สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมของทรัพยากรปลาหมึกในเชิงเวลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ทัศนีย์ ศุภพฤกษ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมของทรัพยากรปลาหมึกในเชิงเวลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance of Squid by Temporal Variations around Artificial Habitat at Ban Bangkaya Village, Takuapa District, Phang-nga Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทัศนีย์ ศุภพฤกษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thassanee Suppapruek
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประชาคมสัตว์น้ำจากลอบหมึกบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2558 พบจำนวนชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมด 16 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มปลาหมึก 2 ชนิด กลุ่มปลา 11 ชนิด และกลุ่มปู 3 ชนิด มีจำนวนชนิดสัตว์น้ำสูงสุด ในเดือนมีนาคม เท่ากับ 10 ชนิด และต่ำสุดในเดือนกันยายน เท่ากับ 3 ชนิด อัตราการจับปลาหมึกสูงสุดในเดือนสิงหาคม เท่ากับ 4.489 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก ต่ำสุดในเดือนธันวาคม เท่ากับ 2.546 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก สัดส่วนปลาหมึกที่จับได้ส่วนใหญ่พบหมึกหอมมากกว่าหมึกกระดอง ได้แก่ เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการจับปลาหมึกในรอบปี พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการจับหมึกหอมและหมึกกระดองในแต่ละเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดของแชนนอน-วายเนอร์ (H') และค่าดัชนีความมากชนิด (R) มากที่สุดในเดือนมีนาคม เท่ากับ 0.998 และ 0.890 ตามลำดับ ส่วนค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิด (J') มีค่ามากที่สุดในเดือนกันยายน เท่ากับ 0.620 และต่ำสุดในเดือนมิถุนายน เท่ากับ 0.350 และค่าความคล้ายคลึงแบบเบรย์-เคอร์ติสของประชาคมสัตว์น้ำในรอบปีที่ระดับความคล้ายคลึงร้อยละ 90.00 พบว่าเดือนมกราคม มีความคล้ายคลึงกับเดือนกุมภาพันธ์มากที่สุด ร้อยละ 91.65 ส่วนเดือนอื่นแตกต่างกันทั้งหมด
บทคัดย่อ (EN): Fish community by squid trap around artificial reef at Ban Bangkaya, Takuapa District, Phang Nga Province has been studied from January to December 2015. Results found that, the total 16 species of aquatic animals were caught by squid trap which compose of 2 squid species, 11 fish species and 3 crab species. The species of aquatic animals were highest on March equal 10 species and lowest on September equal 3 species. The catch per unit effort (CPUE) of squid was highest on August equal 4.489 kg/10 traps and lowest on December equal 2.546 kg/10 traps. The proportion of squids mostly found soft cuttlefish more than cuttlefish on January, February, March, April, May, June and July. Comparison on catch rate of squids all year round found that no significant difference. However when compared the catch rate of soft cuttlefish and cuttlefish between months, it found that significant difference (p<0.05) The diversity index (H') and the richness index (R) were highest on March equal 0.998 and 0.890 respectively. The evenness index (J') was highest on September equal 0.620 and lowest on June equal 0.350. The Bray Curtis similarity index of 90.00% aquatic community was January highest similar with February equal 91.65% while other months were totally differences.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-06-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมของทรัพยากรปลาหมึกในเชิงเวลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
กรมประมง
30 มิถุนายน 2559
กรมประมง
ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทัศนคติของชาวประมงพื้นบ้านต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ผลของการจัดวางตามจำนวนแท่งคอนกรีตที่ต่างกัน ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม และประชาคมปลาบริเวณแหล่งอาศัยขนาดใหญ่ จังหวัดระยอง ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต องค์ประกอบและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดทรายแก้วและอ่าวพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก