สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดของกะหล่ำปลี
จิราภา จอมไธสง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดของกะหล่ำปลี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิราภา จอมไธสง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดกะหล่ำปลีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตการตลาดของกะหล่ำปลีรวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ประชากรที่ทำการศึกษาเป็นเกษตรกรจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน เพชรบูรณ์ หนองคาย มหาสารคาม และเพชรบุรี จำนวน 360 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เกษตรกรและข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทำการศึกษาในช่วงเดือน กรกฎาคม 2537 - ธันวาคม 2538 ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลี อยู่ระหว่าง 45,400 ไร่ - 59,000 ไร่ผลผลิตอยู่ในช่วง 129,000 ตัน - 154,000 ตันต่อปี แหล่งผลิตที่สำคัญคือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ต้นทุนการผลิตกะหล่ำปลี ไร่ละ 4,193 บาท เกษตรกรได้รับผลตอบแทนไร่ละ 7,336 บาท ผลผลิตกะหล่ำปลีร้อยละ 90-95 เข้าสู่ตลาดบริโภคสด ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องในวิถีการตลาดกะหล่ำปลีคือ ผู้รวบรวมในท้องถิ่น พ่อค้าขายส่ง โรงงานกะหล่ำปลีดองตากแห้ง โรงงานตังฉาย และผู้ค้าปลีก สภาพการผลิตของเกษตรกร ปรากฎว่าเกษตรกรส่วนมากร้อยละ 51.94 ปลูกกะหล่ำปลีในสภาพพื้นที่ราบ ขนาดพื้นที่ปลูกอยู่ระหว่าง 6-10 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 151-200 กรัมต่อไร่ เกษตรกรทั้งหมดเพาะกล้าโดยวิธีหว่าน เกษตรกรร้อยละ 62.5 คลุมแปลงกล้าโดยใช้ฟางเป็นวัสคุคลุม เกษตรกรร้อยละ 81.39 ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในแปลงกล้าโดยใช้สูตร 20-20-0 และจะย้ายปลูกเมื่อกล้ามีอายุระหว่าง 30-35 วัน เกษตรกรร้อยละ 87.5 ใส่ปุ๋ย วิทยาศาสตร์ในแปลงปลูกซึ่งส่วนมากใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 2 ครั้ง ศัตรูพืชที่สำคัญคือ หนอนใยผัก เกษตรกรป้องกันและกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมี ทุก 5-7 วัน และเก็บเกี่ยว เมื่อกะหล่ำปีมีอายุ ระหว่าง 60-65 วันหลังย้ายกล้า และจะเก็บแขนงกะหล่ำปลีขายเพื่อเพิ่มรายได้ หลังตัดหัวกะหล่ำปลีแล้ว 15 วัน เกษตรกรขายผลผลิตในลักษณะเหมาไร่ ผู้รับซื้อจะมีทั้งพ่อค้าเร่ ผู้รวบรวมในท้องถิ่น และนายหน้าผู้มาติดต่อ เกษตรกรทั้งหมดมีปัญหาในเรื่องโรคแมลงศัตรูพืช ข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือ ต้องการความรู้ในเรื่องการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูกะหล่ำปลี ความช่วยเหลือในด้านราคา ปัจจัยการผลิต และการรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิต ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกะหล่ำปลีนอกฤดู และลดพื้นที่การปลูกกะหล่ำปลีในฤดู ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน เมล็ดพันธุ์ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในเรื่อง ประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในการใช้เป็นพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลี ควรมีการวิจัยปรับปรุงพันธุ์กะหล่ำปลีทนร้อน ศึกษาการขยายพันธุ์กะหล่ำปลีโดยใช้แขนง ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการผลิตการตลาดให้เกษตรกรทราบอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และรวมกลุ่มผู้ผลิตเพื่อรวบรวมผลผลิตสู่ตลาดโดยตรง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนกรกฎาคม 2537 - ธันวาคม 2538
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดของกะหล่ำปลี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สถานภาพและปัญหาในระบบการผลิต การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดของผักเศรษฐกิจในเขตจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยการศึกษาระบบการผลิตสับปะรด การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การเปรียบเทียบคุณภาพของกะหล่ำปลีที่ผลิตโดยระบบอินทรีย์และระบบปกติระหว่างการเก็บรักษา การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก