สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ฉันทนา วิชรัตน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Production situation and environmental effects on fruit yield and capsaicin yield in thai-commercial at Chiangmai and Chiangrai Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉันทนา วิชรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chantana Wicharatana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Capsaicin
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพ และปริมาณสาร Capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ (1) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการผลิต ต้นทุนการผลิตปัญหาและอุปสรรคในการผลิตพริกในภาคเหนือเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเพื่อหาข้อมูลความเป็นไปได้ของการใช้พันธุ์พริกสําหรับอุตสาหกรรมผลิตสาร Capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าที่มีอยู่ของไทยและที่นําเข้าจากต่างประเทศ และ (2) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของพริกเพื่อพัฒนาการผลิตพริกต่อไปในอนาคต โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกพริก การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์คุณภาพของดินการ วิเคราะห์หาปริมาณสาร Capsaicin และการรวบรวมข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ต่างๆ ที่จะมีผลต่อปริมาณสารCapsaicin การศึกษาสถานภาพการผลิตพริกในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายพบว่าการปลูกพริกของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร เป็นผู้มีความรู้ระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีอายุ 41 – 50 ปี และมีแนวโน้มว่าผู้ที่มีอายุน้อยทําอาชีพปลูกพริกน้อยลง มีแรงงานใช้ในครอบครัวประมาณ 2 – 3 คน มีการจ้างแรงงานในการปลูกพริกเป็นครั้งคราว เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองไม่เกิน 10 ไร่ และแต่ละรายมีพื้นที่ในการปลูกพริก ประมาณ 1 – 10 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกพริกเกือบทุกรายมีหนี้สิน จํานวนหนี้สินโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 10,000 – 50,000 บาทต่อครอบครัวและมีเกษตรกรส่วนหนึ่งมีหนี้สินมากกว่า 100,000 บาทต่อครอบครัว แหล่งกู้ยืมที่สําคัญ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ด้านประสบการณ์ในการปลูกพริกพบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ยาวนาน ส่วนใหญ่สืบทอดเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ การปลูกพริกของเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชแซมในพืชชนิดอื่น ได้แก่ การปลูกแซมในแปลงปลูกหอมหัวใหญ่ กระเทียม ยาสูบ ข้าวโพด ลําไย ยกเว้นใน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ และ อ.เชียงของ จังหวัดเชียงรายซึ่งปลูกเป็นพืชหลัก วิธีการปลูกส่วนใหญ่จะย้ายกล้าปลูกในช่วงกลางฤดูหนาว – ปลายฤดูหนาว ( พ.ย. – ก.พ.) ยกเว้นใน อ.จอมทองและ อ.เชียงของที่ย้ายกล้าในช่วงต้นฤดูฝน ( พ.ค.- มิ.ย. ) พันธุ์พริกที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ และเกษตรกรนิยมเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง ยกเว้นใน อ.สันทราย ที่มีการปลูกพริกพันธุ์ลูกผสม โดยพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุดคือพันธุ์หนุ่มขาว 031 ของบริษัท อีสท์ เวส ซีดส์ จํากัดและมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ดี ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ยังคงใช้วิธีการปลูกพริกแบบดั้งเดิม การจัดการบํารุงรักษาต่างๆอยู่ในระดับต่ำ พบมีการระบาดของโรคและแมลงอยู่ในระดับสูง โดยโรคสําคัญที่สร้างปัญหามากที่ สุดคือ โรคกุ้งแห้ง ส่วนแมลงที่สร้างปัญหามาก ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรขาว และแมลงวันทอง เมื่อเกิดปัญหาเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการกําจัด ด้านการเก็บเกี่ยวและการจําหน่ายเกษตรกรส่วนใหญ่เก็บพริกที่ยังเขียวอยู่ ยกเว้นใน อ.ฝาง, อ.ไชยปราการ และ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่เกษตรกรนิยมเก็บพริกที่สุกแดง สําหรับการจําหน่ายนั้นส่วนใหญ่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่แปลงพริกหรือมีจุดรับซื้อประจําท้องถิ่น ด้านต้นทุนและรายได้จากการปลูกพริก พบว่า มีการกระจายตัวค่อนข้างสูง เกษตรกรไม่ได้บันทึกและไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เนื่องจากปลูกเป็นพืชแซม แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่มีต้นทุนการผลิตพริกไร่ละไม่เกิน 10,000 บาท และมีรายได้จากการปลูกพริกปีละ 20,000 – 30,000 บาท ยกเว้นใน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพริกปีละประมาณ 100,000 บาท/ไร่ การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบในกลุ่มแคพไซซินอยด์ในตัวอย่างพริกที่เก็บจากพื้นที่ ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้ทําการศึกษาโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี ของเหลวสมรรถนะสูง โดยทําการวิเคราะห์หาสารเผ็ดร้อนสามชนิดคือ แคพไซซิน ไดไฮโดรแคพไซซิน และนอร์ไฮโดรแคพไซซิน ในหน่วยมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและเปลี่ยนเป็นหน่วยสโควิลล์ ฮีท เพื่อแสดงความเผ็ดร้อนของตัวอย่างพริกในหน่วยสากล โดยพบว่าตัวอย่างพริกที่นํามาศึกษามีปริมาณสารในกลุ่มแคพไซซินอยด์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.071-0.451 โดยน้ำหนัก ปัจจัยทางกายภาพและทางเคมี เช่นความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรองของสภาวะแวดล้อมในการเพาะปลูก ได้ถูกเก็บข้อมูลและนํามาทดสอบเพื่อหาความเกี่ยวข้องที่เป็นไปได้ ต่อปริมาณของสารแคพไซซินอยด์ที่มีมากน้อยในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งพบว่าความเป็นกรด-ด่างที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะทําให้ปริมาณสารแคพไซซินอยด์ที่มีในผลผลิตลดต่ำลงในหลายตัวอย่าง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีแนวโน้มหรือข้อสรุปที่สามารถใช้อธิบายถึงความเกี่ยวข้องต่อปริมาณสารแคพไซซินอยด์ที่มีในตัวอย่าง ซึ่งควรจะต้องมีการทําการทดลองและทดสอบหาความเกี่ยวข้องต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The study aimed to find out the production situation and environmental effects on fruit yield and capsaicin yield of Thai commercial chili in Chiangmai and Chiangrai. Specifically, it sought 1) to obtain basic information on the production situation and cost of production of Thai commercial chili, and to find out problems and obstacles in commercial chili production in the areas. The information obtained in this objective served as the basic information for the possibility of a study on both domestic and imported chili varieties that are suitable for industrial capsaicin production. 2) to find out basic information concerning environmental conditions, that affect both quantity and quality of chili in order to develop chili production in the future. This research combined several techniques of data gathering. The interview form was used for collecting data about production process from chili growers, soil sample collecting for soil quality analysis, chili fruits collecting for relativity analysis between environmental factors and capsaicin yields. The study found that chili growers in Chiangmai and Chiangrai shared some similarities in terms of personal background. They were mostly primary school graduates with 41-50 years of age. Younger chili growers were gradually decreased. Most of the growers had only 2-3 laborers from their household, and occasionally hired additional laborers. The study showed that most of them had less than 10 rai of agricultural land, and each of them had about 1-10 rai of chili growing area. Almost all of the growers had debt of an average of 10,000 – 50,000 baht/household, and the Bank of Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) was their main source of loan. The study further found that the chili growers had long experiences in chili growing, which was transferred from their previous generation. The chili growing pattern in most areas was mixed crop pattern by growing chili together with onion, garlic, tobacco, corn, and longan. However, in some areas, such as Sansai District of Chiangmai and ChiangKong district of Chiangrai, mono-crop commercial pattern was employed. Most of the growers usually transplanted chili seedlings from the seedling beds to the chili plantation areas from the mid to almost the end of winter season (November to February) of each year. Only the growers in ChomThong district of Chiangmai and ChiangKong district of Chiangrai that had their young chili transplanted by the beginning of rainy season (May –June) of each year. Most of the growers used local varieties and usually kept propagated seeds of their own. Only the growers in Sansai district of Chiangmai brought commercial hybrid seeds, and had more advanced growing technology than the growers from other areas, who still maintained their typical and inefficient management techniques. The study found a high level of epidemic of chili pests in the areas. The most significant disease found was Anthracnose, while the most significant insects found were Thrips, Broad mite, and fruit fries. The growers always apply chemical substances in eliminating pests. For the chili’s harvesting and marketing, most of the growers harvested green chili fruits. Only the growers in some areas, such as Fang, ChaiPrakarn, and MaeEye districts of Chiangmai, harvested red (ripe) chili. They sold their products to local middlemen who either brought the products at farms or at the collecting points in each area. Finally, the study showed the cost and incomes of chili growers from each area was highly significant different from one another. This was because of the lack of financial records, and the complexity of various products from mixed crop growing pattern. However, it was found that the approximated cost of chili production was 10,000 baht/rai and the average annual income from chili growing was 20,000 – 30,000 baht. Only the growers in Sansai district of Chiangmai, where employed commercial growing pattern, gained approximately 100,000 baht/year. The major capsaicinoid compounds in the capsicum samples, collected from Chiang Mai and Chiang Rai Provinces, were analysed by high performance liquid chromatography. The three pungent, capsaicin, dihydrocapsaicin and nordihydrocapsaicin, contents in mg per kilogram were conversed to Scovile Heat Unit (SHU) to demonstrate for the heat rating of those chilli samples. It was found that the capsaicinoid contents were ranged from 0.071-0.451 w/w. The physical and chemical parameters, such as pH, organic matter, major and minor minerals etc., were investigated for the interelation with the capsaicinoid content. It could be presumed that only pH was trended to be effected with the capsicum content, high pH gave low capsaicin content in several samples. But the others parameters could not provided any reliable assumptions and need further investigations and also experiment processes
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สกว.-49-006
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4820049
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ ผลของการตัดแต่งกิ่งและการให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ต่อผลผลิตของพริก ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ศึกษาแนวโน้มความต้องการการบริโภคเนื้อคุณภาพสูงและเนื้อคุณภาพปานกลางภายในจังหวัดเชียงใหม่ ผลของสารละลายเอทีฟอนต่อผลผลิตและปริมาณสารสำคัญในพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท การให้ไคโตซานเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตคุณภาพผลผลิตและปริมาณสารทุติยภูมิในอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 ผลของการใช้สารเคลือบผิวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพผลเสาวรสพันธุ์สีเหลือง ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตถั่วงอก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระกับค่าดัชนีความเขียวในผลผลิตของผักเชียงดาภายใต้อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกัน การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก