สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ในการควบคุมโรรเหี่ยวของของที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ในการควบคุมโรรเหี่ยวของของที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum
ชื่อเรื่อง (EN): Development Bioproduct from Bacillus subtilis BS-DOA 24 strain for Controlling Bacterial Wilt of Ginger (Ralstonia solanacearum)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nuttima Kositcharoenkul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แบคทีเรีย Bacillus subtilis จํานวน 135 ไอโซเลท แยกจากตัวอย่างดิน รากพืช และปุ๋ยคอกที่เก็บมาจาก 9 จังหวัด นําไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของขิง ในห้องปฏิบัติการ สามารถคัดเลือกได้แบคทีเรียปฏิปักษ์ จํานวน 8 ไอโซเลท (BS-DOA 24, BS-DOA 69, BS-DOA 97, BS-DOA 108, BS-DOA 114, BS-DOA 123 BS-DOA 125 และ BS-DOA 132) จากนั้นนําแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งหมด ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคเหี่ยวของขิงในสภาพเรือนทดลอง พบว่าแบคทีเรีย B. subtilis BS-DOA 24 และ BS-DOA 123 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของขิงได้ 60% และนําแบคทีเรีย B. subtilis BS-DOA 24 และ BS-DOA 123 ไปทดสอบต่อในสภาพแปลงทดลอง พบว่า B. subtilis BS-DOA 24 สามารถควบคุมโรคได้ 68% จากนั้นนําแบคทีเรีย B. subtilis BS-DOA 24 ไปพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์สูตรผงสําเร็จ โดยใช้ ผง talcum เป็นสารพาในอัตรา 1:4 (V:W) ได้ปริมาณแบคทีเรียปฏิปักษ์ 1.1x10 10 CFU/g ชีวภัณฑ์นี้ สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลา 12 เดือนที่อุณหภูมิห้อง และ 15 เดือน ที่อุณหภูมิ 4 °ํซ ยังคงมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคในเรือนทดลองได้ 60% และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคในสภาพแปลงทดลองที่มีการระบาด ของโรคเหี่ยวของขิงได้ 62-65% จากนั้นนําชีวภัณฑ์แบคทีเรียปฏิปักษ์ BS-DOA 24 ไปทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของขิงในสภาพแปลงเกษตรกร ที่จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่ามีประสิทธิภาพ ในการควบคุมโรคในแปลง เกษตรกร 62% และได้ผลผลิต 2,260 กก./ไร่ ลจากการวิจัยนี้สามารถนําชีวภัณฑ์แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ที่ได้ไปพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
บทคัดย่อ (EN): A collection of 135 isolates of Bacillus subtilis was obtained from soil, manure and roots of chili, tobacco, banana, Siam tulip, potato and tomato across 9 provinces of Thailand. All isolates were laboratory tested for inhibiting growth of Ralstonia solanacearum. Eight isolates of B. subtilis viz. BS-DOA 24, BS-DOA 69, BS-DOA 97, BS- DOA 108, BS-DOA 114, BS-DOA 125 and BS-DOA 132 were found as effective antagonist of R. solanacearum. Afterward, the effectiveness of these 8 isolates was verified in the greenhouse experiment. Ginger rhizomes were soaked into solutions with 8 different isolates of B. subtilis before being planted in soil mixed with R. solanacearum . The results showed that only isolates of BS-DOA 24 and BS-DOA 123 could control the bacterial wilt in ginger for 60%. The BS-DOA 24 and BS-DOA 123 isolates were selected for the field experiment. Isolate of BS-DOA 24 suppressed the said disease in ginger for 68%. Thus, the BS-DOA 24 isolate of B. subtilis was selected to develop for R. solanacearum antagonist powder. The appropriate ratio of BS-DOA 24 bacteria per talcum was 1 : 4 (v/w) which induced the highest population of BS-DOA 24 to 1.1 x 10 10 CFU/g. After storing at ambient air (ca.30 ํC) for 12 months and at 4 ํC for 15 months, this antagonist powder showed the efficiency to control the bacterial wilt of ginger in greenhouse and wilt infested field up to 60 and 65%, respectively. The experiment was further carried out at the farmer’s field at Phetchabun Province, where the BS-DOA B. subtilis could control the disease of bacterial wilt for 62% with yield of 2,260 kg/rai (ca. 361.6 kg/ ha). The results suggest that antagonist powder based on BS-DOA 24 B. subtilis could be a potential source to control the bacterial wilt disease and for further commercial development.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ในการควบคุมโรรเหี่ยวของของที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum
กรมวิชาการเกษตร
2557
เอกสารแนบ 1
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาข้าราชการกรมประมง การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าวในสภาพไร่ โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ NSRS 89-24 และ NSRS 89-26 การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว การปรับปรุงสายพันธุ์และการวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนในแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis เพื่อพัฒนาโปรตีน Vip3A เป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับเชื้อ Vibrio parahaemolyticus และ V. vulnificus โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก