน้ำหนักถ่วง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำงานและคุณภาพของสารกาแฟ เครื่องต้นแบบมีความสามารถในการสีกาแฟเปลือกโรบัสต้า 200 -300 กิโลกรัม/ชั่วโมง และกาแฟกะลาอาราบิก้า 180-200 กิโลกรัม/ชั่วโมง ปริมาณเมล็ดแตก 2–7 % ขึ้นอยู่กับระดับการสีและคุณภาพกาแฟ
บทคัดย่อ (EN): Dry processing is simple and popular to process Robusta coffee. Whereas wet processing, common practice to process Arabica coffee, is regarded as producing a higher quality green bean. Thus to improve the quality of Robusta coffee, technology and machines for washed processing were then developed and tested. The experiment was set up to compare physical quantity and cup quality of Robusta green been produced from different wet processing treatments. The result showed that there was no significantly difference on physical parameters. However, the treatments:- pulped, de-mucilaged, washed or unwashed, left overnight then sundry, showed the best cup quality. The technology transfer constraint was the green bean price fluctuation then the producer and buyer had no confidence to invest in innovation of Robusta processing. The machine combining pulper and de-mucilager was developed. Test result showed that at 580 rpm of de-mucilager shaft speed it could process cherry coffee 423.68 kg/hr with 0.024 m3/hr of water consumption and 0.083 kW/kg of power consumption. Broken parchment was 2.56% after pulping and 7.24 % after de-mucilaging. Performance test of the developed rotary dryer revealed that it was capable to dry parchment coffee 1000 kg/batch with drying time of 20-22 hr for reducing moisture content from 65 % to 13 % (wet basis). As fuel, cooking gas (LPG) was consumed 69 kg or 2.88 kg/hr with 82% heating efficiency. The two steps coffee huller was designed and constructed to test its performance at various conditions. It consisted of a rubber roll huller and a friction polisher driven by a 3 Hp electric motor. Result of the experiment showed that hulling degree was the factor most influencing the performance of the machine. The machine could hull parchment coffee at 180 - 200 kg/h and cherry coffee at 200 - 300 kg/h. Percentage of broken was averaged 2 - 7 % depending on hulling degree and quality of coffee.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟสดโรบัสต้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
กาแฟเพื่อสุขภาพ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดชุมพรเปรียบเทียบกับการปลูกกาแฟอย่างถูกต้องและเหมาะสม(GAP) การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดชุมพรเปรียบเทียบกับการปลูกกาแฟอย่างถูกต้องและเหมาะสม(GAP) ความเป็นมาของกาแฟโรบัสต้า การเปรียบเทียบวิธีการเปลี่ยนยอดกาแฟ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับเกษตรกรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร การศึกษาข้อคิดเห็นของเกษตรกรนนทบุรีที่มีต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับพริก บทบาทของกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อธุรกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก