สืบค้นงานวิจัย
ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม
ทวี มาศขาว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวี มาศขาว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการ (2) ปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรมและ (3) เปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลจำแนกตามลักษณะพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรตำบลในจังหวัดนครพนม ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรตำบลในจังหวัดนครพนมทั้งหมด 87 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป และใช้สถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test ผลการวิจัยมีดังนี้ เกษตรตำบลในจังหวัดนครพนมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุโดยเฉลี่ย 41.6 ปี อายุราชการเฉลี่ย 16.1 ปี เกือบทั้งหมดจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้สุทธิต่อเดือนโดยเฉลี่ย 18,537 บาท รับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกรโดยเฉลี่ย 1,877.1 ครัวเรือน ปัญหาที่เกษตรตำบลเคยประสบจากการเข้ารับการฝึกอบรมตามกระบวนการฝึกอบรมใน 6 ด้าน ซึ่งมีปัญหามากที่สุดแต่ละด้านดังนี้ (1) ด้านการเตรียมการฝึกอบรม ได้แก่ การแจ้งรายละเอียดให้ศึกษาก่อนเข้ารับการฝึกอบรม และการคัดเลือกเกษตรตำบลเข้าอบรมไม่เหมาะสมกับหลักสูตร (2) ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ ระยะเวลาฝึกอบรมไม่เหมาะสมกับหลักสูตร (3) ด้านการจัดการฝึกอบรม ได้แก่ การประสานงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (4) ด้านวิทยากร ได้แก่ วิทยากรไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อนำมาถ่ายทอดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) ด้านวิธีการฝึกอบรม ได้แก่ การฝึกปฏิบัติ (6) ด้านการสนับสนุนหลังการฝึกอบรม ได้แก่ การสนับสนุนสื่อในการฝึกอบรม ความต้องการตามกระบวนการฝึกอบรมใน 6 ด้าน พบว่าเกษตรตำบลมีความต้องการมากที่สุดแต่ละด้านดังนี้ (1) ด้านการเตรียมการฝึกอบรม ได้แก่ การคัดเลือกผู้เข้าอบรมให้เหมาะสมกับหลักสูตร (2) ด้านหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ เนื้อหาของการฝึกอบรมตรงกับฤดูกาลที่จะนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด (3) ด้านการจัดการฝึกอบรม ได้แก่ การจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม (4) ด้านวิทยากร ได้แก่ วิทยากรมีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่บรรยาย (5) ด้านวิธีการฝึกอบรม ได้แก่ การทัศนศึกษาดูงาน (6) ด้านการสนับสนุนหลังการฝึกอบรม ได้แก่ การสนับสนุนสื่อในการฝึกอบรม ความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตรใน 6 ด้าน พบว่าเกษตรตำบลมีความต้องการมากที่สุดของแต่ละด้านดังนี้ (1) ด้านการปลูกข้าว ได้แก่ การปลูกข้าวหอมมะลิ 105 (2) ด้านการปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดรับประทานฝักสด (3) ด้านการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ได้แก่ เรื่องยางพารา (4) ด้านการปลูกพืชผัก ได้แก่ เรื่องการตลาด (5) ด้านการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ การทำการเกษตรอินทรีย์ และ (6) ด้านส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ เรื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการของเกษตรตำบล โดยลักษณะพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ อายุราชการ ระดับการศึกษา รายได้สุทธิต่อเดือน และจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบ พบว่า (1) เกษตรตำบลที่มีอายุราชการแตกต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมแตกต่างกันในด้านการปลูกข้าว การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และด้านส่งเสริมการเกษตร (2) ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความต้องการแตกต่างกันในด้าน การปลูกข้าว การปลูกพืชไร่ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น การปลูกผัก และการส่งเสริมการเกษตร (4) จำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกันในด้านการปลูกข้าว การปลูกพืชไร่ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น การปลูกผัก และการส่งเสริมการเกษตร ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ (1) ควรพิจารณาจัดฝึกอบรมเกษตรตำบลตามความต้องการในการส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรตำบลมีความต้องการมากที่สุด (2) การดำเนินการฝึกอบรมทุกครั้งควรมีการเตรียมการฝึกอบรมให้เหมาะสม คัดเลือกผู้เข้าอบรมให้เหมาะสมกับหลักสูตร เนื้อหาวิชาสอดคล้องกับความต้องการและฤดูกาลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสถานที่ที่มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ มีการคัดเลือกวิทยากรและหลังการเก็บฝึกอบรมเสร็จสิ้น ควรมีการสนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณให้เกษตรตำบลนำไปฝึกอบรมเกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม
ทวี มาศขาว
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดในเขตที่ 1 ความคิดเห็นต่อการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม ความต้องการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลใน 4 จังหวัดภาคใต้ ความต้องการฝึกอบรมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบรรจุใหม่กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะ ความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก