สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในการผลิตเป็นแผ่นวัสดุปิดแผล
ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน, อัจฉรา แกล้วกล้า, ฐิตินันท์ รัตนพรหม - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในการผลิตเป็นแผ่นวัสดุปิดแผล
ชื่อเรื่อง (EN): Application of allergic protein-free rubber in dressing patch production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: น้ำยางพาราโปรตีนต่ำเป็นน้ำยางธรรมชาติเกรดพิเศษที่ได้รับความสนใจนำมาใช้ผลิตเป็นวัสดุทางการแพทย์หลายชนิด เพื่อป้องกันอาการแพ้อันเนื่องมาจากโปรตีนภูมิแพ้ในน้ำยางธรรมชาติ เอนไซม์โปรติเอสถูกนำมาใช้ผลิตน้ำยางพาราโปรตีนต่ำเนื่องจากสามารถย่อยโปรตีนภูมิแพ้ได้ ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเอนไซม์โปรติเอสที่ผลิตจากแบคทีเรีย Bacillus subtilis มีประสิทธิภาพในการกำจัดโปรตีนภูมิแพ้ในน้ำยางพาราธรรมชาติได้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยครั้งนี้ในการพัฒนาแผ่นฟิล์มยางพาราจากน้ำยางปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ที่มีคุณสมบัติเป็นไฮโดรเจลเพื่อประยุกต์ใช้เป็นแผ่นวัสดุปิดแผล ผลการทดลองพบว่าฟิล์มยางพาราที่ผลิตจากน้ำยางโปรตีนต่ำที่ซึ่งเชื่อมไขว้ด้วยสาร N,N-Methylene-bis-acrylamide (MBA) ทำให้ได้ฟิล์มยางที่บวมพองในน้ำสูงจึงมีคุณสมบัติเป็นไฮโดรเจลสูงกว่าการใช้กำมะถันในการเชื่อมไขว้ แม้ว่าแผ่นฟิล์มยางที่เชื่อมไขว้ด้วยกำมะถันจะมีคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ค่าความแข็งกด ค่าการต้านทานแรงดึง และค่า 100% มอดูลัส ที่สูงกว่าก็ตาม ยางที่เชื่อมไขว้ด้วยสาร MBA นี้มีความหนาแน่นของการเชื่อมโยงต่ำและดูดซับน้ำได้ดีกว่า แต่ปลดปล่อยยาปฏิชีวนะชนิดไรแฟมพิซินได้ต่ำมาก การผสมน้ำแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการเจลาติไนซ์ความเข้มข้น 3 % (w/v) ลงในน้ำยางปราศจากโปรตีนภูมิแพ้พบว่าสามารถปรับปรุงคุณสมบัติไฮโดรเจลของแผ่นฟิล์มยางได้ โดยทำให้ %การบวมพองเพิ่มขึ้นประมาณ 9 เท่า และ %การดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า อีกทั้ง การเก็บกักและการปลดปล่อยยาปฏิชีวนะไรแฟมพิซินพบว่ามีประสิทธิภาพสูง ดังนั้น จึงคาดว่าฟิล์มยางพาราไฮโดรเจลที่พัฒนาขึ้นมาครั้งนี้น่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ผลิตเป็นแผ่นปิดแผลต่อไปได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาเพิ่มเติมในอีกหลายประเด็น คำสำคัญ: น้ำยางพาราโปรตีนต่ำ โปรติเอส บาซิลลัส ซับติลิส แผ่นวัสดุปิดแผล ฟิล์มยางไฮโดรเจล
บทคัดย่อ (EN): d to be manufactured for various medical devices to prevent allergenicity caused by natural rubber allergen proteins. Protease enzyme has been used for DPRL production because it is able to degrade allergic proteins. According to the results of previous studies that Bacillus subtilis protease could efficiently eliminate latex allergen proteins, the production of rubber film from DPRL with hydrogel property for dressing patch application was subsequently investigated. The results showed that DPRL rubber film cross linked by N,N’-methylene-bis-acrylamide (MBA) exhibited hydrogel film with better quality than that of film cross linked by sulfur. However, some mechanical properties of sulfur-cross linked film, i.e. hardness, tensile strength and 100% modulus, were higher than those found in MBA-cross linked film. MBA-cross linked film possesses low level of cross link density and high of water absorption, however rifampicin antibiotic could be hardly released from this film. It was also found that addition of 3% (w/v) gelatinized rice flour improved the hydrogel properties of DPNL film. The %swelling in water and water absorption were gained approximately 9 and 4 times, respectively. Moreover, the release of rifampicin from hydrogel film with rice flour addition was high efficacy. Thus, the hydrogel rubber film from this study was expected to be applied in the production of dressing patch, however there are some aspects must be further studied. Keywords: deprotenized rubber Para rubber latex, protease, Bacillus subtilis, dressing patch, hydrogel film
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในการผลิตเป็นแผ่นวัสดุปิดแผล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2559
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การพัฒนากระบวนการเตรียมเอนไซม์โปรติเอสต้นทุนต่ำสำหรับผลิตน้ำยางพาราปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ พัฒนากระบวนการเตรียมเอมไซม์โปรติเอสต้นทุนต่ำสำหรับผลิตน้ำยางพาราปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 การเพิ่มระดับของโปรตีนของมันสำ ปะหลังโดยใช้ยีสต์ในกระบวนการหมัก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกยางพาราในจังหวัดพัทลุง การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก