สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตขิงของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเชียงราย
วรรณรีย์ คนขยัน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตขิงของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเชียงราย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณรีย์ คนขยัน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตขิง ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตขิงของเกษตรกร และเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมการผลิตขิงของเกษตรกร โดยศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกขิง จากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกขิง 51,646 ไร่ ปริมาณผลผลิต 107,772 ตัน และผลผลิตเฉลี่ย 2,482 กก./ไร่ สำหรับพื้นที่ปลูกของจังหวัดเพชรบูรณ์อำเภอเขาค้อ และอำเภอน้ำหนาว เป็นแหล่งปลูกขิงที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศ ปี ( 2548 ) จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 6,627 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 4,167 ไร่ เป็นพื้นที่อำเภอเขาค้อ 4,159 ไร่ และพื้นที่อำเภอน้ำหนาว 8 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 12,634 ตัน และผลผลิตเฉลี่ย 3,032 กก./ไร่ และจังหวัดเชียงรายมีการปลูกขิงที่ อำเภอเมือง, เชียงแสน, แม่สรวย, พาน, ป่าแดด, เวียงป่าเป้า, แม่ฟ้าหลวง, แม่สาย, เวียงแก่น, แม่ลาว และเวียงชัย เป็นแหล่งผลิตขิงที่สำคัญรองลงมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี (2548) จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 14,123 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 14,080 ไร่ พื้นที่เสียหาย 43 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 24,207 ตัน และผลผลิตเฉลี่ย 2,499 กก./ไร่ สำหรับการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 200 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อหาเฉลี่ยทางสถิติ ค่าร้อยละ ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเหมือนกันในเรื่องการผลิต ตั้งการคัดเลือกพันธุ์ไว้ใช้เองคิดเป็นร้อยละ 37.5 การใช้น้ำฝนในการผลิตขิง ร้อยละ 66.5 การไม่แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ร้อยละ 69.5 การใช้ปุ๋ยสูตร หรือปุ๋ยเคมี ร้อยละ 61 เกษตรกรส่วนมากมีพื้นที่ปลูกขิงอยู่ระหว่าง 1 - 5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 68.5 ดังนั้นหากมีการวางแผนที่ดี และมีการส่งเสริมเพื่อพัฒนาอาชีพความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสำคัญมาก และหากหน่วยงานรัฐมีการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ โดยสนับสนุนในรูปงบประมาณ จะทำให้การทำงานระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่จะเป็นไปอย่างราบรื่น และจากข้อมูลสถิติดังกล่าวควรที่จะมีการรณรงค์ให้เกษตรกรแช่พันธุ์ขิงก่อนปลูก เพราะจะได้ลดภาวการติดเชื้อราได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตขิงของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเชียงราย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความอย่างยั่งยืนของรายได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานี ปีการผลิต 2546/2547 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก