สืบค้นงานวิจัย
การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เกศสุดา สิทธิสันติกุล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Developing Marketing Value-added from Organic Rice at Doi Sa Ket District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกศสุดา สิทธิสันติกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาด ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ไปช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ข้าวอินทรีย์ และเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวอินทรีย์ ที่สามารถนาไปเป็นต้นแบบแก่ชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่อื่น ซึ่งประกอบด้วยโครงการการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดข้าวอินทรีย์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ การสร้างนวตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษแก่ชาวนาข้าวอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวอินทรีย์ และการนาภูมิปัญญาล้านนามาแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร พื้นที่ดาเนินงานอยู่ที่ตาบลลวงเหนือ อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการจัดเสวนา สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา t-test และ ANOVA ผลการประยุกต์ใช้องค์ความรู้พบว่า ในการกาหนดกลยุทธ์การตลาดข้าวอินทรีย์ เริ่มจากการศึกษาข้อมูล การนาข้อมูลไปตรวจสอบและวิเคราะห์ร่วมกับชุมชน และการนาเครื่องมือ TOWs Matrix ไปใช้ในการกาหนดกลยุทธ์การตลาดร่วมกับชุมชน ส่วนการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีการใช้วิธีการสารวจความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การนาผลการสารวจไปออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การทดลองจัดการเรียนการสอนจริง และการประเมินผลโดยผู้จัดการเรียนการสอน ผลของจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความต้องการของผู้เรียนนาไปสู่การค้นนวตกรรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ได้แก่ หนังสือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น และแอพพลิเคชัน “ข้าวไทย” สาหรับส่วนการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแปรรูปข้าวอินทรีย์ เริ่มจากการสารวจความต้องการสินค้าแปรรูปข้าวอินทรีย์ การนาความต้องการไปกาหนดแนวทางการแปรรูปข้าวอินทรีย์บนฐานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการ แปรรูป การทดลองสินค้าแปรรูปไปจัดจาหน่ายและการประเมินความพึงพอใจ ซึ่งพบว่าผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อสินค้าข้าวอินทรีย์แปรรูปที่เป็นข้าวควบไทลื้อสูงที่สุด รองลงมาคือ ข้าวล้อมเหรียญซึ่งเป็นของที่ระลึก และข้าวแต๋น ผลการสังเคราะห์การประยุกต์ใช้ความรู้ค้นพบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์สู่การเป็นต้นแบบในชุมชนอื่น ดังนี้ 1) การเสริมศักยภาพด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน โดยใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้บนความต้องการของชุมชนในรูปแบบการบรรยายโดยตรง การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วม และการสร้างการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างเป็นชั้นตอน 2) การให้ความสาคัญกับการจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาด ที่ควบคู่ไปกับการสารวจตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค และกาหนดกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอย่างสม่าเสมอ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ควรคานึงถึงการแปรรูปข้าวอินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง สามารถนาไปเป็นของฝากหรือของที่ระลึกได้ ด้านสถานที่จัดจาหน่ายต้องเข้าถึงง่ายและหลากหลาย ด้านราคา ควรกาหนดให้หลากหลายและคุ้มค่ากับการซื้อ และควรจัดให้มีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง 3) การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ควรเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทักษะการพูดและการฟังตามความต้องการของชุมชน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการสื่อสารและขยายกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ ทั้งนี้จาเป็นต้องมีการพัฒนานวตกรรมการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง โดยเน้นให้สามารถสนทนาเบื้องต้นได้ อธิบายสรรพคุณของข้าวและสินค้าแปรรูปข้าวได้ และสามารถต่อรองราคาซื้อขายได้
บทคัดย่อ (EN): This program was aimed to apply knowledge of marketing strategy, English communication, and Lanna local wisdom for enhancing organic rice value-added, and synthesize approaches for enhancing organic rice value-added which will be beneficial for other agriculture communities. In this program, there were three projects:, Developing Marketing Strategy of Organic Rice for Value-added, English Communicative Innovation for Organic Rice Farmers and Entrepreneurs to Promote Value Added, and Incorporating Lanna Wisdom to process Organic Rice to promote value-added to Organic Rice. The study area was located at Luang Neua Sub-district, Doi Sa Ket District, Chiang Mai Province. Data were derived from questionnaires, interviews, focus groups, and seminar. Qualitative data were analyzed by the method of content analysis and quantitative data were analyzed by descriptive statistics, t-test, and ANOVA. The results of applying knowledge indicated that the steps of forming marketing strategies consisted of data collection, data checking and analysis with participants, using Tows Matrix to form marketing strategies. Developing English skills also required surveying the participant needs before design teaching classes. Then, teaching English classes were evaluated which led to create self-English teaching innovation like book for basic conversation and application of Thai rice. In addition, processing organic rice focused on action learning; surveying the needs for organic rice based on local wisdom, forming approaches for processing organic rice, organizing workshop for processing organic rice, and evaluating processed products from buyers. The most satisfied processed product was rice chip then, rice grain coin and crispy organic rice were less satisfied, respectively. The results from synthesizing knowledge application also indicated the approaches for enhancing organic rice value-added which will be beneficial for other agriculture communities: 1) empowering abilities of communities in value-added organic rice by teaching participants directly based on the needs of participants, organizing activities that allowed to share data, information, knowledge, and experiences, and managing the process of action learning,2) focusing on marketing strategies which involved survey of consumer behavior and need, SWOT analysis, and marketing mix; especially, processed products indicating identity and suitable as gifts or souvenir, various and easy access location, suitable and valuable price, and continuous arrangement of promotion, 3) continuing to develop English communication skill especially listening and speaking based on community needs to enhance the opportunities to expand marketing of foreign customers; however, self-English teaching innovation is essential for learning basic conversation, bargaining, and explaining properties, organic processed products.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-01-026
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 148,320
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดข้าวอินทรีย์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปยางพาราของสหกรณ์กองทุนสวนยางในจังหวัดสงขลา โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทข้าวหอมมะลิผ่านการสื่อสารการตลาดสู่ตลาดอาเซียน การพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชน ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผลของอัตราปุ๋ยซิลิกอนต่อการควบคุมโรคไหม้และผลผลิตข้าวอินทรีย์ การศึกษาสมบัติของแป้งหัวมันเพิ่มและการใช้ประโยชน์เพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของชุมชนตำบลเนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมต่อการจัดภูมิทัศน์วัดในเขตเวียงโบราณ กรณีศึกษา วัดสองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาระบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่ ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก