สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Cashes (Anacardium occidentale L.)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ในแหล่งปลูกต่างๆ ดำเนินการ 2 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เริ่มดำเนินการ ตุลาคม 2554 สิ้นสุด กันยายน 2558 ระยะเวลา 4 ปี เพื่อหาสายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์พันธุ์ใหม่ที่มีผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรที่ดี หรือเทียบเท่ากับพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร คือ ศรีสะเกษ 60-1 และศรีสะเกษ 60-2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี (พันธุ์) คือ กรรมวิธีที่ 1 38/16x34/4(1) กรรมวิธีที่ 2 38/16x34/4(2) กรรมวิธีที่ 3 17/3x34/13 กรรมวิธีที่ 4 17/3x37 w/2 กรรมวิธีที่ 5 ศรีสะเกษ 37w-2 กรรมวิธีที่ 6 นครพนม 3-1 กรรมวิธีที่ 7 ศรีสะเกษ 60-1 และ กรรมวิธีที่ 8 ศรีสะเกษ 60-2 โดยให้ กรรมวิธีที่ 7 และ 8 เป็นตัวเปรียบเทียบ ทำการทดลองโดยปลูกต้นพันธุ์ที่ได้จากการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง (Grafting) ระยะปลูก 6x6 เมตร ผลการทดลองพบว่า มะม่วงหิมพานต์พันธุ์ใหม่ให้ลักษณะทางการเกษตรสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้ง 2 พันธุ์ เมื่ออายุ 4 ปี โดยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ พันธุ์นครพนม 3-1 38/16x34/4(2) 17/3x34/13 17/3x37w/2 และ 38/16x34/4 (1) พันธุ์ที่ให้น้ำหนักเมล็ดเนื้อในต่อเมล็ดสูง คือ พันธุ์ 38/16x34/4(2) นครพนม 3-1 17/3x34/13 38/13x34/4(1) และศรีสะเกษ 37w-2 และพันธุ์ที่ให้เปอร์เซ็นต์กะเทาะสูง คือ พันธุ์ 38/16x34/4(1) 38/16x34/4(2) ศรีสะเกษ 37w-2 และนครพนม 3-1 ส่วนที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ พันธุ์ 38/16x34/4(1) 17/3x37w/2 38/16x34/4(2) และ 17/3x34/13 พันธุ์ที่ให้น้ำหนักเมล็ดเนื้อในต่อเมล็ดสูง คือ พันธุ์ 38/16x34/4(2) นครพนม 3-1 ศรีสะเกษ 37w-2 และ 17/3x34/13 และพันธุ์ที่ให้เปอร์เซ็นต์กะเทาะสูง คือ พันธุ์นครพนม 3-1 38/16x34/4(2) 38/16x34/4(1) และ 17/3x37w/2
บทคัดย่อ (EN): The regional yield trials of cashew nut (Anacardium occidentale L.) were conducted at two different locations, Si Sa Ket Horticultural Research Center and Jantaburi Horticultural Research Center for 4 years duration, during 2012–2015. The objective of these studies were to evaluate yield potential of six cashew nut (Anacardium occidentale L.) new varieties that having a good yield and agronomic characteristics or a similar to Si Sa Ket 60-1 and Si Sa Ket 60-2 varieties which are officially recommended by the Department of Agriculture. A randomize complete block design (RCB) was used with four replications. Eight varieties, including 38/16x34/4(1), 38/16x34/4(2), 17/3x34/13, 17/3x37 w/2, Si Sa Ket 37w-2, Nakhon Phanom 3-1 with 2 controls, Si Sa ket 60-1 and 60-2 varieties were compared. Grafted cashew nut varieties were planted at spacing of 6x6m. The results showed that the cashew nut new varieties were given greater yields than both control varieties at year 4. The results at Si Sa Ket Horticultural Research Center location showed that the Nakhon Phanom 3-1, 38/16x34/4(2), 17/3x34/13, 17/3x37w/2 and 38/16x34/4 (1) varieties were given the high yields per tree. The 38/16x34/4(2), Nakhon Phanom 3-1, 17/3x34/13, 38/13x34/4(1) and Si Sa Ket 37w-2 varieties were given the high kernel weights. And the 38/16x34/4(1), 38/16x34/4(2), Si Sa Ket 37w-2 and Nakhon Phanom 3-1 varieties were given the high percent kernel recovery rates. The results at Jantaburi Horticultural Research Center location found that the 38/16x34/4(1), 17/3x37w/2, 38/16x34/4(2) and 17/3x34/13 varieties were given the high yield per tree. The 38/16x34/4(2) Nakhon Phanom 3-1, Si Sa Ket 37w-2 and 17/3x34/13 varieties were given the high kernel weight. And the Nakhon Phanom 3-1, 38/16x34/4(2), 38/16x34/4(1) and 17/3x37w/2 varieties were given the high percent kernel recovery rates.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี ชุดโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม กาวจากแป้งมันสำปะหลัง และจากน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่ทนทานต่อแมลงบั่ว และมีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ การวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ไหมให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคต่างๆ ของประเทศไทย โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไหมที่ต้านทานโรคแกรสเซอรี่ และพัฒนาเทคโนโลยี การป้องกันโรคแกรสเซอรี่ในภาคเกษตรกร การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ยางชุด 800 เพื่อการพัฒนาประชากรยางพารา โดยวิธีผสมเปิด การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก