สืบค้นงานวิจัย
การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา
ปริชาติ คงสุวรรณ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation on farmers' rice seed quality in Nakhonratchasima province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปริชาติ คงสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pharichart Khongsuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำรวจและเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์หลังเก็บเกี่ยวข้าวฤดูนาปี 2551 ครอบคลุมพื้นที่ 15 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมาเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรและเป็นข้อมูลที่สำคัญในการสนับสนุนมาตรการการควบคุมระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ สำรวจโดยวิธีสัมภาษณ์และเก็บตัวอย่างข้าวของเกษตรกร 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 50 ตัวอย่าง กลุ่มผู้ใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดี 40 ตัวอย่าง และกลุ่มเกษตรกรทั่วไป 60 ตัวอย่าง สรุปผลการสำรวจและนำตัวอย่างข้าวมาวิเคราะห์คุณภาพเปรียบเทียบกับมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่าย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าผลประเมินการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาในฤดูนาปี 2551 พบว่ามีการใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มากที่สุดรองลงมาเป็นพันธุ์ชัยนาท 1 กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์และกลุ่มผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีทั้งหมดใช้แหล่งเมล็ดพันธุ์จากภาครัฐและไม่ประสบปัญหาจากการใช้เมล็ดพันธุ์ของหน่วยงานราชการ และใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กก./ไร่ แต่กลุ่มเกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งอื่นและส่วนใหญ่พบปัญหาพันธุ์อื่นปนและใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 20-25 กก./ไร่ ในกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์มีการตรวจตัดข้าวปนเกือบทั้งหมด กลุ่มผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีมีการตรวจตัดข้าวปนประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนเกษตรกรทั่วไปไม่มีการตรวจตัดข้าวปนเลย แต่เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักรกลเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ตัวอย่างข้าวของกลุ่มผู้ผลิตและผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีมีความบริสุทธิ์ผ่านเกณฑ์ประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนของเกษตรกรทั่วไปไม่ผ่านเกณฑ์เกือบทั้งหมด ตัวอย่างข้าวของทุกกลุ่มเกือบทั้งหมดผ่านมาตรฐานด้านความชื้นและ ความงอกของเมล็ด ส่วนเกณฑ์ด้านพันธุ์อื่นปนและข้าวแดงปนนั้น ตัวอย่างข้าวจากทั้งกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์และผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีผ่านเกณฑ์เกือบทั้งหมด ยกเว้นตัวอย่างข้าวจากกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์พันธุ์อื่นปนในระดับชั้นพันธุ์จำหน่าย สรุปได้ว่าเมล็ดข้าวของกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีสามารถใช้ทำเป็นเมล็ดพันธุ์ในชั้นพันธุ์จำหน่ายได้ ส่วนเมล็ดข้าวของเกษตรกรทั่วไปไม่ควรใช้ทำเมล็ดพันธุ์ต่อเนื่องไปอีก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155979
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 11 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก