สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อนันต์ วงเจริญ, ชุตินันท์ ชูสาย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Controlling of leaf spot disease caused by Colletotrichum sp. and termites that are cause damage to Para Rubber tree in Northeastern
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดของยางพาราโดยเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ด้วยการใช้เทคนิค dual culture assayพบว่า เชื้อรา T.harzianum GR03 และ T. ghanense GR06 สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย C. gloeosporioides แตกต่างจากกรรมวิธีควบคุมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยเชื้อรา T. harzianum GR03 และ T. ghanense GR06 มีกิจกรรมการยับยั้งแบบการเป็นปรสิต และการเจริญแข่งขันครอบครองพื้นที่ ตามลำดับ การทดสอบการสร้างสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides พบว่า เชื้อรา T. harzianum GR03 และ T. ghanense GR06 สามารถสร้างสารที่มีผลต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma spp. ในการสร้างสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides พบว่า เชื้อรา T. harzianum GR03 และ T. ghanense GR06 สามารถสร้างสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ในแปลงยางพาราศึกษาที่มีการเข้าทำลายของปลวก มีคุณสมบัติทางเคมีต่างๆ ของดินต่ำมาก ปลวกเข้าทำลายต้นยางพาราในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน โดยปลวกกัดกินเปลือกต้นยางพารา ทำให้ผลผลิตน้ำยางลดลงและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา โดยต้นยางพาราที่ไม่มีปลวกเข้าทำลาย มีความยาวรอบต้นยางพาราเพิ่มขึ้นมากกว่าต้นยางพาราที่มีปลวกเข้าทำลาย
บทคัดย่อ (EN): The inhibition of mycelial growth of Colletotrichum gloeosporioides, caused of leaf spot of para rubber tree, was assayed by dual culture technique. The result showed that T. harzianum GR03 and T. ghanense GR06 were significantly (P<0.01) inhibited the growth of C. gloeosporioides compared with control. The inhibitory activities of T. harzianum GR03 and T. ghanense GR06 on the growth of C. gloeosporioides namely mycoparasite and competition, respectively. The assay of secondary metabolite of Trichoderma spp. was done. The result showed that T. harzianum GR03 and T. ghanense GR06 were significantly (P<0.01) inhibited the growth of C. gloeosporioides compared with control. The test of volatile organic compound showed T. harzianum GR03 and T. ghanense GR06 were significantly (P<0.01) inhibited the growth of C. gloeosporioides compared with control. The chemical properties of soil in Para rubber tree study plots where are destroyed by termite was very low. Termite could destroy Para rubber tree in the dry season more than in the rainy season. Termite feeding on the bark of Para rubber tree was affected on the reduction of latex yield and the growth of Para rubber tree. Para rubber tree is undestroyed by termite had the length of the trunk more increase than the destroyed one.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2560
การศึกษาความเสียหายและลักษณะการเข้าทำลายของปลวกในต้นยางพารา จังหวัดขอนแก่น การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Corynespora cassiicola สาเหตุโรคใบจุดก้างปลาของยางพาราโดยชีววิธี ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา ศึกษาอุณหภูมิ, ความชื้นและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา การจัดจำแนกเชื้อสาเหตุโรคที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell;Arg) การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การศึกษามูลเหตุวิทยาและระบาดวิทยาของโรคใบจุด ในต้นกล้ายางพารา พันธุ์ RRIM 600 การคัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อใช้ในการควบคุมโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthore spp. และโรครากขาวที่เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus การควบคุมโรคใบจุดนูนและใบจุดก้างปลาของกล้ายางพารา (Hevea brasiliensis Müll. Arg.) โดยชีววิธีด้วยการใช้เชื้อ Trichoderma spp. ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก